หน้าต้นเป็นวรรณคดีไทย โดยมีชื่อตัวละคร อาทิ พระสุริวงศ์ นางศุภลักษณ์ นางอุษา เป็นต้น ส่วนหน้าปลายเป็นการบันทึกเรื่องทั่วไป เนื้อหาไม่ปะติดปะต่อนัก
สมุดไทย หน้าต้นมีการกล่าวถึง การดูวันแรกนา ปลูกข้าวและพืชผักผลไม้ ส่วนหน้าปลาย
หน้าปลายกลับหัว
สมุดไทยเป็นเรื่องเกี่ยวกับตำราพรมศักดิ์ เป็นตำราปรับไหม ระบุชื่อผู้เขียนว่า “ข้าพเจ้านายจิตรเขียนพรมศักดิ์ ให้ผู้ที่อยากแสวงแจ้งประจักษ์ จงกระหนักแน่ในนำใจจริง จะปรับไหมให้ต้องทำนองกฎ ในแบบบทไว้ทั้งชายหญิง จะวางบทตามสัตย์จริง” และตอนท้ายเป็นตำรายา
ในตอนต้นเขียนเกี่ยวกับเรื่องการทำเครื่องรางของขลังต่างๆ พร้อมคาถาอาคมที่ใช้ท่องเสกกำกับเครื่องรางของขลังนั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นคาถาภาษาบาลีที่มีความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเช่น พุทฺโธเมตตา ธมฺโมกรุณา สงฺโฆเอ็นดู นโมรักใคร่ เป็นต้น นอกจากที่ยังมีภาพยันต์ต่างๆ ที่นำไปเขียนบนผ้าหรือกระดาษเพื่อประกอบการทำเครื่องรางของขลังเช่น ตระกรุด ด้ายมงคลต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วเป็นเครื่องรางที่ใช้ป้องกันภัยอันตรายทั้งมวลที่น่าสนใจคือ ยันต์มงกุฏพระเจ้า ที่ใช้ประกอบกับผ้าประเจียด ซึ่งยันต์นี้ได้ระบุว่าเป็นของ หลวงพ่อแก้ว วัดท่าพูด ต่อมาเป็นเรื่องการทำขวัญข้าว เนื้อหากล่าวถึงกำเนิดพระแม่โพสพ แต่ไม่จบเรื่อง สุดท้ายมีสูตรยาสมุนไพรอีก ๒ อย่างคือ ยาเครื่อง และยาดอง
ตำราเรียนภาษาบาลี กล่าวถึงการเรียกชื่อตัวเลข เช่น 1 คือ ปถม 2 คือ ทุติย เป็นต้น กล่าวถึงวิภัตติแปดหมู่ มีตารางการแจกวิภัตติปัจจัย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปคำในประโยค เพื่อแสดงเพศ พจน์ การก บุรุษ กาล วาจก มาลา ฯลฯ