เอกสารโบราณ

หัวเรื่อง : วรรณคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ (6 หน้า)

NPT005-004 สุภาษิตสอนสตรี

วรรณคดี
วัดบางช้างใต้ , วรรณคดี , สอนหญิง , คำสอน , สุนทรภู่

สุภาษิตสอนสตรีนี้เดิมเรียกกันว่า “สุภาษิตสอนหญิง” หรือ “สุภาษิตไทย” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่า “สุนทรภู่เห็นจะแต่งเมื่อราวระหว่างปี พ.ศ. 2340-2383 ในเวลา เมื่อกลับสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ แล้วต้องตกยากจนถึงลอยเรืออยู่ พิเคราะห์ตามสำนวนดูเหมือนหนังสือเรื่องนี้สุนทรภู่แต่งขายเป็นสุภาษิตสอนสตรีสามัญทั่วไป ความไม่บ่งว่าแต่งให้ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ต้นฉบับเดิมที่หอพระสมุดฯ ได้มาเรียกว่า สุภาษิตไทย เป็นคำสมมติผู้อื่น ดูเหมือนผู้สมมติจะไม่รู้ว่าเป็นกลอนของสุนทรภู่ด้วยซ้ำไป ถ้อยคำในต้นฉบับก็วิปลาสคลาดเคลื่อน ต้องซ่อมแซมในหอพระสมุดฯ หลายแห่ง แต่นับว่าแต่งดีน่าอ่าน” (กรมศิลปากร, ประชุมสุภาษิตสอนหญิง, เอดัน เพรส โพรดักส์ จำกัด, 2555, 159.)

BKK001-034 วรรณคดี

วรรณคดี
วัดหนัง , วัดหนังราชวรวิหาร , พิพิธภัณฑ์วัดหนัง , สมุดไทย , เอกสารโบราณ , วรรณคดี , อักษรศาสตร์

วรรณคดีไม่ทราบชื่อเรื่อง ไม่ครบฉบับ แต่ลายมือที่เขียนค่อนข้างสวย

RBR002-1087 ลิ้นทอง

วรรณคดี
วัดคงคาราม , ราชบุรี , มอญ , คลองตาคต , เอกสารโบราณ , สมุดไทย , พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน , เอกสารตัวเขียน , ชาติพันธุ์ , นายทรง , วรรณคดี

สมุดไทยขาว บันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย ลายมือเป็นระเบียบสวยงาม อ่านง่าย และมีการบุว่า “ผู้คัดลอก คือ นายทรง”

BKK001-037 พระสุริวงศ์

ตำราเบ็ดเตล็ด , วรรณคดี
วัดหนัง , วัดหนังราชวรวิหาร , พิพิธภัณฑ์วัดหนัง , สมุดไทย , เอกสารโบราณ , พระสุริวงศ์ , นางอุษา , นางศุภลักษณ์

หน้าต้นเป็นวรรณคดีไทย โดยมีชื่อตัวละคร อาทิ พระสุริวงศ์ นางศุภลักษณ์ นางอุษา เป็นต้น ส่วนหน้าปลายเป็นการบันทึกเรื่องทั่วไป เนื้อหาไม่ปะติดปะต่อนัก

NPT008-005 พระยาสี่เสาร์

วรรณคดี
วัดเทียนดัด , นครปฐม , สมุดไทย , วรรณคดี , พระยาสี่เสาร์ , สี่เสาร์

วรรณกรรมเรื่อง พระสี่เสาร์ หรือพระสี่เสาร์กลอนสวดนี้ มีที่มาจากชาดกนอกนิบาตคือ ปัญญาสชาดก โดยนำเนื้อ เรื่องจาก “สิโสรชาดก” มาแต่งเป็นวรรณกรรมกลอนสวด ชาดกในปัญญาสชาดกถือว่ามีอิทธิพลในการสร้างสรรค์งาน วรรณกรรมร้อยกรองของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น เรื่องสมุทรโฆษ เรื่องพระรถเสน เรื่องพระสุธน เป็นต้น สำหรับ เรื่องพระสี่เสาร์นี้ หมื่นพรหมสมพัตสร(มี) กวีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นกล่าวถึงใน “นิราศเดือน” ซึ่งสันนิษฐานว่าแต่งขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

หน้าต้น เล่ม 2

NPT001-007 ณรงคจิตรชาดก

วรรณคดี
วัดท่าพูด , ชาดก , นอกนิบาต , นิทานพื้นบ้าน , กลอนสวด , ณรงคจิตร , ณรงกา , ศรีสุดา , เสละทัต , ท้าวมัทราช , บุษบง , บุษมาลี , สุวินชา , ตรีดาพงษ์

ณรงคจิตรชาดก เป็นกลอนสวดที่ไม่พบที่มาของเรื่อง เข้าใจว่าเป็นเรื่องที่แต่งเลียนแบบชาดก โดยผู้แต่งเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นเรื่องชาดก คือใช้ชื่อเรื่องเป็นชาดกและเนื้อเรื่องก็กล่าวถึงผลของบุรพกรรมซึ่งเป็นต้นเหตุของเหตุการณ์ในชาติปัจจุบัน ตัวละครเอกจะใช้คำว่า “หน่อศาสนา” และ “โพธิสัตว์” และตอนท้ายมีประชุมชาดก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะผู้แต่งต้องการให้เห็นว่าเรื่องที่ตัวเองแต่งมีความสำคัญ น่าเชื่อถือ และได้อานิสงส์อีกด้วย ณรงคจิตรชาดกในต้นฉบับเอกสารสมุดไทยดำฉบับวัดท่าพูดนี้ มีเนื้อเรื่องบางตอนสลับที่กัน โดยเปรียบเทียบกับเนื้อเรื่องในภาคผนวกของณรงคจิตรชาดกฉบับที่ทำเป็นวิทยานิพนธ์แล้ว และสันนิษฐานว่าเกิดจากการคัดลอกที่คลาดเคลื่อนไป เพื่อความสะดวกในการอ่านและความสมบูรณ์ของเนื้อหา ผู้เรียบเรียงจึงขอสลับเนื้อเรื่องบางตอนให้ตรงกับฉบับที่นำมาสอบทาน และขอแก้ไข เพิ่มเติมคำหรือความที่คาดว่าน่าจะเขียนตกหล่นไปโดยจะใส่คำหรือความเหล่านั้นไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ