เอกสารโบราณ

ตัวอักษร : ธรรมล้านนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 353 รายการ (40 หน้า)

RBR003-169 สุทน ผูก 2

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , สุทน , สุโทน , สุดโทน , สุตน , สุดโตน , สุทธนะชาดก , สุธนะชาดก

มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๓๑ สุทน อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ-ล่องชาด มี ๗ ผูก” (ในมัดพบเพียง 3 ผูก) หน้าทับต้น ระบุ “หน้าหน้าหน้าทับเค้าเค้าหนังสือเจ้าสุทนแลนายเหย ข้าเขียนบ่ดีสักน้อย ลางตัวก็ใหญ่ ลางตัวก็น้อยแลนายเหย / หน้าทับเค้าหนังสือสุทน / เอวนฺจตปูนฺตาพฺราฺมมณํ หน้าทับเค้าหนังสือเจ้าสุทน”, เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “สุตน ผูก ๒” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “สืทน ผูกถ้วน ๒”, ท้ายลาน ระบุ “สุทนชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาจายังสุทนชาดก นิฏฺฐิตํ ก็เสด็จบอระบวลควรเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛ : สืทน ผูก ๒ ⸬ จบแล้ว ⸬ ตัวบ่ดีบ่งามแล้วเจ้าคุณเฮย อิสังนิบวชแต่น้อย มือบ่อวน(อ่อน?)บ่ได้บายนมสาวหัวตาเฮย” / “สุทนตามมโนราแล สุทนตามมโนราแล” หน้าทับปลาย ระบุ “หน้าทับเค้าหนังสือสุโทน” และจารอักษรไทย “สุทนตามนาง ๏ สุโทนตามนางมโนราแลฯ ผูก ๒” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ

RBR003-170 สุทน ผูกปลาย(ผูก 3)

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , สุทน , สุโทน , สุดโทน , สุตน , สุดโตน , สุทธนะชาดก , สุธนะชาดก

มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๓๑ สุทน อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ-ล่องชาด มี ๗ ผูก” (ในมัดพบเพียง 3 ผูก หน้าทับ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “สุตนผูกปลาย” หน้าก่อนลานแรก ระบุ “นายแป๊ะเขียน” (ตัวอักษรเอียง จารด้วยอักษรไทย) / ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “สุดโทนผูกปลาย” ท้ายลาย ระบุ “สุทฺธนชาตกํ นิฏฺฐิตํ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛ / สุดโทน ผูกปลาย / ศรัทธาแก้วหนานติ (เขียน ตฺถิ) นางอน (อ้น?) มีใบลานมาหื้อกูหนา[น]ธรรม ขอหื้อใบหุ้มห่อเถิงเมืองฟ้าแลนิพพาน ขอสุข ๓ ผะการ หื้อได้เถิงนิพพาน กูหนา[น]ธรรมเขียนค้ำชูศาสนาพระโคตมเจ้าขอหื้อมีผญาปัญญา ธูธู แก่ข้าแด่เทอะ” “นายแป๊ะเขียนพรมพาณ์เรียนที ๑ แล้ว ปลางเมื่ออยู่วัด ๕ พันสา” (จารด้วยอักษรไทย) มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน

RBR003-171 ปทุมกุมาร ผูกต้น

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , ปทุมกุมาร

RBR_003_171-175 มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ 37 ปทุมกุมาร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ มี 4 ผูก” RBR_003_171-174 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “๏ หน้าทับเค้า ปทุมกุมาร ผูกต้นแลนาย ห ฯฯ” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ประทุมกุมาร ผูกที่ ๑” ลานเปล่าทับหน้า เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “วัน ๑๒ ๔ ค่ำ เทศ วัน ๑๓ ๔ ค่ำ สวดมนต์ วัน ๑๔ ค่ำ นั่งหัตถบาส มาในเมรุ วัน ๑๕ ๔ ค่ำ สวดพระธรรม ๔ รูป ” (ตัวอักษรเอียง เขียนด้วยอักษรไทย) ท้ายลาน ระบุ “ปทุมกุมารํ นิฏฺฐิตํ || กิริยาอันกล่าวยัง ปทุมกุมาร ผูกต้น ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล” ลานเปล่าทับหลัง เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “หนังสือนี้ของนายวุ่น หนังสือนี้ของนายวุ่น” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ

RBR003-173 ปทุมกุมาร ผูก 3

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , ปทุมกุมาร

RBR_003_171-175 มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ 37 ปทุมกุมาร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ มี 4 ผูก” RBR_003_171-174 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “๏ หน้าทับเค้า ปทุมกุมาร ผูก ๓ แลนายเหย ฯฯ๛” เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “นิมนต์นั่งหัตถบาส องค์ที่บ้านบํอ_นิมนต์ให้ธรรมเป็นทานด้วย วัน ๑๔ ๓ [ค่ำ]” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ประทุมกุมาร ผูก ๓” หน้าทับต้นด้าน ๒ เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “หนังสือของนางมาก” ท้ายลานระบุ “ปทุมกุมาร ผูกถ้วน ๓ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน

RBR003-176 ปทุมบัวหอม ผูกต้น

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , ปทุมบัวหอม

RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1 – 6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” RBR_003_176-178 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๕๑ (ผูกต้นแล) โคนะบุตรชาดก” ในวงเล็บเขียนอักษรธรรมล้านนา / ลานแรกด้านขวามือ ระบุ “ปทุมมาบัวหอมผูกต้น” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนาแก้ไขยังปทุมมชาดกยกแต่เค้าเถิงปลายเป็นนิยายอันมาก มาเถิงกัณฑ์ผูกต้น จาบ่แล้วตนแก้วก็เทศนาไปภายหน้าบ่หื้อขาดนักปราชญ์เจ้าหากวิสัชนายังปทุมผูกต้น ก็สมเร็จเส็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ ปทุมบัวหอมผูกต้นแล เสด็จแล้ว ตะวันบ่ายน้อย ๑ แล ปีขาล เดือน ๙ แรม ๒ ค่ำ พร่ำว่าได้วันจันทร์ แก่ข้าน้อยแลเจ้าเหย ข้าเขียนย่ดีบ่งาม ใหม่แล เจ้าตนใดได้เล่าได้เรียน ขออย่าไปด่าพาพ่อพาแม่ข้าแด่เทอะ ตกก็ตก ผิดก็ผิดแล ลางตัวก้ใหญ่ลางตัวก็หน้อย บ่เสมอ ข้าขอสุข ๓ ผะการ มีนิพานเป็นยอดแก่ข้าแด่เทอะ รัสสภิกขุสีเขียน บ่ดีใหม่แลเจ้าเหย เพราะว่าใคร่ได้บุญเต็มที ธุวํ ธุวํ แก่ข้าเทอะ” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “เขียนเมื่อวันจันทร์ที่ ๑ เดิือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๓๓ ปีขาล วัดดอนมะโกและ ตรงกับวันจันทร์แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีขาล” หนัาทับปลาย ระบุ “หน้าท้บเค้าบัวหอมนายเหย มีกับกัน ๕ ผูก เท่าอี้แล” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอ

RBR003-182 ปทุมบัวหอม ผูกต้น

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , ปทุมบัวหอม

RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๑” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินจาง “นายทองอ่านหนังสือราว(ลาว)หัวนี้ยังบ่จบเตื่อบ่ได้อย่าจบเต้” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “หน้าต้นบัวหอม ผูกต้นแล” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนาแก้ไขยังปทุมชาดก ยกแต่เค้าปลายเป็นนิยายอันมากมาเถิงกัณฑ์ผูกต้น จาบ่แล้ว ตนแก้วก็เทศนาไปภายหน้าบ่หื้อขาด นักปราชญ์เจ้าหากวิสัชนา ปทุม ผูกต้น ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล || เสด็จแล้ววันอาทิตย์ ยามค่ำ เดือน ๖ ออก ๖ ค่ำ ปีวอก รัสสภิกขุจันทไช เขียนหาทางงามบ่ได้ เหมือนปูยาดคันนา อย่าไปไคร่หัวขวัญข้าเทอะ ตกที่ใดนิมนต์ใส่หื้อจิ่ม ข้าขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอด ธุวํ ๆ ป[จฺ]จโย โหตุ เม แก่ข้าน้อยแด่เทอะ อหํ อันว่า ข้า จักปรารถนาเอาแก้วดวงเดียวเป็นที่เพิ่ง รัสสภิกขุเหลียร(เหรียญ)ได้แต้มได้เขียนหนังสือผูกนี้ ขอหื้อกุศลนาบุญอันนี้ไปรอดไปเถิงนางแมะข้าจิ่มเทอะ”

RBR003-184 ปทุมบัวหอม ผูก 4

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , ปทุมบัวหอม

RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอม ผูก ๔ สร้างจุลศักราช ๑๑๘๖ แล ผูกนี้ สร้างในสมัย ร. ๒-๓ เดือน ๑๑ แรม ๙ ค่ำ วันพุธ ปีวอก ในฤดูฝนยามบ่าย พ.ศ. ๒๓๖๗ แล” (คำว่า “แล” ใช้อักษรธรรมล้านนา) ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “ปทุมบัวหอม ผูกถ้วน ๔” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนายังนิยายโคนบุตรชาดก ตั้งแต่ปฐมกัณฑ์ถ้วน ๓ มารอดจอดเถิงกันถ้วน ๔ ก็สมเร็จเสด็จแล้วบัวระมวลเท่านี้ก่อนแล ๛ ※ จุลศักราชได้ ๑๑๘๖ ตัว ในวอกฉนำกัมโพชกรอมพิสัย ไทยภาษาว่าปีสัน เข้ามาในอุตุฤดูฝน เดือน ๑๑ แรม ๙ ค่ำ พร่ำว่าได้วัน ๔ ยามตูดช้าย ก็มีวันนั้นแล || ข้าเรียนเขียนใหม่บ่งามสักหน้อยแล ตกที่ใด ขอหื้อใส่เสียจิ่ม พี่ทุพี่พระเหย ขออย่าด่าข้าพร่องเทอะ ธรรมผูกนี้ชื่อว่า ปทุมบัวหอม ผูกสี่ ※ นิจฺจํ ธุวํ แด่เทอะ โวหารตนข้าชื่อว่า คันธิยะ รัสสภิขุเขียนบ่งาม ใหม่แล” หน้าทับปลาย เขียนดินสอ “หน้าทับเค้าปทุมบัวหอม ผูกถ้วน ๔”

RBR003-185 ปทุมบัวหอม ผูก 4

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , ปทุมบัวหอม

RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๔” ลานแรก ด้านซ้ายมือระบุ “บัวหอมผูก ๔” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนายังนิยายโคนบุตรชาดก ตั้งแต่ปฐมกัณฑ์ถ้วน ๓ มารอดจอดเถิงกัณฑ์ถ้วน ๔ ก็สมเร็จเสด็จ || || บัวระมวลเท่านี้ก่อนแล เสด็จแล้ววัน ๒ ยามงัวตอบตีนบ้าน เดือน ๗ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีมะแม สภศก(นพศก?) ตกเข้ามาใน สันตฤดู เมื่อบ้านเมืองเหี่ยวแห้งเต็มทีแล เจ้าเฮย ยังมีน้าฅำอ้ายกับนางสวย อยู่บ้านป่ารวก ก็อุบายขงขวายหาได้” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยดินสอ “พระฮอมเทศน์เมื่อกลางพรรษาที ๑ ผูกนี้”

RBR003-186 ปทุมบัวหอม ผูก 5

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , ปทุมบัวหอม

RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “ผูก ๕” ลานแรก ด้านซ้ายมือ เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยปากกาเมจิกสีดำ “บัวหอม ผูก ๕”