RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_198-199 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น “จันทคาตผูกที่ ๔ ผูกปลาย มีกับกัน ๔ ผูก” ด้านหลังหน้าทับต้น เขียนคำอาราธนาศีลอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ปานา อะทินนากรรม มุสา สุรา อิมานิ ปันจะ สิกขา ปทานิ สีเรนะ สุคคะติง ยันติ สีเรนะ โพคะสัมปทา สีเลนนิพุตึ ยันติ ตสัมา ลีลํ วิโสธะเย” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูก ๔ ทั้งมวลมี ๔ ผูกแลเจ้าเหย” ท้ายลาน ระบุ “จันทฆาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวยังอันกล่าวยังจันทฆาตชาดก ผูกถ้วน ๔ ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วบอระมวลควรกาล ธรรมเทศนาเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛ บริบูรณ์แล้วยามเพลแล้วพอดีแลเจ้าเหย || เดือน ๘ ศีลแล ปีชวดแล ๛ ยังมีศรัทธาทุพี่หลวงกับปิตตามารดาพี่น้องชู่ผู้ชู่คน ก็หาโปฏกํยังใบลานมาหื้อตนตัวผู้ข้าชื่อว่า รัสสภิกขุธรรมสอน บวชอยู่วัดหนองนา หาตัวแม่บ่ได้ หาทางใดก็บ่มีแลเจ้าเหย นายเหย ๛ ทุพี่หลวง[เ]พิ่นก็ยังมีผู้ดีปูนตีตูนแท้แล ผู้สร้างกับผู้เขียนขอหื้อได้บุญถึงกันแด่เทอะ||” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “กล่าวจันทฆาต ผูกสี่ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “พระภิกษุได้ พระภิกษุได้เทศน์ที ๑ แล้วXXXXX” / เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “ผูก ๔” และปากกาน้ำเงิน “ผูก ๔” มีรอยแก้ไขด้วยปากาสีน้ำเงิน
จันทคาดเป็นวรรณกรรมชาดกที่ได้รับความนิยมเพราะเป็นเรื่องแพร่หลายอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากวิทยานิพนธ์ ระดับมหาบัณฑิตเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องจันทฆาต ฉบับภาคกลาง ฉบับล้านนา ฉบับภาคอีสาน และฉบับภาคใต้” ซึ่งเป็นการนำเรื่อง จันทฆาต ทั้งสี่ภาค สี่สำนวนมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งแต่ละภาคต่างมีลักษณะเฉพาะในความเป็นท้องถิ่นของตัวเอง
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_198-199 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “จันทคาดผูก ๒” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูกถ้วน ๒” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวแก้ไขยังนางพรหมจารีบ่นั่งแท่นแก้วก็แล้วเท่านี้ก่อนแลท่านเหย || บริบูรณ์เสด็จแล้ววัน ๑ เดือน ๘ แรม ๑๐ ค่ำ ปีชวด โทศก ร้อยสิบ ๙ แล้วข้าก็ยังมีศรัทธาพร้อมกับด้วยปิตตามาดาพี่น้องญาติกาวงศาชู่ผู้ชู่คน ขอหื้อสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอด ข้าขอเอาอายุใบลานเป็นที่เพิ่งแด่เทอะ รัสสภิกขุธรรมสอน เขียนปางเมื่อ(อยู่-เขียนด้วยดินสอดำ)วัดนาหนองแล หนังสือเจ้าจันทฆาต มี ๔ ผูกกับกันแล” และหน้าทับปลาย(เศษลานทำมาใช้เป็นหน้าทับ) ระบุ “แต่ไกลดังอั้นเจ้าก็หนีเข้าไปสู่ป่าหาการตนหั้นแล คันว่านางมารอดเรือนแล้วดังอั้นย่าบริสุทธิ์ก็จิ่งกล่าวเซิ่งนางผ้าขาวว่า ตาต ดูรา เจ้าลูกรักแก่แม่ อันว่า ชายผู้มาจอดเรือนรานี้” และ เขียนอักษรไทยและอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “ภิขุธรรมะเสนาอยู่วัดนาหนองฯ”, “ธมฺมเสนาฯ” และ “กล่าวจันทฆาต ผูกสอง ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล”(ตัวเอียง-อักษรธรรมล้านนา)
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_195-197 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากลูกลื่นสีแดง “จันทะคาดผูกที่ ๒” หน้ารองหน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาสีน้ำเงิน “จันทคาดผูก ๓” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “จันทฆาตผูกถ้วน ๓” ด้านหลังเขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “ผูก ๒” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูกถ้วน ๓” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวยังจันทฆาต ผูกถ้วน ๓ ก็เสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ ๛ บริบูรณ์เสด็จแล้วแลนายเหย ๚ ปีชวด โทศก ตกอยู่ในคิมหันต์ฤดู เดือน ๙ ขึ้น ๙ ค่ำ พร่ำว่าได้วัน ๗ ยามบ่ายแลนายเหย || ยังมีศรัทธาอาวชายธองกับทั้งภรรยา ชื่อว่า นางธิดา ก็พร้อมกันกับลูกเต้าชายหญิง ขอหื้อ[เ]พิ่น ได้สุข ๓ ประการมีนิพพานเป็นยอดแด่เทอะ || ตนตัวผู้สร้างอยู่บ้านดอนกอก ก็ว่าหื้อท่าน หร เขียนบ่แพ้ ก็เอาแภแห้วมาหื้อคุณสุวัณระซรX เขียนปางเมื่ออยู่วัดหนองนาหนองมองทองแก้วกว้าง ตนผู้บ้านกอกดอนมีนามกร ชื่อว่า ธอง แดงดา เหย ๑ ผู้ข้าน้อยหน้อยเป็นผู้เขียน ข้าขอสุข ๓ ประการผญาปัญญาเสลียวสลาดเสมอกันแด่เทอะ อกข้าตายเป็นดีอาย เจ้าของพื้นแท้หนอน้อยนอนายน้องเหย รางตัวเท่าช้าง รางตัวเท่าแมว แอวก็เจ็บ ที่ตกก็ตก ที่ผิดก็ผิด ทุพี่พระพี่ก็ดี ได้เล่าได้เรียนตกที่ใด นิมนต์ใส่หื้อจิ่มเนอ อย่าไปด้าข้อยเนอ โหตุเม นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ แก่ข้าเทอะ เป็นดีอายพื้นแท้หนอ เป็นดังไก่เขี่ยหญ้า ปูหน้อยยาดคันนา อย่าบ่เขียนก็เขียน ทุคือ โห่ บ่ได้เป็นดี ใคร่ไห้แท้เด อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ แด่เทอะนาย” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำและปากกาเมจิกสีน้ำเงิน
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_195-197 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “จันทฆาต ผูกถ้วน ๒ แล” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวแก้ไขยังนางพรหมจารีบ่นั่งแท่นแก้วก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ※ บริบูรณ์เสด็จแล้วปีชวด ขึ้น ๗ ค่ำ วัน ๕ บ่าย ๓ โมง แล ๚ ยังมีศรัทธาอาวชายธอง ก็พร้อมกับด้วยภริยาผู้ชื่อว่า นางธิดา กับลูกเต้าพี่น้องชู่ผู้ชู่คนแล เจ้ายังอุบายหาได้ยังโปตฏกํยังใบลานมาหื้อตนตัวผู้ข้าชื่อว่า รัสสภิกขุธรรมสอนแล ผู้สร้างกับผู้เขียน ข้าขอหื้อได้บุญเท่ากันแด่เทอะ เขียนบ่ดีสักน้อย รางตัวก็เท่านิ้วก้อย รางตัวก็เท่าแม่มือ พี่ทุองค์ใดก็ดี พี่พระองค์ใดก็ดี หรือครหัสถ์แลนักบวชได้เล่าได้เรียนได้อ่าน อดส่าห์ผ่อหื้อถี่ถี่ คันว่าผ่อบ่ถี่ ก็บ่รู้แล เพราะว่าตัวบ่ดี เจ็บแอวเต็มที นั่งเขียนบ่ได้ นั่งเขียนพร่อง นอนเขียนพร่องแล หน้าทับเค้า เจ้าจันทฆาต ผูกถ้วน ๒ หน้าทับปลาย จันทฆาต มีกับกัน ๔ ผูก ทั้งมวลแล ทุอาวเหย กา ก้า กล้า ขา ข้า ขล้า มา ม้า มล้า อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ก ข ค ฅ ง จ ส ช ซ ญ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ล ร ว สฺส ห ฬ อํ อฺย ป ฝ ฟ หฺม หฺน หฺย หฺว หฺง หฺล ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๒๐๒ ๑๐๗ ๕๐๐๐ ๓๐๐๐๐๐” (อักษรตัวเอียงสะกดด้วยอักขรวิธีพิเศษ)
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_195-197 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “จันทคาดผูกที่ ๑” หน้าหลังเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “ผูกต้น” / ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูกต้น มีกับกัน ๔ ผูก แลเจ้า” ท้ายลาน ระบุ “มังคละวิวาห กิริยาอันกล่าวจาเถิงยังจันทฆาต ผูกต้น ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ※ ข้าเขียนหนังสือผูกนี้บ่ดีบ่งาม ใหม่แลท่านเจ้าองค์ใดได้เล่าได้เรียนได้เทศนา นิมนต์ผ่อหื้อถี่ถี่ คันผ่อบ่ถี่ก็บ่รู้จักตัวแล เหมือนไก่เขี่ยหัวมองนั้นแลเจ้าเหย ขออย่าไปด่าข้าแด่เทอะ บริบูรณ์เสด็จแล้วปีชวด เดือน ๗ ออก ๔ ค่ำ วัน ๖ ยามแล้งงัวความต้อมตีนบ้านแลเจ้าเหยนายเหย ตนตัวข้าขอสุข ๓ มีนิพพานเป็นยอดแด่เทอะ ขอหื้อสติผญาปัญญาเหลี้ยมแซวเสลียวสลาดอาจชู่บทแท้ดีหลีแล” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาสีน้ำเงิน
จันทคาดเป็นวรรณกรรมชาดกที่ได้รับความนิยมเพราะเป็นเรื่องแพร่หลายอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากวิทยานิพนธ์ ระดับมหาบัณฑิตเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องจันทฆาต ฉบับภาคกลาง ฉบับล้านนา ฉบับภาคอีสาน และฉบับภาคใต้” ซึ่งเป็นการนำเรื่อง จันทฆาต ทั้งสี่ภาค สี่สำนวนมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งแต่ละภาคต่างมีลักษณะเฉพาะในความเป็นท้องถิ่นของตัวเอง หน้าต้นเขียนไว้ว่า “ณ วัน 6 แรม 1 ค่ำ เดือน 1 ปีระกา หนเบญจศก หน้าปลายเขียนไว้ว่า คุณแดงมีสัทาอุษาหะทรางนังสือใวยพระสาศนา”
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” ลานที่สอง ด้านซ้ายมือ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ “จันทฆาตจันทฆาต” ท้ายลาน ระบุ “จนฺทฆาฏกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวยังจันทฆาตชาดก ผูกถ้วน ๔ ผูกถ้วน ๕ ก็บังคมสมเร็จเสด็จเท่า[นี้]ก่อนแล บอระมวลวรกาล ธรรมเทศนาเท่านี้ก่อนแล้วแล” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีแดงและดินสอดำ
ธัมม์หรือคัมภีร์ชื่อมหาวิบาก เป็นคัมภีร์ที่นิยมใช้เทศน์โปรดผู้ป่วยหนักเชื่อว่าหากได้ “ฟังธัมม์” กัณฑ์นี้แล้ว ผู้ป่วยนั้นถ้าอาการไม่ดีขึ้นก็จะตายโดยสงบ เรื่องย่อมีอยู่ว่า พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมเทศนา ความว่า กาลครั้งหนึ่งยังมีเศรษฐีคนหนึ่งอาศัยอยู่ในเมืองสาวัตถี มีทรัพย์สมบัติถึง 80 โกฏิ แต่เขาเป็นคนที่ขี้เหนียวมาก ไม่ยอมใช้เงินซื้ออาหารดีๆ มากิน กินปลายข้าวด้มทุกวัน เสื้อผ้าก็ใส่เสื้อผ้าที่ทอด้วยป่าน เวลาจะเดินทางไปที่ใดก็จะนั่งเกวียนเก่าๆ ไม่ยอมทำบุญทำทาน เพราะกลัวว่าทรัพย์สมบัติที่มีอยู่จะหมดไป ต่อมาไม่นานเศรษฐีก็ป่วยตาย หลังจากเศรษฐีตาย พระยาปเสนทิโกสละกษัตริย์ผู้ครองเมือง จึงได้สั่งให้ทหารไปขนทรัพย์สมบัติของเศรษฐีมาไว้ยังท้องพระคลังเพราะเศรษฐีไม่มีผู้สืบสกุล ซึ่งใช้เวลาถึง 7 วันจึงขนทรัพย์สมบัติมาไว้ในท้องพระคลังได้หมดวันต่อมาพระยาปเสนทิโกสละก็ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า และทรงเล่าเรื่องราวของเศรษฐีให้พระพุทธเจ้าฟัง แล้วทรงทูลถามว่าเหตุใดเศรษฐีจึงไม่สามารถใช้ทรัพย์สมบัติมากมายที่ตนเองมีได้ และทำไมเศรษฐีจึงไม่มีผู้สืบสกุล พระพุทธเจ้าจึงได้แสดงธรรมเทศนาถึงกรรมเก่าของเศรษฐีว่า ในชาติก่อนเศรษฐีเป็นกุฎมพีคนหนึ่งอยู่ในเมืองพาราณสีเขาเป็นคนไม่ชอบทำบุญทำทาน วันหนึ่งมีพระมาบิณฑบาตเขาก็ได้ตะโกนบอกคนทั้งหลายว่า มีพระมาบิณฑบาต ใครอยากทำบุญก็ให้รีบมา จากนั้นเขาก็มุ่งหน้าเข้าป่าไปไม่ได้สนใจที่จะทำบุญ เมียของนายกุฎมพีเป็นคนชอบทำบุญจึงได้จัดหาอาหารมาใส่บาตร นายกุฎมพีกลับมาเห็นเมียใส่บาตรจึงเกิดความเสียดายอาหาร จึงเป็นสาเหตุที่ชาตินี้เขาจึงไม่สามารถใช้ทรัพย์สมบัติที่ตนเองมีได้ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ไม่มีผู้สืบสกุลเพราะได้ฆ่าลูกชายของพี่ชายตัวเองที่ไปบวชเป็นฤๅษีอยู่ในป่าตาย เพราะกลัวหลานจะแย่งทรัพย์สมบัติที่เคยเป็นของพ่อคืนเพราะก่อนออกบวชพี่ชายได้ยกทรัพย์สมบัติให้เขาหมดแล้ว แต่จากกุศลที่กุกุมพีได้ตะโกนให้ผู้คนรู้ว่ามีพระมาบิณฑบาดจึงส่งผลให้เมื่อตายไปก็ไปจุดิบนสวรรค์ถึง 7 ชาติ จากนั้นก็มาเกิดเป็นเศรษฐีอยู่เมืองสาวัตถี แต่บุญของเศรษฐีก็หมดในชาตินี้แล้ว “มหาวิบาก (คัมภีร์).” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 10. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542: 5061-5061.