มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๓ บัวรมบัวรอย นกแลฅำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด ทองทึบ ๘ ผูก หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าทับเค้าบัวรมบัวเรียวบัวรอง ผูกถ้วน ๓ ก็แล้วก็หมด ::๛”, มีรอยจารอักษรธรรมล้านนาขึ้นใหม่ “ของอาสา” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “นกแลคำ ผูก ๓” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนาจาแห่งห้อง เต ปทุมา บัวรมบัวเรียวบัวรอง ผูกถ้วน ๓ ก็เท่านี้ก่อนแล ๛ จบในเพล ๛” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๓ บัวรมบัวรอย นกแลฅำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด ทองทึบ ๘ ผูก หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าต้นบัวรมบัวเรียวบัวรอง ผูก ๔ มี ๕ ผูก นิพพานสูตร ๑ ผูก”, เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ “นกแลคำ ผูกที่ ๔” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “บัวลมบัวเรียวผูกผูก ๔” ท้ายลาน ระบุ “กณฺโฑ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันเทศนายัง เต ปทุมา บัวรมบัวเรียวบัวรอง ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯ๛” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำและปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๓ บัวรมบัวรอย นกแลฅำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด ทองทึบ ๘ ผูก ลานแรก ด้านซ้าย ระบุ “นกแรฅำ ผูกปลาย ถ้วน ๕” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาสังวรรณนา เต ปทุมชาดก ยกแต่เค้าเถิงปลาย ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแลแลแลแลนายเหย เสด็จแล้วยามเมื่อปีขาล แรม ๔ ค่ำ พร่ำว่าได้วันอาทิตย์ บ่ายสามโมงค่ำแลนายเหย || ตัวบ่ดีสักน้อยเหมือนปูน้อยยาดคันนาแลนา ยังมีศรัทธาภิกขุ ๒ ตัว ก็พร้อมกับด้วยญาติโยมผู้ชื่อว่า ทั้งหลายก็อุบายขวงขวายหาได้ยังใบลานมาสร้าง ขอส่วนกุสลานาบุญอันนี้ช่วยหุ้มปกยกเอาตัวผู้ข้าทั้งหลายพ้นจากทุกข์จิ่มเทอะ” มีรอยทำเครื่องหมายแบ่งวรรคและเพิ่มเติมวรรณยุกต์ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๓ บัวรมบัวรอย นกแลฅำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด ทองทึบ ๘ ผูก หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “บัวรม บัวเรียว บัวรอง ผูกต้น”, หน้าทับใบที่ ๒ เขียนด้วยอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “นกแลคำ ผูกที่ ๑” ลานแรกด้านซ้าย ระบุ “ผูกต้น” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาสังวรรณนากล่าวยัง ปทุมบัวรมบัวเรียวบัวรอง ผูกต้น ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล จบเสด็จแล้วยามค่ำพร่ำว่าได้วันพุธ เดือน ๗ ใต้ เดือน ๙ เหนือ (เ)หลือใจว่าเจ็บแอวแลนายเหย ยังมีพ่อเฒ่ามะกับลูกใภ้ ก็พากันอุบายโขงขวายหามายัง โปฏกํ ยังใบลานมาจ้างหนานมูรสร้างยัง(หนัง)สือนกแลคำไว้ค้ำชูพุทธศาสนาโคตมเจ้าตราบเท่าเข้าสู่พระนิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ นิ(จฺจํ ธุวํ ธุวํ)
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๓ บัวรมบัวรอย นกแลฅำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด ทองทึบ ๘ ผูก” มีรอยเขียนเลขอารบิกด้วยดินสอดำหน้าลานหงาย และแก้ไขคำด้วยดินสอดำ หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าต้นบัวรมบัวเรียวบัวรอง ผูกถ้วน ๕ แลนายเหย ๛ ศรัทธานางสาพร้อมด้วยลูกผัวได้สร้างธรรมอันชื่อว่า นกแลฅำ ๛”, เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “บัวลม ผูกที่ ๕” กิริยาสังวรรณนา เต ปทุมชาดก ยกแต่เค้าเถิงปลายก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแลแล๛”
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๕๗ สุวรรณเหนคำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๔ ผูก” หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาสีน้ำเงิน “สุวณฺณเหนฅำ”, หน้าทับเค้า ระบุ “สัทธานายชูกับเอื้อยต่วสร้างหนังสือนี้ หน้าทับเค้าสุวรรณเหนฅำ”, จารอักษรไทย “นายูนางต่วนบ้านหินกองสร้างไว้จ๊ะ” และจารอักษรขอมไทย “๑๕ ลานทานแล้ว” หน้าทับเค้าใบที่ ๒ ระบุ “๚ ศรัทธาหนานจูนางต่วน นางธีม หนานแดง พ่อฅุณอินสร้างหน้าสือไปถึงพ่อเนตรแม่นางลุงซื่น ป้าภุม พ่อแดง ปู่ถี น้อยเพียะ ถึงครูบาอาจารย์ อิมํ นาม รูปํ ผญานาบุญมีพระยาอินทร์เป็นยอดแผ่ไปรอดไปเห็นอวิจี แม่นางธรณีผู้เป็นแก่แผ่ไปรอดสรรพสัตว์ทั้งหลาย สพฺเพ สตฺตา (อ)เวรา โหนฺตุ” ท้ายลาน ระบุ “สุวณฺณชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันเทศนายังสุวรรณชาดกยกแต่เค้าเถิงปลาย ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ ฯ๛ เขียนบ่ดีบ่งามสักน้อยข้อยเขียนตามง่าวตามโง่ข้อยเขียน”
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๕๗ สุวรรณเหนคำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๔ ผูก” หน้าทับเค้า เขียนด้วยปากกาสีน้ำเงิน “เห็นคำ” หน้าทับเค้า หน้าทับเค้าเหนฅำผูกเดียวก็มีแลนา ลานแรก ด้านซ้ายมือ “หนังสือเหนฅำ” ท้ายลาน ระบุ “สุวณฺณชาตกํ นิฏฺฐิตํ ๛ กิริยาอันเทศนายังสุวรรณชาดกแต่เค้าเถิงปลายก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯ๛ เสด็จแล้วเดือน ๙ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีมะเส็ง วัน ๓ เสด็จแล้วใกล้เพลแลนายเหย ๚:๛ ธุวํ ธุวํ หน้าทับเค้าเหนฅำผูกเดียวแลฯฯ:๛ รัสสภิกขุสุวรรณ อยู่บ้านปู่ฟ้าแล ทุอาวธวร บ้านมะโก เอาลานหื้อเขียนข้าแด่ แด่เทอะ ขอกุศลนาบุญไปรอดบิดามารดาข้าแด่เทอะ ฯฯ:๛”
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๕๗ สุวรรณเหนคำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๔ ผูก” หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าทับสุวรรณเหนคำแลท่านเอย” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “เห็นคำ” ท้ายลาน ระบุ “สุวณฺณชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันเทศนายังสุวรรณชาดกยกแต่เค้าเถิงปลายก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛” ลาน กิว จารตัวอักษรใหญ่กว่าหน้าลานอื่นๆ อาจเป็นผู้จารคนละคน
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๒ โชติกเสรฏฐี อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๓ ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “โชติกะเศรษฐี มี ๔ ผูก” ลานหน้าสุดท้าย ระบุ “กล่าวยังธนัญไชยเสฏฐี ผูกถ้วน ๔ ก็บอระมวลควรแก่กาลเท่านี้ก่อนแล ๛ รัสสภิกขุนวร เขียนแล้ว เตชะนาบุญ อย่าคลาดแคล้วเหยหาย นาบุญจุ่งผายแผ่ไปรอดพ่อแม่วงศา ทั้งอาวอาป้าปู่ครูบาอาจารย์หมู่พี่น้อง นาบุญจุ่งผายสอดไปรอดท้าวองค์อินทา ขอจุ่งเป็นสักขีพิงต่างตอ เมื่อมูลศรัทธาสร้างก่อสมภารบุญติดตามกำเนิด ครั้นได้เกิดแดนใดบุญเลื่อมใสไหลติดต่อไปหุ้มห่อกายาดับเสียยังโรคาเจ็บหูตาเมื่อยไข้ อย่ามีเป็นหิดเป็นฝี ปวดคู่ขยี่ไอ อันใดบ่เพิงใจ อย่าได้มาพาล ขออยู่สุขสำราญเที่ยงเท่า อย่าได้โศกเศร้าด้วยรังสีหางตาดีใสส่อง คิ้วค้อมก้องตาเขียว นิ้วมือเถียวรอดเหมือนดังขูดขัดเหลา แอวกลมเลากำรวม เป็นที่ครอบเมตตา คำมักคำปรารถนามีดังนี้แล้ว บารมีแก้ว หากบอระมวล นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม ๛”