เอกสารโบราณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,380 รายการ (154 หน้า)
|

SAC001-028 มโหสถ นิสสยะ

ธรรมคดี
อักษรพม่า , ภาษาบาลี , ใบลาน , เอกสารโบราณ , อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

มโหสถชาดก พระชาติที่ 5 ใน ทศชาติชาดก ว่าด้วย พระมโหสถบัณฑิตทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี ซึ่งแปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ ฉบับลงรักปิดทองล่องชาด ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 30

SAC001-031 สุตตันตะ 6 เล่มรวม

ธรรมคดี
อักษรพม่า , ภาษาบาลี , ใบลาน , เอกสารโบราณ , อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น 5 นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ) คือ 1. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว 34 สูตร 2. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง 152 สูตร 3. สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มๆ เรียกว่าสังยุตต์หนึ่งๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรวม 56 สังยุตต์ มี 7,762 สูตร 4. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่านิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม 11 นิบาต หรือ 11 หมวดธรรม มี 9,557 สูตร 5. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตร คาถาภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้มี 15 คัมภีร์ ศักราช จ.ศ. 1233 (พ.ศ. 2414) เดือน 12 แรม 10 ค่ำ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ(ไม้ประกับแตก 1 อัน) ฉบับปิดทองล่องชาด ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 33 บันทึกอื่น ๆ ตัวอักษรลงหมึกจางมาก

SAC001-033-003 วิสุทธิมัคค์ นิสสยะ เล่ม 3

ธรรมคดี
อักษรพม่า , ภาษาบาลี , ใบลาน , เอกสารโบราณ , อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

วิสุทธิมรรค ปกรณ์พิเศษอธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนววิสุทธิ 7 พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ชาวอินเดียเป็นผู้แต่งที่มหาวิหารในเกาะลังกา; - พระพุทธโฆษาจารย์ผู้นี้เป็นบุตรพราหมณ์ เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในแคว้นมคธ เมื่อประมาณ พ.ศ. 956 เรียนจบไตรเพทมีความเชี่ยวชาญมาก - ต่อมาพบกับพระเรวตเถระ ได้โต้ตอบปัญหากัน สู้พระเรวตเถระไม่ได้ จึงขอบวชเพื่อเรียนพุทธวจนะ มีความสามารถมาก ได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น พระเรวตเถระจึงแนะนำให้ไปเกาะลังกา เพื่อแปลอรรถกถาสิงหฬ กลับเป็นภาษามคธ ท่านเดินทางไปที่มหาวิหาร เกาะลังกา เมื่อขออนุญาตแปลคัมภีร์ ถูกพระเถระแห่งมหาวิหารให้คาถามา 2 บท เพื่อแต่งทดสอบความรู้ - พระพุทธโฆษาจารย์จึงแต่งคำอธิบายคาถาทั้งสองนั้นขึ้นเป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค จากนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ทำงาน แปลอรรถกถาได้ตามประสงค์ เมื่อทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ท่านก็เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป - พระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผลงานมากที่สุด ซึ่งแปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า เล่ม 3 (ฑ – ทาะ) ศักราช จ.ศ.1135 (พ.ศ. 2316) เดือน 3 แรม 1 ค่ำ วันพฤหัสบดี สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ, ฉบับปิดทองล่องชาด ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 35 บันทึกอื่น ๆ ฉลากเดิมระบุ “ใบลานเปล่าจำนวน 15 ใบ รวมทั้งหมด 219 ใบ”

SAC001-033-004 วิสุทธิมัคค์ นิสสยะ เล่ม 4

ธรรมคดี
อักษรพม่า , ภาษาบาลี , ใบลาน , เอกสารโบราณ , อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

วิสุทธิมรรค ปกรณ์พิเศษอธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนววิสุทธิ 7 พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ชาวอินเดียเป็นผู้แต่งที่มหาวิหารในเกาะลังกา; - พระพุทธโฆษาจารย์ผู้นี้เป็นบุตรพราหมณ์ เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในแคว้นมคธ เมื่อประมาณ พ.ศ. 956 เรียนจบไตรเพทมีความเชี่ยวชาญมาก - ต่อมาพบกับพระเรวตเถระ ได้โต้ตอบปัญหากัน สู้พระเรวตเถระไม่ได้ จึงขอบวชเพื่อเรียนพุทธวจนะ มีความสามารถมาก ได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น พระเรวตเถระจึงแนะนำให้ไปเกาะลังกา เพื่อแปลอรรถกถาสิงหฬ กลับเป็นภาษามคธ ท่านเดินทางไปที่มหาวิหาร เกาะลังกา เมื่อขออนุญาตแปลคัมภีร์ ถูกพระเถระแห่งมหาวิหารให้คาถามา 2 บท เพื่อแต่งทดสอบความรู้ - พระพุทธโฆษาจารย์จึงแต่งคำอธิบายคาถาทั้งสองนั้นขึ้นเป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค จากนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ทำงาน แปลอรรถกถาได้ตามประสงค์ เมื่อทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ท่านก็เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป - พระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผลงานมากที่สุด ซึ่งแปลยกศัพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า เล่ม 4 (ธ – มาะ) ศักราช จ.ศ.1135 (พ.ศ. 2316) เดือน 3 แรม 1 ค่ำ วันพฤหัสบดี สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ, ฉบับปิดทองล่องชาด ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 35 บันทึกอื่น ๆ ฉลากเดิมระบุ “ใบลานเปล่าจำนวน 15 ใบ รวมทั้งหมด 219 ใบ”

SAC001-032 ชาดกรวม บาลี

ธรรมคดี
อักษรพม่า , ภาษาบาลี , ใบลาน , เอกสารโบราณ , อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

รวมเรื่องชาดก ศักราช จ.ศ. 1139 (พ.ศ. 2320) เดือน 8 ที่ 2 แรม 8 ค่ำ วันอาทิตย์ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ, ฉบับปิดทองล่องชาด ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 34 บันทึกอื่น ๆ - 

SAC001-034 วิภังคะ ปาฬิ นิสสยะ

ธรรมคดี
อักษรพม่า , ภาษาบาลี , ใบลาน , เอกสารโบราณ , อนาโตล , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล 227 ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ซึ่งเแปลยกศํพท์ภาษาบาลีเป็นภาษาพม่า ศักราช จ.ศ. 1225 (พ.ศ. 2406) เดือน 12 แรม 14 ค่ำ วันอาทิตย์ สภาพของเอกสาร มีไม้ประกับ, ฉบับปิดทองล่องชาด มีลวดลายบนไม้ประกับอันเดียว ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้ รหัสเอกสารเดิม อักษรพม่า 36 บันทึกอื่น ๆ เอกสารไม่เคยใช้งานตั้งแต่ทำเสร็จ ลานติดกัน ต้องแกะลานออกจากกัน