ตำรายา, ยาแปรไข้ทั้งปวง, ยาแก้หอบ, ยาแก้ระส่าระสาย, ยาแก้สะอึก, ยาล้อมตับล้อมใจ, ยาต้มแก้ไขผิดสาแดง, ยากล่อมอารมณ์ ฯลฯ
ตำราพรหมชาติ ประกอบด้วยเนื้อหาต่าง ๆ ดังนี้ ตำราห่วง ตำราเทพจร ตำราดูข้างแรม ตำราดูวันดีวันร้าย ตำราดูวันจม ตำราดูราหูจร ตำราการขุดหลุมตั้งการมงคล ตำราดูวันปลูกเรือน ตำราดูหลักต้นไม้ ตำราเรียงหมอน ตำราดูปีเกิดวันเกิด ตำราแรกนา ฯลฯ จากนั้นมีตำราแทรกเล็กน้อยด้วยหมึกน้ำเงินและเขียนบนเส้น เป็นคนละลายมือ คาดว่าถูกเขียนเพิ่มทีหลัง
หน้าทับเขียนปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มัทรีป่าเพียวเทศขัก” และเขียนปากกาลูกลื่นสีดำ “มัทรี ผูก ๙” ท้ายลานระบุ “มทฺที ปพฺพํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันสังวรรณนายังมัทรีปริเจทอันประดับประดาไปด้วยพระคาถาทั้งหลายว่าได้ ๙๐ ทัส ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯ บริบูรณ์เสด็จแล้วปีมะเมีย เดือน ๑๐ แรม ๖ ค่ำ พร่ำว่าได้วันเสาร์ ยามบ่ายโมง ๑ กับ ๒๕ ภินิด แลเจ้าเหย รัสสภิกขุอินธสอนเขียน บ่ดีขัด อาวชายเหือน กับภริยาชื่อว่า นางนา อยู่ดอนกอก ก็พร้อมกับด้วยลูกหญิงลูกชาย ก็อุบายหาใบลานหื้อภิกขุอินธอง สร้างหนังสือมัทรีฉบับป่าเภียว ไว้ค้ำชูศาสนาพระโคตมเจ้า ขอหื้อผู้สร้างผู้เขียน สุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอดแด่เทอะ หมู่ผู้ข้าทั้งหลายได้สร้างธรรมเขียนธรรม หมู่ข้าน้อยทั้งหลายก็พาเอากันปรารถนาเอาสัพพัญญุตญาณสิ่งเดียวแลเจ้าเหย เขียนบ่ดี สติบ่ตั้ง เพราะสาวบ้านเค้ามะคร้อ ครั้นว่ามันมาวัด มันเหลียวมาผ่อแต่หน้า ครั้นข้าบ่ผ่อก็อดบ่ได้ ครั้นข้าผ่อไป มันบิดหน้าหนี อีสาวอัปรีย์ช่างผ่อหน้าทุแลนา ขอหื้อมีประหญาปัญญาอันเฉลียวฉลาดชูตัวธรรม อย่าหื้อเป็นกรรมเป็นเวรแก่ข้า ขอหื้อบุญอันเขียนตัวธรรมนี้ไปลูบ(ลบ)ตัวกรรมตัวเวรอันกระทำมาหื้อเสี้ยงแด่เทอะ [นิพฺพา]น ปจฺจโย โหตุ นิจฺจํ ธุวํ แด่เทอะ”
สมุดไทยบันทึกพระธรรมคดีเกี่ยวกับกรรมฐาน และตำราพยากรณ์ ทำนายต่าง ๆ เช่น พระกรรมฐาน, บทพิจารณาสังขาร, ตำราห่วง, ตำราอัคนิโรธ, ตำราฤกษ์ใหญ่, ตำรายาตรา, ตำราดูโชค, กาพย์พระมาลัย
สมุดไทยบันทึกตำราโหราศาสตร์ ทำนายทายทัก พยากรณ์ต่าง ๆ และตำรายาบางส่วน เช่น ตำราแรกนา, ตำราพิชัยสงคราม, ตำรานาควัน, ตำราอุทิศฤกษ์, จาแก้ตะคริว, ยาแก้กลอน, ยาแก้น้ำ, ยาหืด, ยาผีเข้าสิง, ยันต์ ฯลฯ
สมุดไทยบันทึก พระภิกขุปาฏิโมกข์ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่รวมวินัยของสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ คัมภีร์ที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา มีพุทธานุญาต ให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ ทุกกึ่งเดือน เรียกกันว่า สงฆ์ทำอุโบสถ บทปาติโมกข์เหล่านี้ปรากฏอยู่ในพระวินัยปิฎก หมวดสุตตวิภังค์