บทความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ (12 หน้า)

หมูเถื่อน: ตุณฑิลชาดก ฉบับไทยวน ราชบุรี

"เมื่อธรรมคือ น้ำ บาปคือ เหงื่อไคล ศีลคือ กลิ่นหอมที่ไม่มีวันจางหาย"
หมูเถื่อน หรือตุณฑิลชาดก เป็นชาดกลำดับที่ 3 ในนิบาตชาดก ว่าด้วย ธรรม คือ น้ำ และบาป คือ เหงื่อไคล การได้อาบน้ำชำระเหงื่อไคลออกจากร่างกาย เท่ากับการเข้าถึงธรรมเพื่อชำระล้างบาปออกจากจิตใจ

ขั้นตอนการถือศีลอดใน ‘สมุดไทยขาว’ ของชาวมุสลิมแห่งคลองบางกอกน้อย

“บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้า เช่นกับเดียวที่ได้กำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้วเพื่อพวกเจ้าจะได้ยำเกรง” (อัล-กุรอาน 2:183)

สู่ขวัญควาย

การสู่ขวัญควายซึ่งเป็นพิธีกรรมดั้งเดิมของชาวนาที่แสดงถึงความกตัญญูและขอบคุณควาย ซึ่งเป็นสัตว์คู่ชีวิตของเกษตรกรในการทำนา

ตำรายา พยากรณ์

RBR003-054 ตำรายา พยากรณ์ ฉบับวัดใหม่นครบาล จังหวัดราชบุรี เป็นสมุดไทย เขียนด้วยเส้นหมึกดำและดินสอ อักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยถิ่นเหนือ เอกสารสภาพไม่สมบูรณ์ ขอบสมุดไทยเปื่อยยุุ่ยเล็กน้อย หน้าสมุดไทยบางหน้าตัวหนังสือจางหายทำให้อ่านไม่ได้ และชำรุดขาดหายไปบางส่วน เหลือจำนวน 32 หน้า ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้าง มีภาพประกอบเป็นภาพลายเส้น เช่น นาคสมพงศ์ เป็นต้น<br />
หน้าต้นเป็นตำรายา กล่าวถึงยา เช่น ยาซาง อาการของโรค และยาสำหรับรักษาโรค ส่วนหน้าปลายนั้น กล่าวถึง ตำราดูธาตุชายหญิง ตำราสู่ขวัญ นาคสมพงศ์ เป็นต้น

พระสุนันทราช

NPT009-002 พระสุนันทราช ฉบับวัดท่าข้าม นครปฐม
ต้นฉบับกล่าวถึง พระพุทธเจ้าทรงปรารภถึงพระสุนันทราช ทรงเล่าถึงความสงสัยในพระทัยพระองค์ พระสุนันทราชเสด็จมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อถามปัญหา เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาแก่พระสุนันทราช ทรงบอกกุศลแห่งการสร้างหนังสือพระสุนันทราชเอาไว้ในพระพุทธศาสนา และพระสุนันทราชทรงบรรลุพระอรหันตผล

ตำราคณิตศาสตร์ ฉบับวัดบางช้างเหนือ

หน้าต้นกล่าวถึง แบบคิดหน้าไม้ วิธีคิดหน้าไม้ มาตราเงินไทยโบราณ การบวกลบคูณหารทั่วไป บวกลบคูณหารของเงินไทยโบราณ การซื้อของแลกเปลี่ยนด้วยเงินไทยโบราณ
หน้าปลายกล่าวถึง ยาแก้อาการเจ็บป่วย และสูตรยาสำหรับรักษาโรคนั้นๆ อาทิ ยาแก้ไข้บำบัดไข้กำเดา ยาต้มแก้ไข้สันนิบาต ยาแก้กษัย ยาแก้กษัย กษัยเส้น กษัยกล่อน กษัยเลือดลม แก้ริดสีดวง ฯลฯ

คัมภีร์อาไภยสาลี

แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ กล่าวด้วยไข้ เขียนเป็นกาพย์ยานี 11 สมุดไทยมีการแบ่งเรื่องแตกต่างจากแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ โดยจะมีหมายเลขกำกับหัวข้อไว้แต่ละเรื่อง ด้วยสมุดไทยชำรุดเสียหายไป จึงเริ่มต้นในส่วนกลางของหัวข้อที่ 33 บันทึกยาวไปจนถึงหัวข้อที่ 50 โดยในตอนท้ายระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “จบคัมภีร์อาไภยสาลีแต่เท่านี้แลนะท่านเอย” ซึ่งในหนังสือแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ไม่ได้ระบุไว้แบบนี้ เพียงแต่ขึ้นต้นเรื่องใหม่คือ ว่าด้วยชีพจร

อักษรไทยย่อ ในเอกสารโบราณ วัดบ้านแลง จังหวัดระยอง

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ เปรียบเทียบ รูปตัวอักษรไทยย่อ ทั้งพยัญชนะ สระ ของเอกสารโบราณวัดบ้านแลง เรื่องพญาฉัททันต์ กับ เรื่องนันโทปนันทสูตรคำหลวง ซึ่งถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นเรื่องที่เขียนด้วยอักษรไทยย่อที่สวยที่สุด เขียนขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยจะนำมาเปรียบเทียบกัน ว่าระหว่างสมัยอยุธยาตอนปลาย และรัตนโกสินทร์ตอนต้นจะมีพัฒนาการของตัวอักษรเป็นเช่นไร