เอกสารโบราณ

เส้นตัวอักษร : หมึกสีแดง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ (2 หน้า)

RBR003-082 ตำราทำนายและตำรายา

ตำราโหราศาสตร์ , ตำราเวชศาสตร์
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , ตำรายา , ทำนาย , พยากรณ์ , พระสี่เสาร์

สมุดไทยบันทึกตำราพยากรณ์ทำนายต่าง ๆ มีตำรายาแทรกด้วย ด้านในมีบันทึกว่า “สิทธิการิยะ ยังมีอาจารย์ผู้หนึ่งท่านไว้พระตำรานี้ได้มาแต่เมืองเชียงใหม่ เดิมนั้นท่านไว้เป็นกฤษณาว่าทองพันตำลึง ครั้นท่านผู้มีปัญญาคิดได้ พบแต่แต่โอ่งเปล่าใบหนึ่ง แต่ท่านใส่ตำรานี้ไว้ พระเจ้าเชียงใหม่ได้ตำรานี้ไว้ ตำราของพระสีเสาให้ไว้เป็นทาน ท่านแช่งชักสาบานไว้มากนัก ถ้าว่าตำ | รานี้มีเหมือนเรากล่าวไว้ ก็ให้เราไปสู่อบายทุกข์ ๑,๐๐๐ กัลป์ ๑,๐๐๐ ชาติเถิด พระเจ้าเชียงใหม่ทำเสวยเป็นนิจนิรันดร์ อายุท่านได้ ๑๐๗ ปี เกสาของท่านยังดำอยู่ พระทนต์ยังตึงอยู่ทุกสิ่ง ผิวเนื้อประดุจทองนพคุณ ครั้นอยู่มาสมภารพระอินทมุนีโคจรไปแต่กรุง จึงพระจ้าเชียงใหม่นิมนต์พระอินทร์ให้ท่านทำ พระ | อินทมุนีก็เทศนาไป แล้วก็หยุดอยู่ที่นั้นนาน พระเจ้าเชียงใหม่จึงยกตำรานี้ถวาย พระอินทมุนีจึงว่า บุคคลผู้ใดมีความศรัทธามิได้เป็นมิจฉาก็ดี ก็ขอยำตำรานี้ให้สืบๆ กันมา ผู้ใดๆ ทำยานี้กินไปจนถึงปีหนึ่ง แม้นผมขาวก็กลับดำ ฟันคลอนแล้วก็กลับแน่น โรคทั้งปวงหายสิ้นแล ถ้าได้กินจน[จบ]ครบถ้วน | กำหนดสามปี อาจสามารถจะเดินบนน้ำได้ มีอายุยินได้ ๑,๐๐๐ ปี พระอินทมุนีก็ได้ทำกิน อายุท่านได้ ๑๐๘ ปี แล้วดูท่านก็ยังกระชับกระชวยอยู่ผมท่านก็ยังดำอยู่ ฟันยังแน่นอยู่ ท่านได้ตำรานี้มาแต่ วันประหัส เดือนเจ็ด จุลศักราช ๑๐๘๗ ปีมะเส็ง สัปตศกแล ...”

BKK001-019 ตำรากษัยและแผนเส้น

ตำราเวชศาสตร์
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) , พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา วัดหนังราชวรวิหาร , เอกสารโบราณ , สมุดไทย , กษัย , กระษัย , กระสาย , กษัยลม , กษัยเหล็ก , แผนเส้น , สมุนไพร , รักษาโรค

หน้าต้นเป็นตำรากษัย เขียนด้วยหมึกแดง กล่าวถึงกำเนิดกษัยทั้ง 18 ประการ และตำรับยาในการรักษาโรค หน้าปลายเป็นแผนเส้น เขียนด้วยหมึกดำและดินสอ

NPH001-023 คัมภีร์ลม

ตำราเวชศาสตร์
หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ , ทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ , เอกสารโบราณ , หมอยา

คัมภีร์ลมฉบับนี้ กล่าวถึงโรคและตำรับยารักษาโรค เช่น ยาลม ยาสารบาษ ยาซะเออะ(สะอึก) ยาปวดหัว ยาหายไข้ ยาลุหุนไข้ ยาหวัด ยาเลือดคั่งออก ยาเอ็นทก ยาเลือดขึ้น ยากะบุน ยาลงท้อง ยาเจ็บคอ ยาไฟไหม้ ยาฝำ ยาฝีบ้าคอ ยาปวดท้อง ยาท้องแล้ง ฯลฯ ตัวอย่างตำรับยารักษาโรคที่ปรากฏในคัมภีร์ อาทิ ยาลม เอาหญ้าหอมแก้ว หญ้าปากควาย รากนมวัว เคี่ยวใส่พริกขิง กินดี ฯ ยาลมแล่นท้องดัง เอาเปลือกมุกน้อยมุกหลวง บดไว้เอาน้ำอ้อย น้ำตาล น้ำผึ้ง หมัก ปั่นเป็นลูกกลอนไว้จำเริญกินดีแล เป็นต้น หน้าสุดท้ายเขียนด้วยว่า “คัมภีร์ลม ถ่ายออกแล้ว 22 ก.ค. 33” ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/23 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา

RBR003-065 พระอภิธรรมสังคหะ

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , พระธรรม , อภิธรรม , นายปาน , อำแดงจู

สมุดไทยบันทึกธรรมคดีเรื่อง พระอภิธรรมสังคหะ โดยท้ายเล่มได้ระบุว่า “หนังสือพระธรรมเล่มนี้ ข้าพเจ้านายปานผู้ผัว อำแดงจูผู้เมีย กับ(ผู้ศรัทธา) สร้างถวายในพระศาสนา ขอให้ข้าะเจ้าลุโสดานาคาแลพระนิพพานเถิด ขอให้สำเร็จแก่ความปรารถนา ขอให้ข้าพเจ้าทันพระศรีอาริยะทุกชาติเถิด ขอเดชะบุญที่สร้างไว้ เกิดมาชาติใด ๆ ขื่อเข็ญว่าเข็ญใจ อย่าได้บังเกิดมีแก่ข้าพเจ้านี้เลย นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ

RBR003-053 ตำรายาและยันต์

ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , ตำรายา , ยันต์ , วรรณกรรม , เชียงตุง

สมุดไทยบันทึกตำรายาสมุนไพรแผนโบราณ มียันต์ไสยศาสตร์ และมีเรื่องราวคล้ายวรรณกรรมไม่ทราบเรื่อง ท้ายสมุดบันทึกว่า “หนังสือครูสายลาวใหญ่ สร้างไว้ในพระศาสนานั้นแล”

RBR003-050 ตำรายาและคาถาอาคม

ตำราโหราศาสตร์ , ตำราไสยศาสตร์ , ตำราเวชศาสตร์
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , โหราศาสตร์ , ตำรายา , คาถาอาคม

สมุดไทยบันทึกตำรับตำรายาแผนไทยตำรับต่าง ๆ และเรื่องไสยศาสตร์ที่เป็นคาถาอาคม

RBR003-026 อภิธรรมสังคหะ

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , อภิธรรม , คำบอกวัด

สมุดไทยบันทึกพระอภิธรรมสังคหะ พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ และคำบอกวัด

RBR003-055 พระอภิธรรมสังคหะ

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , อภิธรรม , ไตรปิฎก , ธรรม

สมุดไทยบันทึกเรื่องธรรมคดี พระไตรปิฎก ในส่วนของพระอภิธรรม ซึ่งเป็นพระธรรมขั้นสูงสุด

RBR003-056 ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , พระสูตร

สมุดไทยบันทึกธรรมคดีเรื่อง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะ นับเป็นพระสงฆ์สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน ๘ เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง ๔ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา