หน้าทับเขียนด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “มัทรีเรียกขวัญม่วนหลับเลย” และเขียนด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ “มัทรีผูก ๙” ลานสุดท้ายจาร “มัทรีเรียกขวัญม่วนบ่หาย” ท้ายลานระบุ “มทฺทีปพฺพํ นิฏฺฐิตํ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๚๛ฯ จบมัทรีเรียกขวัญมวลบ่หายพอคลั่งไคล้เหงาหลับพุ้นแลนายเหย นิจฺจํ นิจฺจํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ”
หน้าต้นเป็นตำรากษัย เขียนด้วยหมึกแดง กล่าวถึงกำเนิดกษัยทั้ง 18 ประการ และตำรับยาในการรักษาโรค หน้าปลายเป็นแผนเส้น เขียนด้วยหมึกดำและดินสอ
ตำราพรหมชาติ ประกอบด้วยเนื้อหาต่าง ๆ ดังนี้ ตำราห่วง ตำราเทพจร ตำราดูข้างแรม ตำราดูวันดีวันร้าย ตำราดูวันจม ตำราดูราหูจร ตำราการขุดหลุมตั้งการมงคล ตำราดูวันปลูกเรือน ตำราดูหลักต้นไม้ ตำราเรียงหมอน ตำราดูปีเกิดวันเกิด ตำราแรกนา ฯลฯ จากนั้นมีตำราแทรกเล็กน้อยด้วยหมึกน้ำเงินและเขียนบนเส้น เป็นคนละลายมือ คาดว่าถูกเขียนเพิ่มทีหลัง
หน้าต้นกล่าวถึง ตำรายาและตำรับในการรักษาโรคต่างๆ เช่น ยาแก้อาโปธาตุ ยาแก้ปัฐวีธาตุ ยาแก้วาโยธาตุ ยาแก้ไข้ดีพลุ่งพล่าน ยาอนันทจักรวาล ยาแก้ตกเลือด ยาแก้ขัดระดู ยาบำรุงเลือด ยาปลุกเลือด ยาชำระโลหิต ยาต้มแก้ลมเพลมพัด ยานัตถุ์ผีออก ยาแก้คุณไสย ยาไฟบรรลัยกัลป์ ยาริดสีดวง ยาฝีปะคำร้อย ยาละลอก ยาพอกละลอกแก้ว ยาต้มมะเร็ง ยาซาง ยาแก้ลงราก ยาแก้งูขบ ยาสำรอกเลือด ยาแก้พิษขนานใหญ่ จากนั้นกล่าวถึงยันต์ลงผ้าประเจียด ยันต์อิติปิโสลงแผ่นทอง และนาคสมพงษ์
เริ่มด้วยบทไหว้ครู จากนั้นกล่าวถึงโคลงกระทู้ 4 และโคลงกระทู้ 8 เรื่องการสั่งสอน เช่น การประพฤติตามจารีต ทำความดี ละเว้นความชั่ว กตัญญูรู้คุณคน อย่าหูเบา ต้องมีจิตใจหนักแน่น เป็นต้น แทรกด้วยเรื่องโหราศาสตร์เช่น การปลูกเรือน การดูเสา การดูฤกษ์ยาม และตำรายาสำหรับรักษาโรคต่างๆ
สมุดไทยขาวฉบับนี้ กล่าวถึงอาการของโรคและตำรับยาในการรักษาโรคนั้นๆ อาทิ โรคฝีเลือดทวารทั้ง 7 ยาแก้สาริบาท ยาหอมเหลืองแก้ไข้จับแก้ลมจุกเสียด ยาแก้ตัวเหลือง ยาแก้ลิ้นกระด้างคางแข็ง เป็นต้น
สมุดไทยขาว หน้าปกเขียนว่า “ตมราเมืองตักคสีนลาแล” และหน้าสุดท้ายเขียนว่า “สินสมุดแต่เทานีแล ตำรับนีมีสาระพัดทุกประกานแล” และมีการเติมวรรณยุกต์ด้วยหมึกสีแดง เนื้อเรื่องกล่าวถึง ตำรับยาในการรักษาโรคต่างๆ อาทิ ยาเขียวมหากาฬ นาประสะจัน ยาสมมิตใหญ่ ยาร้อยเขาวัง ยาฝนแสนห่า ยาคงคาเดือด นานัตถุ์แก้ไข้ ยาพรหมจินดา ยาต้มแก้ลมสันดาน ยาแก้กระหายน้ำ ยาดองแก้ริดสีดวง
ต้นฉบับเป็นสมุดไทยขาว เขียนด้วยอักรไทยและขอมไทย เนื้อหาส่วนใหญ๋เป็นตำรายากล่าวถึงแผนเส้น รูปผู้ชาย ส่วนหน้าปลายมีภาพแผนเส้น และตำราห่วง
หน้าทับเขียนปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มัทรีป่าเพียวเทศขัก” และเขียนปากกาลูกลื่นสีดำ “มัทรี ผูก ๙” ท้ายลานระบุ “มทฺที ปพฺพํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันสังวรรณนายังมัทรีปริเจทอันประดับประดาไปด้วยพระคาถาทั้งหลายว่าได้ ๙๐ ทัส ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯ บริบูรณ์เสด็จแล้วปีมะเมีย เดือน ๑๐ แรม ๖ ค่ำ พร่ำว่าได้วันเสาร์ ยามบ่ายโมง ๑ กับ ๒๕ ภินิด แลเจ้าเหย รัสสภิกขุอินธสอนเขียน บ่ดีขัด อาวชายเหือน กับภริยาชื่อว่า นางนา อยู่ดอนกอก ก็พร้อมกับด้วยลูกหญิงลูกชาย ก็อุบายหาใบลานหื้อภิกขุอินธอง สร้างหนังสือมัทรีฉบับป่าเภียว ไว้ค้ำชูศาสนาพระโคตมเจ้า ขอหื้อผู้สร้างผู้เขียน สุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอดแด่เทอะ หมู่ผู้ข้าทั้งหลายได้สร้างธรรมเขียนธรรม หมู่ข้าน้อยทั้งหลายก็พาเอากันปรารถนาเอาสัพพัญญุตญาณสิ่งเดียวแลเจ้าเหย เขียนบ่ดี สติบ่ตั้ง เพราะสาวบ้านเค้ามะคร้อ ครั้นว่ามันมาวัด มันเหลียวมาผ่อแต่หน้า ครั้นข้าบ่ผ่อก็อดบ่ได้ ครั้นข้าผ่อไป มันบิดหน้าหนี อีสาวอัปรีย์ช่างผ่อหน้าทุแลนา ขอหื้อมีประหญาปัญญาอันเฉลียวฉลาดชูตัวธรรม อย่าหื้อเป็นกรรมเป็นเวรแก่ข้า ขอหื้อบุญอันเขียนตัวธรรมนี้ไปลูบ(ลบ)ตัวกรรมตัวเวรอันกระทำมาหื้อเสี้ยงแด่เทอะ [นิพฺพา]น ปจฺจโย โหตุ นิจฺจํ ธุวํ แด่เทอะ”