หน้าทับเค้าลานแรก ระบุ “หน้าทับเค้าหนังสือสักกบรรพแลนายเหย ๚๛” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ “สักกบรรพ์ ๑๐” หน้าทับเค้าลานที่สอง เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “สักกะบัน” เขียนเลขอารบิกด้วยปากกาลูกลื่นสีดำไว้ด้านซ้ายลาน ทุกหน้าตั้งแต่ “1-31” และเขียนเลขไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีดำไว้ด้านขวาลาน ทุกหน้าตั้งแต่ “๑-๓๑” ท้ายลาน ระบุ “สกฺกบพฺพํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวยังปริเทเจทนา อันประดับประดาไปด้วยพระคาถาทั้งหลายได้ ๒๓ พระคาถา ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแลแลนา ๚๛”
หน้าทับเค้าเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ “นครกัณฑ์ ผูก ๑๓” หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าต้นนครซูเซือม่วนอาละแล || มีอยู่ ๔๔ ใบหน้าแล ๚๛” ท้ายลานจารอักษรไทย ระบุ “มหาเวสันตระจาตะกังนิฐิตัง เตสนา นะคะระกันตัง อันประดับประดาไปด้วยพระคาถาว่าได้ ๔๘ พระคาถา ก็สมเร็จเสด็จแล้วเต่านี้ก่อนและ” มีรอยแก้ไขเพิ่มเติมวรรณยุกต์ คำ และขีดเส้นแบ่งคำหรือวรรคด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง และสีน้ำเงิน, จารอักษรไทย ๒ หน้าลาน
หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มหาวิบาก” หน้าทับเค้าคงนำใบลานเศษที่มีรอยจาร(กลับหัว)เนื้อหากล่าวถึงมหาโมคคัลลานเถรเจ้าแต่ไม่จบ, มีรอยเขียนอักษรไทยด้วยดินสอ เป็นตัวเลขไทยและคำต่างๆ (แจกสระ) มีรอยจารแก้ไขคำผิดมาก ท้ายลาน ระบุ “กล่าวมหาวิบากผูกเดียว ก็สมเร็จเสด็จบอระมวลเท่านี้ก่อนแล ๛ จบแล้ววันภะหัส เดือน ๑๐ ยามค่ำ ยามเจ้าบ้านมาฟังธรรม ข้าก็เขียนจบยามนั้นแล นายเหย ๛ เกิดมายังบ่เคยสักคำเทื่อ ไผอย่าด่าข้าเนอ ข้าฆ่าภ่องเขียน เขียนผูกเดียวนี้แล ครั้นมันผิดที่ไหน ใส่หื้อข้าจิ่มเทอะ ๛ กุศลนาบุญแห่งเขาไปรอดไปถึงบิดามารดาแห่งข้าเทอะ ข้าขอกุศลนาบุญไปรอดญาติกาวงศาพี่น้องทั้งหลายชู่ผู้ชู่คนแด่เทอะ หื้อข้าแด่เทอะ หน้าทับเค้ามหาวิบากผูกเดียวนี้ ข้าเขียนไว้ตั้งแต่ปีมะเมีย เดือน ๑๐ วันพระหัส ยามเมื่อเจ้าบ้านมาฟังธรรมยามใกล้ค่ำแล ข้ากำลังหัดเขียนผูกหนทีคำเดียว ครั้นผิดที่ใดใส่”
หน้าทับเค้าเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่น “ไม่มีเปรตพระ” หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าทับเค้ามหาวิบากแลนายเหย ข้าเขียนหนังสือผูกนี้ ขอหื้อไปรอดไปเถิงบิดามารดาครูบาอาจารย์ชุครูชุคนแด่เทอะ กับญาติพี่น้องแห่งข้าชุผู้ชุคนแด่เทอะ กับตนตัวข้าจิ่มเทอะเนอ รัสสภิกขุฅุม บ้านให[ม่]เค้าม่วง ผิดที่ใดใส่หื้อข้าจิ่มเทอะ ข้าเขียนใหม่บ่เคยสักคำเทื่อ ลางตัวเท่าช้าง ลางตัวเท่าแมว แอวคาคอด” ลานแรกเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินที่ด้านซ้ายมือของลาน “มหาวิบาก” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวมหาวิบากผูกเดียวก็สมเร็จเสด็จบอระมวลเท่านี้ก่อนแล ๛ เสด็จแล้วฉันจังหัน | แล้วน้อย ๑ แลนายเหย ปีชวดแลนาย ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้แลก่อนแล เสด็จแล้ววันอาทิตย์แลนายเหย แรม ๓ ค่ำ พร่ำว่าได้วันอาทิตย์แลนายเหย หน้าทับเค้ามหาวิบากม่วนอาละแลนายเหย”
หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากลูกลื่นสีน้ำเงิน “มหาวิบาก บ่อมีเปรตพระ”,เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “ไม่มีเปตพระ” เขียนอักษรธรรมด้วยปากกาน้ำเงิน “มหาวิบาก” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุดธัดส _________” หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าทับเค้ามหาวิบากแล๛ ครั้นผู้ใดได้ดูแล้ว ครั้นตกอยู่ที่ไหนเก็บไว้จิ่มเนอ” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวห้องมหาวิบาก ตามอันย่อแคบ ก็สมมติด้วยเวลาเท่านี้ก่อนแล” และ“หน้าทับปลายมหาวิบาก หนังสือวัดหนองบัวแล บ่งามเจ็บแอว มีอยู่สิบสองใบหน้าเท่านั้นแลท่านเหย มหาวิบากฉบับนี้ม่วนเต็มที ต้องพิจารณาดูหื้อถี่จิ่งจักรู้ที่ปองปูนอันเป็นบุญแลเป็นบาป” เขียนอักษรไทยด้วยดินสอ “หนังสือผูกนี้นายเรียมมันอ่านแจนจํบ(เจนจบ, จนจบ?)” “๑๖”
ลานแรกด้านซ้ายมือ “หน้าต้นหนังสือพุทธตำนานแลนายเหย ๚” ท้ายลานระบุ “พุทธตำนาน นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวยังพุทธตำนาน ปพฺพปริเจทน คำสอนอันเป็นเขตคำสอนก็แล้วเท่านี้ก่อนแล // ข้าเขียนจบเมื่อ(นา)ฬิกาตี ๒ โมงคำ เลยยังบ่เคิ่ง อยู่อีก ๑๐ ภินิง แลนายเหย // เมื่อเดือน ๑๒ แรม ๕ ค่ำ วันศุกร์แล // นายเหย ธุวํ ธุวํ ข้าแด่เทอะ // รัสสภิกขุอินทจันโท อยู่บ้านใหม่แลนายเหย //” หน้าทับปลายเป็นรู
ลานแรก ด้านซ้ายมือ “หนังสือพุทธตำนาน” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวห้องยังคำสอนแห่งพระยาอินทาบอกไว้แก่คนทั้งหลายก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแลแล // สเดสดแล้วแลนายเหย จบแล้วแล นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ // รัสสภิกขุยอดเขียนแล ยังมีพี่อินหาได้ยังใบลานมาหื้อ ผู้ข้าเขียนตัวบ่ดีสักหน้อยเหมือน ๑ ไก่เขี่ยหัวมองแลนายเหย ข้ายังบ่เคยเขียนสักคำเทื่อแล พระพี่ ทุพี่ ผู้ใดได้เล่าได้เรียน ขีดตกทัดใด นิมนต์ส้ายหื้อจิ่มเนอ เพราะว่ากำลังหัดเขียนแล นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ // แล แล แล แล แล แล แล แล แล”
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๓ บัวรมบัวรอย นกแลฅำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด ทองทึบ ๘ ผูก” หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “นกแลคำ ผูก ๑” และระบุ “หน้าต้น บัวรม บัวเรียว บัวรอง ผูกต้นแล” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาสังวรรณนายังปทุมบัวรมบัวเรียวบัวรอง ผูกต้น ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล”
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๓ บัวรมบัวรอย นกแลฅำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด ทองทึบ ๘ ผูก” หน้าทับเค้า เขียนด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ “นกแลคำ ผูกที่ ๒” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีดำ “เรื่องนกแลคำ มี ๕ ผูกด้วยกัน”(ลายมือท่านพระครูพัฒนกิจสุนทร (สังข์ ชิตมาโร)) ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “นโม ตสฺส นักแลฅำผูก ๒ แลนายเหย” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวยัง เต ปทุมา บัวรมบัวเรียวบัวรอง ผูกสอง จาด้วยอัคคเสนาปองไหว้กราบยังพระบาทเจ้าตนยอดเสวยเมือง นิฏฺฐิตํ ก็สมเร็จเสด็จแล้ว เท่านี้ก่อนแล บริบูรณ์เสด็จแล้วเดือน ๕ แรม ๘ ค่ำ พร่ำว่าได้วันผะหัสแลนายเหย ปีนี้ปีนี้มะเส็งแลนายเหย ภิกขุบูร สร้างปางเมื่ออยู่วัดห้วยแลนายเหย เขียนบ่ดีสะน้อย เหมือน ๑ ปูยาดคันนาแลนายเหย เพราะว่าใจบ่ดีสะน้อย คึดรอดหาสาวเต็มที เพราะว่าสาวอยากเอาผัว อยากแล้วแลนายเหย สาวอยากเอาผัว อยากก่อนแลนายเหย นกแลฅำ ผูก ๒ แลนายเหย ม่วนอ้อยจ้อยอยู่วอนวอยแลนายเหย นกแลฅำ ผูก ๒ นี้ หมอเอย เดือน ๑๒ ปีหมา(ควรเป็น ปีหน้า?) ข้อยยากสิกอยากแล้วแลนายเหย เดือน ๑๒ เห็นจะบ่แคล้วแล้วววย มาคึดสะบัดหอนสะบัดหมาว (สะบัดร้อนสะบัดหนาว?)” / ฉบับนี้สระเอา ใช้เครื่องหมาย “ไม้เก๋าห่อนึ่ง” และสระโอะลดรูป ใช้เครื่องหมาย “ฟันหนู”