หน้าสุดท้าย เขียนด้วยลายมือปัจจุบัน ความว่า “ตำรานี้เป็นตำราเก่าของปู่ย่าตายายของตระกูล...(ตัวอักษรถูกขีดทับ) เท่า ซึ่งประจำอยู่วัดเทียนดัด อ.สามพราน จ.นครปฐม ซึ่งทางวัดได้รวบรวมไว้จากกุฏิเก่าแก่ในวัดเทียนดัด 18 กรกฎาคม 2511”
สุภาษิตสอนสตรีนี้เดิมเรียกกันว่า “สุภาษิตสอนหญิง” หรือ “สุภาษิตไทย” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่า “สุนทรภู่เห็นจะแต่งเมื่อราวระหว่างปี พ.ศ. 2340-2383 ในเวลา เมื่อกลับสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ แล้วต้องตกยากจนถึงลอยเรืออยู่ พิเคราะห์ตามสำนวนดูเหมือนหนังสือเรื่องนี้สุนทรภู่แต่งขายเป็นสุภาษิตสอนสตรีสามัญทั่วไป ความไม่บ่งว่าแต่งให้ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ต้นฉบับเดิมที่หอพระสมุดฯ ได้มาเรียกว่า สุภาษิตไทย เป็นคำสมมติผู้อื่น ดูเหมือนผู้สมมติจะไม่รู้ว่าเป็นกลอนของสุนทรภู่ด้วยซ้ำไป ถ้อยคำในต้นฉบับก็วิปลาสคลาดเคลื่อน ต้องซ่อมแซมในหอพระสมุดฯ หลายแห่ง แต่นับว่าแต่งดีน่าอ่าน” (กรมศิลปากร, ประชุมสุภาษิตสอนหญิง, เอดัน เพรส โพรดักส์ จำกัด, 2555, 159.)
สมุดไทยขาว บันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย ภาพวาดรูปคนลงสีสวยงาม แต่สภาพเอกสารไม่ครบฉบับ หน้าต้นและหน้าปลายบางส่วนขาดหายไป และมีรอยขาดแหว่งชำรุดเล็กน้อย เนื้อหาเกี่ยวกับพรหมชาติ การทำนายดวงชะตาวันเดือนปีเกิดทั้งผู้ชายผู้หญิงที่เกิดในวันเดือนปีดังกล่าว
เอกสารโบราณเป็นคัมภีร์ใบลานขนาดสั้นเกี่ยวกับตำราเวชศาสตร์ ขึ้นต้นด้วยคาถาบาลี อักษรขอมไทย ภาษาบาลี จากนั้นกล่าวถึงโรคต่าง ๆ 32 ประการ อาการและสมุนไพร มีแทรกข้อความว่า “ตำรายาหุงเลกเปนทองเปนเงินเปนเลกยูคางนากรอบเลกอันไดยเปนเลก ๒ อันนันเปนเลกยาวิเสดนักแล ฯ“
สมุดไทยขาว สภาพไม่สมบูรณ์นัก มีร่องรอยแมลงกัดแทะ แต่เนื้อหาบางส่วนยังอ่านได้ เนื้อหาอยู่ในหมวดไสยศาสตร์ มีภาพยันต์และคาถาต่างๆ เช่น ยันต์พระวินัย คาถาเสกยันต์ ยันต์ถอนรูป ยันต์พระเจ้า 5 พระองค์ ยันต์ลงผ้าประเจียด ยันต์พระกาฬ ปั้นเทียน และโองการมหาเถรตำแย เป็นต้น
วรรณคดีไม่ทราบชื่อเรื่อง ไม่ครบฉบับ แต่ลายมือที่เขียนค่อนข้างสวย
หอสมุดแห่งชาติให้ทะเบียนเลขที่ 1101/1ค
สมุดไทยขาวเรื่อง ตำรายา รักษาอาการต่าง ๆ เช่น ยาแก้ท้องขึ้น ยาแก้ขี้มิออก ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้ตานซาง ยาขี้เหม็นเน่า ยาแก้ไส้เดือร ยาแก้ทอ้งขึ้น ยาปางเด็ก ยาแดง ยาเสมอหนักทอง ยาแก้เชื่อม ยาอมรฤกทารา ยาแก้พิษฝีดาด ยาประซาง เป็นต้น