เอกสารโบราณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,380 รายการ (154 หน้า)
|
  • RBR003-295 มโหสถ ผูก 6

    ธรรมคดี
    ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

    RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ มโหสถ ผูก ๖ แล ะ๛” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “สมบัดของวัดหนามพุงดอ”, “มะโหสด ผูก ๖” และดินสอ “๕” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวยัง มโหสถชาตกํ ผูกถ้วน ๖ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯ ประดับประดาจบบริบูรณ์ พุทธศักราชล่วงไป ๒ พัน ปลาย ๔ ร้อย ๔ สิบ ๔ ปัจจุบันปีสลู (ฉลู) เอกศก ตกอยู่ในคิมหันต์ฤดู เดือนแปด ขึ้น ๕ ค่ำ วันเสาร์ เวลาบ่ายลงได้ดอกสักครึ่งโมง ๑ แล ๚ หมู่ศรัทธาเพิ่นพากันห่ายหอมเอาบาทใจกันได้แล้ว เพิ่นไปซื้อเอา ๚ ลานมาสร้างสิบชาติ ข้าเป็นผู้เขียน ข้าได้ชะใด ขอหื้อได้เหมือนกันนั้นเทอะ ๚ ส ๚ รัสสภิกขุน้อย บ้านให้เขียน เค้าม่วงเขียนแล (รัสสภิกขุน้อย บ้านเค้าม่วงให้เขียน) ข้าขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นที่แล้วแก่ข้าแด่เทอะ ข้าขอกุศลนาบุญไปรอดไปเถิงปิตตามาดา ปู่ย่า ตายาย ครูบาอาจารย์ข้าจิ่มเทอะ ข้าเขียนบ่ดีสักน้อยบ่เป็นถ้อยอยู่ (ควรเป็น พอเป็นถ้อยอยู่) ใบลาน ที่ผิดก็ผิด ที่ถูกก็ถูก ผิดที่ใดใส่หื้อจิ่มเทอะ ๚ ข้าบ่ใคร่หูหลาย ๆ (รู้หลาย ๆ) แล ทุอาวองค์ใดเล่าดูดีดี”

  • RBR003-296 มโหสถ ผูก 7

    ธรรมคดี
    ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

    RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ข้าเขียนปางเมื่ออยู่วัดหนองบักดอ รัสสภิกขุธรรมสุวรรณ ผิดที่ใด ใส่หื้อข้าจิ่มเทอะ ๚ หน้าทับเค้า มโหสถ ผูก ๗ แล ท่านผู้ใดเสาะหา พิจารณาดูเอาเทอะ”, “๚ หนังสือ มโหสถ ผูก ๗ มีสิบผูกกับกันแลนายเหย ฯฯะ” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “สมบัดของวัดหนามพุงดอ”, “มะโหสด ผูก ๖” และเขียนเลขโหรา อักษรธรรมล้านนา ด้วยดินสอ “๗” ท้ายลาน ระบุ “เทสนามโหสถชาตกํ มโหสถชาตก ผูกถ้วน ๗ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๏ ฯ เสด็จแล้ววัน ๑ ขึ้น ๑๑ ค่ำ วัน ๑ บ่าย ๕ ชั้นขวางแล ปีชวดแล ฯ ข้อขอหื้อมีสติปัญญาเหมือน ๑ เจ้ามโหสถ หื้อข้ามีคำอดเหมือน ๑ เจ้าเตเมย์ (เตมีย์) ขอหื้อข้าเทศนาธรรมเหมือนเจ้าวิธูร ช่างรับเอาบุญเหมือนนางผุสดี หื้อข้ามีฤทธีเหมือนพระยากัปปินราช หื้อข้ามีอำนาจเหมือนพระยาอินทร์ พระยาพรหมแล ขอหื้อผู้เจ้าใบลานเพิ่นจิ่ม ขอหื้อผู้เพิ่นคึดสร้างก่อนนั้นจิ่ม หื้อผู้เอามาเขียนนี้จิ่มข้านี้จิ่มเทอะ เจ้ามโหสถเหย ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ ผิดพร่อง ถูกพร่อง” หน้าปลาย ระบุ “หน้าทับเค้า มโหสถ มีอยู่ ๑๐ ผูกกับกันแล รัสสภิกขุจันทสุวรรณ อยู่บ้านใหม่เขียน ๓ ผูกกับกันแล ะ”

  • RBR003-297 มโหสถ ผูก 8

    ธรรมคดี
    ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

    RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “หน้าทับเค้า มโหสถ ผูก ๘ มี ๑๐ ผูกกับกันแลนายเหย” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มโหสด ผูก ๘” ท้ายลาน ระบุ “๚ มโหสถชาตกํ นิฏฺฐิตํ กริยาอันกล่าวยัง มโหสถ ผูกถ้วน ๘ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๏ รัสสภิกขุทอง เขียนปางเมื่ออยู่วัดหนองบัว เสด็จแล้ว ปีชวด เดือน ๑๑ แรม ๖ ค่ำ พร่ำว่าเป็นวันจันทร์แลนายเหย ๛ แล้วยามตะวันบ่าย หน้อย ๑ แล ตัวบ่ดีสักหน้อย พอเป็นถ้อยอยู่ใบลาน เจ้า [ตน/องค์] ใดได้อ่านได้เล่าก็ดี ที่ไหนบ่คับบ่คาย บ่ถูกบ่ถิ้มนั้นก็ว่าเอาเทอะ สาธุเจ้าคันธิยะได้ โปฏกํ ยังใบลาน ข้าขอกุศลนาบุญไปรอดไปถึงบิดามารดาเทอะ กับครูบาอาจารย์ ญาติพี่น้องข้า ชู่ผู้ชู่คนเทอะ กับเจ้าใบลานพื้น (เพิ่น-เพื่อน) คู่คนเทอะ ตัวข้าผู้เขียนจิ่ม ธุวํ ธุวํ จบแล้วแล นายเหย ะ”

  • RBR003-298 มโหสถ ผูก 9

    ธรรมคดี
    ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

    RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๑๐ ผูก” หน้าต้น ระบุ “ มโหสถ ผูก ๙ แล :๛” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มโหสด ผู ๙” ท้ายลาน ระบุ “มโหสถชาตกํ นิฏฺฐิตํ กริยาอันกล่าวยังมโหสถชาตก ผูกถ้วน ๙ อันเข้ามาในชาติถ้วน ๕ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛”

  • RBR003-299 มโหสถ ผูก 10

    ธรรมคดี
    ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

    RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ ๑๕ มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๑๐ ผูก” บันทึก หน้าต้น ระบุ “ มโหสถ ผูกปลายแล :๛ถ้วนสิบแล :๛” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มะโหสด ผูกที่ ๑๐” และเขียนอักษรธรรมล้านนา และตัวเลขไทย ด้วยดินสอ “ปาฺย ๑๐” ท้ายลาน ระบุ “มโหสถชาตกํ ปญฺจมํ นิฏฺฐิตํ ธมฺมเทสนา กริยาอันกล่าวแก้ไขยังมโหสถชาตก อันกดเข้ามาในชาติถ้วน ๕ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๏ ฯ เสด็จแล้ว ปีชวด เดือน ๑๑ แรม ๑๐ ค่ำ วันพระหัส เมื่อตาวันบ่ายลงแล ข้าเขียนหัดใหม่ บ่เคย อย่าไปด่าข้าเนอ ข้อขอโมทนากับจิ่มส่วนบุญ ข้าขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานแล้ว”

  • RBR003-302 ปัญหาราชสูตร

    ธรรมคดี
    ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , ปัญหาสูตร

    หน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ปัญหาสูตร” / ด้านหลัง หน้าต้น ระบุ “รัสสภิกขุหน้อยหน้าพราน (หนานพา?) อยู่บ้านหนองบัวเขียนแล้ว ๛” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวยังธรรมอันชื่อว่า ปัญหาราชสูตร ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๛” หน้าปลาย ระบุ “หน้าปลาย ปัญหาราชสูตรแล ıı นายเหย คำเดียวมับมับแล ıı รัสสภิกขุอ้าย บ้านหนองบัว สร้างไว้ด้วยมือตนแล นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม แก่ข้าแด่เทอะ ๛”

  • RBR003-303 ชราสูตร

    ธรรมคดี
    ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , ชราสูตร

    หน้าต้น ระบุ “๚ หนังสือชราสูตร มีผูกเดียวแล วัดดอนแจง” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ชลาสุท” ท้ายลาน ระบุ “ชราสุตฺตํ นิฏฺฐิตํ กริยาอันสังวรรณยังธรรมเทศนา ชื่อว่า ชราสูตร ก็[สม]เร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ıı๛ รัสสภิกขุเลื่อน ปางเมื่อบวชอยู่วัดดอนแจง อยากได้บุญเต็มที ขอหื้อได้มีประญาปัญญาแก่ข้าะ ”

  • RBR003-304 ชราสูตร

    ธรรมคดี
    ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , ชราสูตร

    หน้าต้น ระบุ “หน้าทับเค้า ชราสูตร แลท่านเหย” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ชราสูต” / “ชราสูตร” ท้ายลาน ระบุ “ชราสุตฺตํ นิฏฺฐิตํ กริยาอันสังวรรณนายังธรรมเทศนา ชื่อ ชราสูตร ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ ๛ จบ ณ วันศุกร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๕ ค่ำ วัน ๖ ยามเมื่อค่ำชาวบ้านเลี้ยงงัวในวัด ปีชวดแล ข้าขอส่วนบุญจิ่ม ข้าเกิดมาชาติใดแสนใด ขอหื้อได้เถิงนิพพาน ขออย่าหื้อนานนัก”

  • RBR003-305 ขันธนาม ผูก 1

    ธรรมคดี
    ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , คัทธนาม , ชาดก , ขันธนาม

    หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้าทับเค้า ขันธนาม ผูกต้นนิมนต์ทุพี่ทุอาวองค์ใดได้เล่าได้เรียน ค่อยพิจารณาดูเทอะ แล้วขออภัยโทษทุกองค์ นิมนต์ช่วยถนี่ถนอมชักสายสยองอย่างหนึ่งช่วยเก็บไว้จิ่ม ผมได้หันมานักแล้ว ผู้ดีก็ดีเหลือล้น ผู้ชั่วก็ขี้บ่ปานแลนา ” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ขันธนู ผูก ๑” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวห้องขันธนาม ผูกต้น ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ฯะ เสด็จแล้วยามตาวันบ่าย ๓ โมงกว่า ฯะ ปีมะเมีย เดือน ๘ แรม ๘ ค่ำ พร่ำว่าได้วันอาทิตย์แลนา ยังมีศรัทธาโยมหลวงอิ่มเป็นเจ้าใบลาน ฯ ยังมีศรัทธารัสสภิกขุปุย วัดนาหนอง ไปนำเอามายังหนังสือลาวมาแต่กวงลาด มาคัดออกไว้ยังเป็นลาวกึ่งยวนกึ่งบ่สู้ชัดเจนแท้ดีหลาย ฯ แล ยังมีศรัทธารัสสภิกขุทำ บ้านหัวนาไปนำเอามาจากวัดท่งหญ้าคมบาง เพราะว่ามาจำพรรษาอยู่กับทุอาวบุตรวัดบ้านโค้งดอย เพราะว่าได้สอบซ่อมกับเพิ่น ข้าก็บ่แตกฉาน ฯ แท้ ปัญญาก็หน้อยแลนา คันว่า ตกบ่ใคร่เพราะ แล้วช่วยเพิ่มเติมหื้อจิ่มเนอ ๚ ข้ามีศรัทธาสร้างจิ่ม เขียนจิ่ม พร้อมไปด้วยญาติโยมพี่น้องชู่ผู้ชู่ตน ขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอดเขาะขอดเสี้ยงทุกอันเทอญ ฯะ ศาสนาล่วงไปได้ ๒ พัน ๔ ร้อย ๖ สิบ ๒ พระวัสสา” (ตัวเอียง จารไว้ขอบด้านขวาของหน้าลาน) หน้าปลาย เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “ผูกต้น ผูกต้น มี ๗ ผูก”