ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/4 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ใบลานสุดรองสุดท้าย ระบุวันเวลา “วัน ๕ เดือน ๙ จุลศักราช ๑๕๗ ปีมะแม” คาดว่าน่าจะเป็น จ.ศ. 1157 แปลงเป็น พ.ศ. 2338 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/3 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรายาเลือดทั้งปวง อาทิ ยาเลือด ยาลม ยาแห่บ่ตก สันนิบาต เป็นต้น ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/17 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำราฉบับนี้กล่าวยาแก้ไอ นอกจากนี้ยังมีตำรับยาอื่นๆ เช่น ยาขี้ฮาก ยาก้างลงท้อง เป็นต้น ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/14 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรายาและเป่า อาทิ ยาแก้พิษร้อน พิษขึ้นคัน ซางแดง เป็นต้น ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/21 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรายาแก้ไข้ อาทิ แก้ร้อนท้อง จับไข้ ตีนเย็นมือเย็น ไข้ปวดตา ฯลฯ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/20 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรายาแก้ไข้ อาทิ ยาแก้ออกดำออกแดง, แก้คัน, แก้ไข้, ยาเลือด ฯลฯ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/19 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ตำรายาแก้ไข้ อาทิ ยาแก้ไข้ปวดหัว, ไข้ออกตุ่ม, ไข้ป่วง ฯลฯ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/16 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
พระยาชมพูบดีเป็นกษัตริย์ที่มีบุญญาธิการ มีฤทธิ์เพราะมีศรวิเศษปราบได้ทั่วหล้า ด้วยพลังอำนาจนี้ทำให้พระยาชมพูบดีถือตนว่าเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทุกพระองค์ในชมพูทวีป ครั้งหนึ่งพระยาชมพูเหาะผ่านปราสาทของพระเจ้าพิมพิสาร เห็นแสงของปราสาทส่องสว่างก็ไม่พอพระทัย ใช้พระบาทถีบยอดปราสาท แต่ก็ไม่อาจทำอันตรายยอดปราสาทได้เพราะอำนาจพระพุทธคุณที่คุ้มครองปราสาท แม้พระขรรค์ก็ไม่อาจทำลายยอดปราสาทได้ เมื่อพระยาชมพูกลับมาถึงเมืองจึงใช้ศรวิเศษไปเสียบพระกรรณของพระเจ้าพิมพิสาร ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารเห็นพระยาชมพูพยายามทำลายยอดปราสาทก็เกิดความกลัว หนีไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ศรของพระยาชมพูตามพระเจ้าพิมพิสารมายังเชตวันวิหาร พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตจักรขับไล่ศรของพระยาชมพู พระยาชมพูกริ้ว สั่งให้ฉลองพระบาทไปจับตัวพระเจ้าพิมพิสาร ฉลองพระบาทแปลงเป็นนาคราชไปยังเชตวันมหาวิหาร พระพุทธเจ้าบันดาลพญาครุฑไล่จับนาค นาคก็ชำแรกดินหนีกลับไปหาพระยาชมพู พระพุทธเจ้าให้พระอินทร์ไปเชิญพระยาชมพูมาเฝ้า พระยาชมพูดื้อดึง พระอินทร์ปราบพยศพระยาชมพูและบังคับให้พระยาชมพูมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าให้สามเณรอรหันต์นำพระยาชมพูเข้ามาในเมือง พระยาชมพูและเหล่าอำมาตย์ไม่เคยเห็นเมืองที่มั่งคั่งและประชาชนที่งดงามดังเทวดา ก็ละอายยอมละทิฐิ ยอมออกบวชเป็นภิกษุ นางกาญจเทวีชายากับโอรสของพระยาชมพูได้ฟังเทศนาของพระพุทธเจ้าก็เกิดความเลื่อมใสออกผนวช สุดท้ายทุกคนก็สำเร็จอรหันตผล (ข้อมูลจาก https://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=332)