เอกสารโบราณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,350 รายการ (150 หน้า)
|
  • RBR003-116 หมูเถื่อน

    ธรรมคดี
    ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , ธรรมคดี , ชาดก , หมู

    บันทึก หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “หมูเถื่อน” ลานแรกด้านซ้ายมือ “หมูเถือง(ควรเป็น หมูเถื่อน?)ผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “มหาตุณฺฑิลชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันพรรณนาสักเสริญยังชาติปางเมื่อพระพุทธเจ้าเกิดเป็นหมูเถิง(หมูเถื่อน?) ชื่อว่า มหาตุณฑิละ ชาตกอันนี้อันถ้วน ๓ มีในศก ๕๐๐ ชาติ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ||๛||| เสด็จแล วันจันทร์ก่อนเพล เดือนยี่ ขึ้น ๑๔ พร่ำว่าได้ วันจันทร์แลนายเหย ||๛๛ หน้าทับเค้าหมูเถิง(หมูเถื่อน?) ผูกเดียวแลนายเหย ข้าขอสุข ๓ ประการมีนิพพานเป็นยอดแก่ข้าแด่เทอะ แล้วข้าขอกุสลานาบุญอันนี้ไปรอดไปเถิงบิดามารดาข้า พ่อแม่พี่น้อง XXX ครูบาอาจารย์แก่แด่เทอะ รัสสภิกขุขาว กะลังหัดเขียนใหม่ บ่ดี ทุพี่พระพี่ได้เล่าได้เรียน อย่าไปด่าหีแม่ข้าเทอะ อยากใคร่ได้บุญเต็มที สร้างธรรมผูกนี้ไว้ค้ำชูศาสนาพระโคตมเจ้าตราบต่อเท่าเข้าสู่พระ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุเม นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ เป็นยอดแก่ข้าแด่เทอะ” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ

  • หน้าต้น เล่ม 2

    NPT001-007 ณรงคจิตรชาดก

    วรรณคดี
    วัดท่าพูด , ชาดก , นอกนิบาต , นิทานพื้นบ้าน , กลอนสวด , ณรงคจิตร , ณรงกา , ศรีสุดา , เสละทัต , ท้าวมัทราช , บุษบง , บุษมาลี , สุวินชา , ตรีดาพงษ์

    ณรงคจิตรชาดก เป็นกลอนสวดที่ไม่พบที่มาของเรื่อง เข้าใจว่าเป็นเรื่องที่แต่งเลียนแบบชาดก โดยผู้แต่งเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นเรื่องชาดก คือใช้ชื่อเรื่องเป็นชาดกและเนื้อเรื่องก็กล่าวถึงผลของบุรพกรรมซึ่งเป็นต้นเหตุของเหตุการณ์ในชาติปัจจุบัน ตัวละครเอกจะใช้คำว่า “หน่อศาสนา” และ “โพธิสัตว์” และตอนท้ายมีประชุมชาดก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะผู้แต่งต้องการให้เห็นว่าเรื่องที่ตัวเองแต่งมีความสำคัญ น่าเชื่อถือ และได้อานิสงส์อีกด้วย ณรงคจิตรชาดกในต้นฉบับเอกสารสมุดไทยดำฉบับวัดท่าพูดนี้ มีเนื้อเรื่องบางตอนสลับที่กัน โดยเปรียบเทียบกับเนื้อเรื่องในภาคผนวกของณรงคจิตรชาดกฉบับที่ทำเป็นวิทยานิพนธ์แล้ว และสันนิษฐานว่าเกิดจากการคัดลอกที่คลาดเคลื่อนไป เพื่อความสะดวกในการอ่านและความสมบูรณ์ของเนื้อหา ผู้เรียบเรียงจึงขอสลับเนื้อเรื่องบางตอนให้ตรงกับฉบับที่นำมาสอบทาน และขอแก้ไข เพิ่มเติมคำหรือความที่คาดว่าน่าจะเขียนตกหล่นไปโดยจะใส่คำหรือความเหล่านั้นไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ

  • NPT007-009 คัมภีร์ยาเกร็ดแผนโบราณ

    ตำราเวชศาสตร์
    บ้านหมอเห , สมุนไพร , ตำรายาเกร็ด , หมอคล้าย , จันทบุรี , หลวงพ่อวัดไร่ขิง , พระธรรมปิฎก , วัดเชตุพน

    สมุดไทยขาวเล่มนี้ ระบุชื่อภายในเล่มว่า “คัมภีร์ยาเกร็ดแผนโบราณ” คัดลอกโดย หมอเห สายโกสินทร์ แพทย์แผนโบราณ ชั้น 2 โดยมีความประสงค์ที่จะรวบรวมตำรับตำรายาแผนโบราณของครูบาอาจารย์ต่างๆ มาเขียนไว้ในที่เดียวกัน เพื่อความสะดวกในการใช้งานของหมอเหเอง

  • NPT003-007 ตำรายาโรคลม และการคลอดบุตร

    ตำราเวชศาสตร์
    ตำรายา , เวชศาสตร์ , วัดห้วยตะโก , นครปฐม , สมุดไทยขาว , ชวดาร , ปฐมจินดา , โรคลม , ยาแก้ลม , มุตกิด , มุตฆาต

    สมุดไทยฉบับนี้ ประกอบด้วย 2 เรื่องหลักๆ คือ เรื่องเกี่ยวกับตำรายาโรคลม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในคัมภีร์ชวดาร และอีกเรื่องคือ ตำรายาที่ใช้ในการคลอดบุตร และกรณีต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ปฐมจินดา

  • RBR004-160 อานิสงส์สร้างระฆัง

    ธรรมคดี
    ลาวเวียง , เวียงจันทน์ , ล้านช้าง , ลาวตี้ , อานิสงส์ , ฉลอง , ระฆัง

    อานิสงส์สร้างระฆังฉบับนี้กล่าวถึง พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมด้วยการยกนิทานขึ้นมาเล่าให้แก่พุทธบริษัทได้ฟัง ความว่า อดีตกาลนั้นนานมาแล้ว พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงแสดงธรรมว่าด้วยเรื่องอานิสงส์ของการสร้างระฆัง เหตุการณ์เริ่มขึ้นเมื่อบุรุษเข็ญใจผู้หนึ่งที่พึ่งพาพระภิกษุและขออาหารประทังชีวิตมาตลอด ได้พบมหาโจรกลุ่มหนึ่งหมายเอาชีวิต เขาต้องการเอาตัวรอดจึงพาโจรไปยังอารามของพระภิกษุและสามเณรเพื่อให้โจรฆ่าพระภิกษุแทนตัวเอง เมื่อไปถึงไม่พบใครจึงตีระฆัง เหล่าพระภิกษุและสามเณรทั้งหลายที่ได้ยินเสียงระฆังจึงปรากฏตัว สามเณรวัย ๗ ปี ชื่อ สํกิจจํ อาสาเสียสละตนเองเพื่อช่วยชีวิตคนที่เหลือ แต่ความอัศจรรย์เกิดขึ้นจังหวะที่ดาบฟาดลงที่คอดาบก็แตกหักกระจัดกระจาย เหล่าโจรเห็นดังนั้นก็เกิดความเลื่อมใสจึงปวารณาตนของบวช และหมั่นเพียรฝึกกรรมฐาน เรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะระฆังจึงเป็นปฐมเหตุ เสียงระฆังเป็นเสียงมงคล และเป็นที่ตั้งของพุทธศาสนา ผู้ใดบริจาคทรัพย์สร้างระฆัง ผู้นั้นจะมีอานิสงส์มาก มีเสียงอันไพเราะ และเป็นที่เชื่อถือของคนทั่วไป ครั้นสิ้นชีวิตจะได้ไปอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เสวยสมบัติอันมาก และมีเสียงไพเราะกว่าเทวดาทั้งปวง ครั้นได้ลงมาเกิดในโลกมนุษย์ก็จะมีชีวิตสุขสบาย ทรัพย์สมบัติมหาศาล

  • RBR004-175 อานิสงส์ดอกเผิ้ง

    ธรรมคดี
    ลาวเวียง , เวียงจันทน์ , ล้านช้าง , ลาวตี้ , อานิสงส์ , ฉลอง , ดอกผึ้ง

    อานิสงส์สร้างดอกเผิ้งหรืออานิสงส์ดอกเทียน กล่าวถึงบุญกุศลที่ได้จากการสร้างปราสาทที่ทำจากเทียนแล้วปั้นแต่งเป็นรูปดอกไม้ตกแต่งปราสาทผึ้ง (ดอกไม้ที่ทำจากเทียน เรียก ดอกผึ้ง ดอกเผิ้ง หรือดอกเทียน) เพื่อความสวยงามปราณีต ซึ่งการสร้างปราสาทผึ้งนิยมกระทำในช่วงออกพรรษา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับ ตามความเชื่อที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานของชาวอีสาน

  • NPT001-016 จินดามณี เล่ม 1

    อักษรศาสตร์
    วัดท่าพูด , แบบเรียนภาษาไทย , คำประพันธ์ , อักขรวิทยา , คำศัพท์ , ฉันทลักษณ์

    เนื้อหาของเรื่องจินดามณีนั้นเป็นแบบการเรียนการสอนพื้นฐานด้านอักขรวิทยา และการประพันธ์บทร้อยกรองประเภทต่างๆ พื้นฐานด้านอักขรวิทยา เช่น อักษรศัพท์ ว่าด้วยคำศัพท์ที่มักเขียนผิด ความหมายของศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต และเขมร ตัวอย่างคำที่ใช้ ส, ศ, ษ ตัวอย่างคำที่ใช้ไม้ม้วน ไม้มลาย เป็นต้น ด้านบทประพันธ์ร้อยกรอง ได้อธิบายโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนประเภทต่างๆ รวมทั้งยกตัวอย่างฉันทลักษณ์นั้นๆ ประกอบด้วย

  • BKK001-009 ตำรายาเกร็ด

    ตำราไสยศาสตร์ , ตำราเวชศาสตร์
    วัดหนัง , วัดหนังราชวรวิหาร , พิพิธภัณฑ์วัดหนัง , สมุดไทย , เอกสารโบราณ , ตำรายา , สมุนไพร , รักษาโรค ,

    ตำรายาเกล็ด หรือ ยาเกร็ด ในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายว่า ยาที่ไม่ใช่ยาตำราหลวง หรือเรียกอีกชื่อว่า ยากลางบ้าน เป็นยาที่ชาวบ้านเชื่อถือและใช้สืบทอดกันต่อๆ มา ในตำรายาเกล็ดฉบับนี้ กล่าวถึง อาการของโรคและตำรับยาในการรักษาโรคต่างๆ ดังนี้ ยาแก้แสียงแห้ง ยาแก้เลือดผอมท้องโต ยาปลุกเลือด ยารุเลือด ยาพรหมพิทักษ์ ยาถ่ายเลือดรุได้สารพัด ยามหาไว ยาถ่ายสารพัดคุณไสย ยาดองเลือดผอมแห้งท้องโต ยากวนกินแก้เลือดผอมท้องโต ยากินตัดราก ยาแก้อภินยา แก้ไข้จับใหญ่ ไข้เหนือ ยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ยามหาเมฆ ยามหานิล ยาต้มแก้ร้อนใน ยาสว่างอารมณ์ ยาแก้ไข้สำหรับไข้เชื่อมมัวจับหัวใจ ยาต้มแก้ไข้จับวันเว้นวัน ยาต้มครอบสารีบาททั้งปวง ยาแก้ลม ยาเหลืองบุพนิมิตร ยาแก้โรคทุลาวะสา ยาแก้โรคสำหรับบุรุษ ยาขาว ยาลมแก้จุกเสียด ยาดองแก้เลือดร้าง ยาดับลมร้าย ยาต้มถ่ายเสลด ยากัดเลือดกรัง ยาต้มแก้เลือดร้าง ยาเหลืองแก้ลมจุกเสียด ยาอายุวัฒนะ ยาเสียงแห้ง เป็นต้น และแทรกเรื่องไสยศาสตร์ ซึ่งเป็นคาถาสั้นๆ เช่น คาถาเสกน้ำมันดิบเหยียบเหล็ก คาถาสะเดาะลูกในท้อง คาถาตัดปาง เป็นต้น

  • RBR003-082 ตำราทำนายและตำรายา

    ตำราโหราศาสตร์ , ตำราเวชศาสตร์
    ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , ตำรายา , ทำนาย , พยากรณ์ , พระสี่เสาร์

    สมุดไทยบันทึกตำราพยากรณ์ทำนายต่าง ๆ มีตำรายาแทรกด้วย ด้านในมีบันทึกว่า “สิทธิการิยะ ยังมีอาจารย์ผู้หนึ่งท่านไว้พระตำรานี้ได้มาแต่เมืองเชียงใหม่ เดิมนั้นท่านไว้เป็นกฤษณาว่าทองพันตำลึง ครั้นท่านผู้มีปัญญาคิดได้ พบแต่แต่โอ่งเปล่าใบหนึ่ง แต่ท่านใส่ตำรานี้ไว้ พระเจ้าเชียงใหม่ได้ตำรานี้ไว้ ตำราของพระสีเสาให้ไว้เป็นทาน ท่านแช่งชักสาบานไว้มากนัก ถ้าว่าตำ | รานี้มีเหมือนเรากล่าวไว้ ก็ให้เราไปสู่อบายทุกข์ ๑,๐๐๐ กัลป์ ๑,๐๐๐ ชาติเถิด พระเจ้าเชียงใหม่ทำเสวยเป็นนิจนิรันดร์ อายุท่านได้ ๑๐๗ ปี เกสาของท่านยังดำอยู่ พระทนต์ยังตึงอยู่ทุกสิ่ง ผิวเนื้อประดุจทองนพคุณ ครั้นอยู่มาสมภารพระอินทมุนีโคจรไปแต่กรุง จึงพระจ้าเชียงใหม่นิมนต์พระอินทร์ให้ท่านทำ พระ | อินทมุนีก็เทศนาไป แล้วก็หยุดอยู่ที่นั้นนาน พระเจ้าเชียงใหม่จึงยกตำรานี้ถวาย พระอินทมุนีจึงว่า บุคคลผู้ใดมีความศรัทธามิได้เป็นมิจฉาก็ดี ก็ขอยำตำรานี้ให้สืบๆ กันมา ผู้ใดๆ ทำยานี้กินไปจนถึงปีหนึ่ง แม้นผมขาวก็กลับดำ ฟันคลอนแล้วก็กลับแน่น โรคทั้งปวงหายสิ้นแล ถ้าได้กินจน[จบ]ครบถ้วน | กำหนดสามปี อาจสามารถจะเดินบนน้ำได้ มีอายุยินได้ ๑,๐๐๐ ปี พระอินทมุนีก็ได้ทำกิน อายุท่านได้ ๑๐๘ ปี แล้วดูท่านก็ยังกระชับกระชวยอยู่ผมท่านก็ยังดำอยู่ ฟันยังแน่นอยู่ ท่านได้ตำรานี้มาแต่ วันประหัส เดือนเจ็ด จุลศักราช ๑๐๘๗ ปีมะเส็ง สัปตศกแล ...”