พระสูตรว่าด้วยเรื่อง นิพพาน
“ปฐมสมโพธิกถา” มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า “เรื่องราวเกี่ยวแก่การตรัสรู้โดยแจ่มแจ้งและเลิศล้ำของพระพุทธเจ้าซึ่งเพิ่งจะบังเกิดผ่านพ้นไป” ปฐมสมโพธิกถาแบ่งเนื้อหาออกเป็น 29 ตอน แต่ละตอนเรียกว่า ปริจเฉจ แม้ชื่อเรื่องปฐมสมโพธิกถาจะเน้นพุทธประวัติตอนตรัสรู้ แต่เนื้อเรื่องของปฐมสมโพธิกถาครอบคลุมประวัติทั้งหมดของพระสมณโคดมพุทธเจ้าตั้งแต่กำเนิดศากยตระกูลและการวิวาห์ระหว่างพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาและพระนางสิริมหามายาพุทธมารดา พระโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตลงสู่พระครรภ์พระพุทธมารดาและมีเรื่องและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวแก่พระธาตุผนวกอยู่ตอนท้ายของเรื่อง (ข้อมูลจาก https://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=116)
ตำรายาแก้ไข้เด็ก อาทิ ยาแก้ไข้ตัวร้อนเด็ก, ยาชุมบาย, แก้แงน, แก้ซางขาว เป็นต้น หน้ารองสุดท้ายเขียนด้วยหมึกน้ำเงิน ภาษาไทย ว่า “ของ พ่อคำพันธ์ หมวดดารักษ์ 80/1 หมู่ 8 บ้านสะวาสี ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/18 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
หนังสือสมุดไทยขาวบันทึกเรื่องเกี่ยวกับ ตำราโหราศาสตร์ ด้านในมีการวาดรูปภาพหลากหลายแบบ มีภาพหนุมาน ภาพคนขี่ม้า ภาพปราสาทราชวัง ภาพเรือกำปั่น และภาพยันต์
กล่าวถึง ตำรับยาในการรักษารักษาโรคต่างๆ เช่น กระดานหิน ละอองไฟฟ้า รากสาด มหาเมฆ มหานิน จันทสูตร ฟองสมุทร ประดง กาฬสิงคลี ยาทาแก้ฟกบวม ยาแก้ฝี ยาแก้สลบ ยาแก้ลิ้นกระด้างคางแข็ง เป็นต้น เอกสารโบราณไม่ครบฉบับ ขาดหายบางส่วนในหน้าต้นและหน้าปลาย
โรคนิทาน แปลว่า เหตุที่เกิดโรค พระคัมภีร์โรคนิทาน เป็นชื่อของพระคัมภีร์ที่ว่าด้วยเหตุและสมุฏฐานของโรค เป็นอีกคัมภีร์หนึ่งที่ออกนามว่า โกมารภัจแพทย์ เป็นผู้แต่ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นการกล่าวยกย่องโกมารภัจในฐานะเป็นครูทางการแพทย์ไทยคนหนึ่ง (อ้างอิงจาก : บุษบา ประภาสพงศ์ และคนอื่นๆ, แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์: ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, 2542, หน้า 569.
ตำรายากล่าวถึงโรคและตำรับยารักษาโรค เช่น ยาแก้คุณ ยาแก้คุณผีคุณคน ยาแก้ฝีที่นม ยาแก้ฝีในหู ยาแก้ฝีรำมะนาด ยาแก้ไอ ยาแก้ไอเสลด ยาแก้ริดสีดวงในท้อง ยาแก้ลม ยาเหลือง ยาแก้ซาง ยาจินดาขันบุตร ยากวาดซาง ยามหานินใหญ่ ยาจุดฝีดาษ ยาตานขโมย ยาแก้กาฬ ยามหาไข้ ยาสันนิบาต เป็นต้น
ตำรายาเรื่องชวดารและอติสาร หน้าต้นกล่าวถึงคัมภีร์ชวดาร โรคลม ลมมีพิษ ลมมีพิษมาก และตำรับยาที่ใช้แก้ และหน้าปลายเป็นคัมภีร์อติสาร โรคที่ผู้ป่วยมีอาการท้องเสียอย่าง รุนแรง ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ เป็นมูก เป็นเลือด อุจจาระมีกลิ่น ผิดปรกติ (อ้างอิงจาก https://ttdkl.dtam.moph.go.th/Dic_thai/frmc_dictionnary.aspx) วิธีการเขียนของเล่มนี้คือเขียนบนเส้นบรรทัดทั้งเล่ม
ตำรายากล่าวถึง ตำรับในการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น ยาแก้สันนิบาต ไข้เหนือ แก้ไข้สะท้าน ยาแก้ไข้อีดำอีแดง ยาแก้ไข้ละอองพระบาท เป็นต้น