คัมภีร์มรญาณสูตร เกี่ยวกับบอกวิธีสังเกตนิมิตของผู้ใกล้ตาย ซึ่งอยู่ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์
ตำราเล่มนี้ประกอบด้วย พระคาถาพุทธนิมิต การเรียนคาถาพุทธนิมิต ยันต์ต่างๆ เช่น ยันต์แม่หินลูกหิน การทำลูกประคำ ยันต์ตะกรุด ยันต์ลงแหวนพิรอด ยันต์จักรพรรตราพญายันต์ ยันต์ทำไส้เทียน ยันต์ลงผ้าเช็ดหน้า ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีบันทึกตำรับยาด้วยดินสอได้แก่ ยาแก้รากสาดสันนิบาตสองคลอง ยาต้มหม้อใหญ่ ยาคุดทะราด ยาตัดคุดทะราด
กล่าวถึง โรค อาการเจ็บป่วย และสูตรยาสำหรับรักษาโรคนั้นๆ อาทิ ยารักษาฝี ยาแก้ตะคริว ยาแก้ขัดเบา ยาแก้กาฬ ยาอาจารย์อัมวัดตะหลุก ยาทิพย์ไสยาสน์ ยาดองแก้เลือดหญิงอยู่ไฟไม่ได้ ยาบำรุงโลหิต ยาไฟประลัยกัลป์ ยาประจุไข้เหนือ ยาพินทุกาฬ ยามหานิลแท่งทอง ยาเนาวโกฐ และยาครรภ์ทรักษา ฯลฯ
กล่าวถึงการทำยาหม้อใหญ่แก้คุณไสย ยาหม้อใหญ้แก้สารพัดโรค แก้ฝีในท้อง ไข้สันนิบาต เป็นต้น ยันต์ลงศิลาฤกษ์ หรือเสาเอก สร้างอาคารต่างๆ ยันต์จัตตุโรลงตัดเสาตอนลงดิน หน้าปลายเป็นเรื่องโองการมะกรูดแปดกิ่ง หรือโองการพระอรหันต์แปดทิศ เป็นคาถาที่ใช้ทำน้ำมนต์รดไข้ ถอนพิษคุณไสย ต่างๆ
ตำรายาว่าด้วยเรื่องไข้สันนิบาต สูตรยาสมุนไพรแก้โรคสันนิบาตต่างๆ เช่น สันนิบาตเลือด สันนิบาตนางนวล เป็นต้น แล้วกล่าวถึงกำเนิดไข้ดาวโคมตัวผู้ ไข้ดาวเรือง
เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับลักษณะทาส ๗ ประการ ได้แก่ ทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย ทาสได้มาข้างบิดามารดา ทาสมีผู้ให้ ทาสที่ได้ช่วยเมื่อต้องโทษทัณฑ์ ทาสที่เลี้ยงดูมาในยามข้าวยากหมากแพง ทาสเชลย และทาสสินไถ่ การตกเป็นทาสประเภทต่างๆ การตั้งค่าตัว การไถ่ถอน การปฏิบัติตน สิทธิหน้าที่ของทาสประเภทต่างๆ ระหว่างทาสกับนายเงิน และผู้ที่เกี่ยวข้อง และอื่นๆ รวมทั้งกำหนดว่า ทาสคือ คนของพระมหากษัตริย์ ที่นายเงินจะลงโทษถึงตายไม่ได้
พระตำรับเลขเจ็ดตัว เป็นตำราโหราศาสตร์อย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่นๆ อีก ได้แก่ วันจม วันฟู วันลอย, การดูสมพงษ์, ฉัตรสามชั้น, ตำรับชั้น, เทพจร และตำรายาแก้โรคกระษัยต่างๆ ซึ่งอยู่ในช่วงท้ายของหน้าต้นต่อไปจนถึงหน้าปลายและเขียนด้วยดินสอ จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า ในส่วนที่เป็นเรื่องของตำรายาสมุนไพรนั้นเขียนขึ้นคนละคราวกับพระตำรับเลขเจ็ดตัว และโหราศาสตร์เรื่องอื่นๆ
สูตรยาแก้คันประโดง ยาต้มแก้คุดทะราด ยามหานิลใหญ่ ยาปรอทแก้คุดทะราดมะเร็ง ยาจักรนารายณ์ใหญ่
วรรณกรรมเรื่อง พระสี่เสาร์ หรือพระสี่เสาร์กลอนสวดนี้ มีที่มาจากชาดกนอกนิบาตคือ ปัญญาสชาดก โดยนำเนื้อ เรื่องจาก “สิโสรชาดก” มาแต่งเป็นวรรณกรรมกลอนสวด ชาดกในปัญญาสชาดกถือว่ามีอิทธิพลในการสร้างสรรค์งาน วรรณกรรมร้อยกรองของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น เรื่องสมุทรโฆษ เรื่องพระรถเสน เรื่องพระสุธน เป็นต้น สำหรับ เรื่องพระสี่เสาร์นี้ หมื่นพรหมสมพัตสร(มี) กวีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นกล่าวถึงใน “นิราศเดือน” ซึ่งสันนิษฐานว่าแต่งขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว