เอกสารโบราณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,380 รายการ (154 หน้า)
|

NPT009-002 พระสุนันทราช

ธรรมคดี
วัดท่าข้าม , นครปฐม , สามพราน , เอกสารโบราณ , ธรรมคดี

มีบันทึกไว้ว่า “พระซัวสร้างไว้ในพระศาสนาขอเป็นพระปัจจัยแก่พะรนิพพานในศาสนาพระศรีอารย์ อันจะมาตรัสในเบื้อหน้าโ้น้นเถิด นิพพานปัจโยโหตุ”

RBR003-117 อานิสงส์ผ้าป่า

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , อานิสงส์ , ผ้าป่า

หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “อานิสงส์กฐิน” หน้าทับปลาย ระบุ “สตฺถา อันว่า ว่าพระพุทธเจ้ายกยอยังอานิสงส์แห่งบุคคลทั้งหลายอันได้หื้อผ้าบังสุกุลเป็นทาน นิฏฺฐิตํ ขียาอันกล่าวห้องอานิสงส์ผ้าป่าก็แล้วเท่านี้ก่อนแล เสด็จห้องวันอัน ๑ เดือน ฯ หน้าทับเค้าอานิสงส์ผ้าป่าแลนายเหย ๚ บ่เคยสักคำเทื่อ อย่าไปเล่าขวัญข้าเนอ ๚ เพราะหามาเขียนนี้ เทื่อเดี่ยวนี้แล้วนายเหย ก็แล้วเป็นห้องเท่านี้ก่อนแล”

NPT001-021 ตำราโหราศาสตร์

ตำราโหราศาสตร์
วัดท่าพูด , นครปฐม , โหราศาสตร์

สมุดไทยฉบับนี้ กล่าวถึงตำราโหราศาสตร์ 3 ฉบับด้วยกัน คือ ตำราห่วง ตำราเทวดาให้ฤกษ์ และตำรายามอัฐกาล โดยจะกล่าวถึงวันและฤกษ์ยามในการทำการมงคล ทั้งการปลูกเรือน การสู่ขอภรรยา การเจรจาคดีความต่างๆ การไปหาสู่ผู้ใหญ่ เป็นต้น

NPT006-005 ตำรายา

ตำราเวชศาสตร์
วัดบางช้างเหนือ , ตำราเวชศาสตร์ , สันนิบาต , สัมประชวน , ปฐมจินดา , ประถมจินดา , การคลอดบุตร

ตอนต้นเป็นตำรายาแก้ไข้สันนิบาต และไข้สัมประชวนต่างๆ มีเรื่อง ธาตุกำเริบ ตำราเลือดท้น ต่อมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการคลอดบุตร ยาลูกตายในท้อง ยาแก้ประสูติลูก แก้อยู่ไฟไม่ได้ ยาแก้ออกลูกเลือดมิตก แก้เลือดตีขึ้น เป็นต้น ตอนท้ายเป็นคติความเชื่อเรื่องผู้หญิงมีครรภ์แต่ละเดือน การเสกแป้งเพื่อใช้คลึงครรภ์ การปั้นหุ่นรูปคนไปไว้ตามทิศต่างๆ

RBR003-054 ตำรายา พยากรณ์

ตำราโหราศาสตร์ , ตำราเวชศาสตร์
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , ตำรายา , พยากรณ์ , สู่ขวัญ , โหราศาสตร์

สมุดไทยบันทึกตำรายาสมุนไพรแผนโบราณ และการพยากรณ์ ตำราโหราศาสตร์ และคำสู่ขวัญต่าง ๆ

NPT002-001 พระมาลัย

ธรรมคดี
วัดดอนขนาก , พระมาลัย , กลอนสวด , พระอินทร์ , พระศรีอาริยเมตไตร , สวรรค์ , นรก , วรรณคดี

การเดินทางของพระมาลัย เพื่อไปโปรดสัตว์ในนรก และเทวดาบนสวรรค์ ซึ่งได้พบกับพระอินทร์ และเทวดาผู้ที่จะจุติลงมาเป็นพระศรีอาริยเมตไตรในอนาคต

RBR003-116 หมูเถื่อน

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , ธรรมคดี , ชาดก , หมู

บันทึก หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “หมูเถื่อน” ลานแรกด้านซ้ายมือ “หมูเถือง(ควรเป็น หมูเถื่อน?)ผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “มหาตุณฺฑิลชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันพรรณนาสักเสริญยังชาติปางเมื่อพระพุทธเจ้าเกิดเป็นหมูเถิง(หมูเถื่อน?) ชื่อว่า มหาตุณฑิละ ชาตกอันนี้อันถ้วน ๓ มีในศก ๕๐๐ ชาติ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ||๛||| เสด็จแล วันจันทร์ก่อนเพล เดือนยี่ ขึ้น ๑๔ พร่ำว่าได้ วันจันทร์แลนายเหย ||๛๛ หน้าทับเค้าหมูเถิง(หมูเถื่อน?) ผูกเดียวแลนายเหย ข้าขอสุข ๓ ประการมีนิพพานเป็นยอดแก่ข้าแด่เทอะ แล้วข้าขอกุสลานาบุญอันนี้ไปรอดไปเถิงบิดามารดาข้า พ่อแม่พี่น้อง XXX ครูบาอาจารย์แก่แด่เทอะ รัสสภิกขุขาว กะลังหัดเขียนใหม่ บ่ดี ทุพี่พระพี่ได้เล่าได้เรียน อย่าไปด่าหีแม่ข้าเทอะ อยากใคร่ได้บุญเต็มที สร้างธรรมผูกนี้ไว้ค้ำชูศาสนาพระโคตมเจ้าตราบต่อเท่าเข้าสู่พระ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุเม นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ เป็นยอดแก่ข้าแด่เทอะ” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ

หน้าต้น เล่ม 2

NPT001-007 ณรงคจิตรชาดก

วรรณคดี
วัดท่าพูด , ชาดก , นอกนิบาต , นิทานพื้นบ้าน , กลอนสวด , ณรงคจิตร , ณรงกา , ศรีสุดา , เสละทัต , ท้าวมัทราช , บุษบง , บุษมาลี , สุวินชา , ตรีดาพงษ์

ณรงคจิตรชาดก เป็นกลอนสวดที่ไม่พบที่มาของเรื่อง เข้าใจว่าเป็นเรื่องที่แต่งเลียนแบบชาดก โดยผู้แต่งเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเป็นเรื่องชาดก คือใช้ชื่อเรื่องเป็นชาดกและเนื้อเรื่องก็กล่าวถึงผลของบุรพกรรมซึ่งเป็นต้นเหตุของเหตุการณ์ในชาติปัจจุบัน ตัวละครเอกจะใช้คำว่า “หน่อศาสนา” และ “โพธิสัตว์” และตอนท้ายมีประชุมชาดก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะผู้แต่งต้องการให้เห็นว่าเรื่องที่ตัวเองแต่งมีความสำคัญ น่าเชื่อถือ และได้อานิสงส์อีกด้วย ณรงคจิตรชาดกในต้นฉบับเอกสารสมุดไทยดำฉบับวัดท่าพูดนี้ มีเนื้อเรื่องบางตอนสลับที่กัน โดยเปรียบเทียบกับเนื้อเรื่องในภาคผนวกของณรงคจิตรชาดกฉบับที่ทำเป็นวิทยานิพนธ์แล้ว และสันนิษฐานว่าเกิดจากการคัดลอกที่คลาดเคลื่อนไป เพื่อความสะดวกในการอ่านและความสมบูรณ์ของเนื้อหา ผู้เรียบเรียงจึงขอสลับเนื้อเรื่องบางตอนให้ตรงกับฉบับที่นำมาสอบทาน และขอแก้ไข เพิ่มเติมคำหรือความที่คาดว่าน่าจะเขียนตกหล่นไปโดยจะใส่คำหรือความเหล่านั้นไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ

NPT007-009 คัมภีร์ยาเกร็ดแผนโบราณ

ตำราเวชศาสตร์
บ้านหมอเห , สมุนไพร , ตำรายาเกร็ด , หมอคล้าย , จันทบุรี , หลวงพ่อวัดไร่ขิง , พระธรรมปิฎก , วัดเชตุพน

สมุดไทยขาวเล่มนี้ ระบุชื่อภายในเล่มว่า “คัมภีร์ยาเกร็ดแผนโบราณ” คัดลอกโดย หมอเห สายโกสินทร์ แพทย์แผนโบราณ ชั้น 2 โดยมีความประสงค์ที่จะรวบรวมตำรับตำรายาแผนโบราณของครูบาอาจารย์ต่างๆ มาเขียนไว้ในที่เดียวกัน เพื่อความสะดวกในการใช้งานของหมอเหเอง