RBR_003_201-211 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 47 กล่ำกาดำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 11 ผูก” RBR_209-210 เป็นชุดเดียวกัน ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “ก่ำกาดำ ผูกต้นแล” ท้ายลาน ระบุ “พิมฺพา สิมฺพลียํ ปตฺถมํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันสังวรรณนา พิมพาขะนุ่นงิ้วผูกต้น ก็แล้วเท่านี้ก่อนแลแล ฯ ฯ ฯ ๛๛ บริบูรณ์เสด็จแล้ว บ่าย ๒ โมง ปีมะเส็ง เดือนสิบเอ็ด แรมค่ำ ๑ วันเสาร์ ศักราชได้ ๒ พัน ๔ ร้อย ๔ สิบ ๘ วัสสา (ตรงกับวันเสาร์ที่ 14 แรม 1 ค่ำ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2448 ปีมะเส็ง)ฯ บ่งามสักหน้อยแลเจ้าเหย พอเป็นถ้อยอยู่ ใบลานบุคคลผู้ใดได้เล่าได้เทศนาพิจารณาดูหื้อถี่ฯ เทอะตกที่ไหนใส่หื้อจิ่มเทอะ ทุพี่เหย ข้าขอสุข ๓ ประการ นิพพานที่แล้วเทอะ นิจฺจํ ธุวํ แลฯ อย่าไปใคร่หัวขวัญข้อยเนอ ทุพี่ เพราะ ฯ ตั้งใจเอาบุญกับกัน อย่าไปใค่หัวขวัญข้าแท้ใด ขัดบ่ได้ ฯ”
RBR_003_201-211 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 47 กล่ำกาดำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 11 ผูก” RBR_209-2010 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “กำกาดำผูกปาย”, เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “เขียนจบเมื่อบ่าย ๒ โมง ปีมะเสง เดือน ๑๑ ขึ้น ๙ ค่ำ วันเสาร์ ศักราชได้ ๒๔๔๘ พรรษา” หน้ารอง หน้าทับ เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “นายทองบ้านหนองขามเรียนที ๑ แล้ว ๚ เข้าโรงเรียนอยู่ชั้นป ๑” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนา พิมพาขะนุ่นงิ้วชาตก มาเถิง จุตฺตถํ นิฏฺฐิตํ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล๛ บริบูรณ์เสด็จแล้ว บ่าย ๒ โมง ปีมะเส็ง เดือน สิบเอ็ด ขึ้น ๙ ค่ำ พร่ำวันเสาร์ ปางเมื่อ ศักราชได้ ๒ พัน ๔ ร้อย ๔ สิบ ๘ วัสสา (ตรงกับวันเสาร์ที่ 7 ขึ้น 9 ค่ำ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2448 ปีมะเส็ง) ยังมีศรัทธาคุณตัวะหาได้ยังใบลานมาหื้อข้าน้อยผู้ชื่อว่า รัสสภิกขุธรรมสอน เขียนปางเมื่ออยู่วัดบ้านกุด เพื่อจักสร้างไว้ค้ำชูศาสนา ๕ พันวัสสา โคตมเจ้าเตชะ ข้าได้เขียนหื้อปัญญาเหมือนเจ้ามโหสถ ขอหื้อข้าได้เถิงโสดาสกิทาคา อนาคา อรหันตาเจ้า เข้าสู่นิพพานเป็นที่แล้วเทอะ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม นิจฺจํ ธุวํ แด่เทอะ ฯ บ่งามไหน หลายเป็นตาดีอายเพิ่นแท้เด ตัวใหญ่ก็ใหญ่ ตัวน้อยก็น้อย เหมือนแย้น้อยเขี่ยเถ้าหนทาง บ่เคยสักคำเทื่อแลเจ้าเหย อยากได้บุญเต็มที ตกที่ใดใส่หื้อจิ่มเทอะ ทุพี่พระพี่เหย ดูหื้อถี่เทอะ อย่าไปใคร่หัวขวัญข้าเนอ อย่าไปเหอะข้าเนอ ใจข้าบ่ดี สติบ่ตั้ง เป็นตาดีอาย ทุพี่ ตัวะ แท้เด ทุพี่ ตัวะ เหย ไปใคร่หัวขวัญเนอ ๛” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินและดินสอดำ
RBR_003_201-211 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 47 กล่ำกาดำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 11 ผูก” RBR_211-212 อาจเป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “๏ หน้าทับเค้าพิมพาขะนุ่นงิ้วผูกต้นแลนายเหยม่วนอาละ ฯฯ๛” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาสีน้ำเงิน “กล่ำกาดำผูก ๑” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “พิมพานุ่นงิ้วผูกต้นแล หนองบัว” ท้ายลาน ระบุ “พิมฺพาสิมฺพลียํ ปฐม กิริยาอันสังวรรณนายังพิมพาขะนุ่นงิ้วผูกต้น ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ บริบูรณ์เสด็จแล้วปีจอ ยอซกตกอยู่ในระดูเดือนสิบเบ็ด ขึ้น ๕ ค่ำ พร่ำว่าได้วันเสาร์แล นายเหย รัสสภิกขุธอง บ้านใหญ่ปาน เพราะว่าอยากได้กุศลนาบุญเต็มที ขอหื้อได้เหมือนคำนึกคำปรารถนาแด่เทอะ เขียนบ่งามสักน้อย ตัวที่ใหญ่ก็ใหญ่ ที่น้อยก็น้อย ที่ตกก็ตก คันว่าผู้ใดได้เราได้อ่านก็พิจารณาดูหื้อถี่เทอะ เพราะบ่เคยเขียน หัดเขียนใหม่แลนายเหย อย่าไปด่าข้าเนอ เพราะใคร่ได้คำแก้เปรสนาปัญหาเหมือนดังพิมพาขะนุ่นงิ้วบอกปัญหาหื้อเจ้าก่ำกาดำนั้นแลนายเหย ๛ มี ๔ ผูกกับกันแลนายเหย
RBR_003_201-211 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 47 กล่ำกาดำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 11 ผูก” RBR_211-212 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “พิมพานุ่นงิ้วผูก ๓ มี ๔ ผูกกับกันหนังสือวัดหนองบัวแล”, เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “กล่ำกาดำผูก ๓” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “พิมพานุ่นงิ้ว ผูก ๓ ” ท้ายลาน ระบุ “สังวรรณนายังพิมพาขะนุ่นงิ้วผูกถ้วน ๓ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛ มี ๔ ผูกกับกัน
RBR_003_213-215 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๕๖ กล่ำกาดำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด-ลานดิบ” พบเพียง ๓ ผูก หน้าทับต้น ระบุ “กาก ๏ พิมพานุ่นงิ้วผูกต้นแล๛” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ก่ำกาดำผูกที่ ๑” / ด้านหลัง ระบุ “ทุพี่ กขคฅงจสชซยตถทธนปผพภม” หน้ารอง หน้าทับต้น ระบุ “หน้าทับเค้าหนังสือก่ำกาดำแลนายเหย รัสสภิกขุธอง บานไลยหนา ๓ นายท่านทั้งหลาย” / ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “ก่ำกาดำผูกต้นแล” ท้ายลาน ระบุ “พิมฺพาสิมฺพลียํ ปฐมํ นิฏฺฐตํ กิริยาสังวรรณนาพิมพาขะนุ่นงิ้วผูกต้น ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ เขียนพิมพาขะนุ่นงิ้วผูกต้น ๛ แล้ววันเสาร์ ยามใกล้ค่ำแลนายเหย ๛ รัสสภิกขุภิกขุธอง เขียนหนังสือผูกนี้ ขอส่วนบุญไปรอดไปเถิงบิดามารดาข้าจิ่มเทอะ กับตัวข้าจิ่มเทอะ กับครูบาอาจารย์ข้าจิ่มเทอะ ๛ จบ ธุวํ ธุวํ แล แล แล แล แล ฐ ฐ ฐ ฐ ๓ ๓ ๓” และ “ข้าเกิดมาชาติใดแส็นใด ขอหื้อมีสติปัญ[ญา]คุชาติเทอะ ๛”
RBR_003_216-222 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 35 สุวรรณหอยสังข์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 7 ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “เรื่องหอยสังข์มี 6 ผูก” RBR_216-217 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “หอยสังผูกที่ ๑” “มี ๖ ผูกกับกัน” และเขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “นายเรียน เรียนที ๑ แล้ว บ้านดอนชาติ”(ดอนชาก) /ด้านหลัง เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “อ่านออกแล้วหนา” หน้ารอง หน้าทับต้น จารไม่ลงหมึก “นายทองอยู่ มันเรียนที หนึ่งแล้ว” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “ผูกต้น หอยสังข์” ท้ายลาน ระบุ “สุวณฺณสงฺขราชาชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวยังสุวรรณสังขราชชาผูกต้น ก็เสด็จบอระมวลเท่านี้ก่อนแลนา ฯ อย่าไปด่าผมเนอขุนท้าวเหย รางตัวก็ใหญ่ ” หน้าทับปลาย เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอ ระบุ “ผูกต้นวัดคอนบ้าน หอยสังข์ผูกต้น” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ
RBR_003_216-222 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 35 สุวรรณหอยสังข์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 7 ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “เรื่องหอยสังข์มี 6 ผูก” หน้าทับต้น ระบุ “ฯ หน้าทับเค้าชาดกผูก ๖ ฯะ๛” เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “หอยสังข์ ผูก ๖ ปลายหมู่” ท้ายลาน ระบุ “สุวณฺณสงฺขราชชาตกํ นิฏฺฐฺตํ แล || รัสสภิกขุปัญญาเขียนอยู่วัดเกาะแก้วกลาง ๛” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง
RBR_003_216-222 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 35 สุวรรณหอยสังข์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 7 ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “เรื่องหอยสังข์มี 6 ผูก” หน้าทับต้น ระบุ “หน้าทับเค้าสุวรรณหอยสังข์ ผูกถ้วน ๖ หมดกันเท่าอี้แลนาย” เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “หอยสังผูก ๖ ปลายหมู่” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอ
RBR_003_216-222 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 35 สุวรรณหอยสังข์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 7 ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “เรื่องหอยสังข์มี 6 ผูก” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “หนังสือหอยสังข์ ผูกถ้วน ๖ แลนายเหย” ท้ายลาน ระบุ “สุวณฺณสงฺขชาตกํ นิฏฺฐิตํ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯ เสด็จแล้ว จบเมื่อเพลแล ขึ้นสิบ ๓ ค่ำ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๓ ค่ำ วันพุธ แล ทุโห หาใบลานมาหื้อทุมูน ขี้ร้ายไร้ เขียนบ่ดีสักหน้อย เหมือนปูยาดคันนาแลนายเหย บ่เคยสักคำเทื่อ กะลังหัดใหม่แลเจ้าข้าเหย อย่าไปติเทอะเนอ กะลังเป็นเขยใหม่ ซันตัวก็ใหญ่ ซันตัวก็น้อย บ่เหมือนกันดอก ค่อยดูไปหื้อถี่เนอ ผู้ข้าเขียนอย่าไปใคร่ได้บุญเต็มทีแล ทุโห กับโยมดี โยมมูน เอื้อยมี อีทิพย์ อีจำ บาเรือน บาจูย บาเฅียม แลนายเหย มาพร้อมกับกัน จิ่งได้สร้างหนังสือหอยสังข์ ผูกถ้วน ๖ แล ผู้เขียนขอหื้อได้บุญเท่ากันเนอนายเอย ข้าขอไปอยู่บ้านดอนชาดได้เก่า ทุโหเหย เพราะชีนั้น ข้าชั่งได้เขียน ฯ ฯ แล ฯ ฯ งำหานี้ อ้ายก็มาหาน้อง บ่ใช่มาด้วยง่าย มีทั้งภูผาขันหนีตันก็ได้สวี คนทั้งหลาย พืนก็สวี ไม่ตัวอ้ายสวีหนี เอิอย หิ้ก เหย หัวแท้ ฯ ฯ ชำหานี้ อ้ายก็ไปตีเผิ้ง มีแม่น้ำน้อยสั้น กันถ่อได้ทางออกไปจักคดจักเรียวมีแม่น้ำเกี้ยวกัน เมืองสีพันดอน คอนสวรรค์ มีแจ้งจักบ่อน น้ำแต่ก่อนไหลแบ่ง จักค้อนเป็นดอนทรายอยู่ใสเด เจ้าให้เจ้าเว้าสูตรต้นสูตรปลาย อีแม่สิจำปลาสังมาเจตนาอยู่แท้น้อย ฯ หลอนหล้าน้อยเจ้าละหล้าเต็มที มาภี้สิแก้ผ้าห่ม ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ ข้อยผู้ข้าขอกุศลนาบุญไปรอดปิตตามารดาจิ่ม ผู้ข้าทั้งหลาย ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “ผูก ๖ วัดนาหนองเซิง” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน และดินสอดำ