RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๑” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินจาง “นายทองอ่านหนังสือราว(ลาว)หัวนี้ยังบ่จบเตื่อบ่ได้อย่าจบเต้” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “หน้าต้นบัวหอม ผูกต้นแล” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนาแก้ไขยังปทุมชาดก ยกแต่เค้าปลายเป็นนิยายอันมากมาเถิงกัณฑ์ผูกต้น จาบ่แล้ว ตนแก้วก็เทศนาไปภายหน้าบ่หื้อขาด นักปราชญ์เจ้าหากวิสัชนา ปทุม ผูกต้น ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล || เสด็จแล้ววันอาทิตย์ ยามค่ำ เดือน ๖ ออก ๖ ค่ำ ปีวอก รัสสภิกขุจันทไช เขียนหาทางงามบ่ได้ เหมือนปูยาดคันนา อย่าไปไคร่หัวขวัญข้าเทอะ ตกที่ใดนิมนต์ใส่หื้อจิ่ม ข้าขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอด ธุวํ ๆ ป[จฺ]จโย โหตุ เม แก่ข้าน้อยแด่เทอะ อหํ อันว่า ข้า จักปรารถนาเอาแก้วดวงเดียวเป็นที่เพิ่ง รัสสภิกขุเหลียร(เหรียญ)ได้แต้มได้เขียนหนังสือผูกนี้ ขอหื้อกุศลนาบุญอันนี้ไปรอดไปเถิงนางแมะข้าจิ่มเทอะ”
ปทุมบัวหอม ผูกต้น (RBR003-182). (2564). สืบค้น 06 กุมภาพันธ์ 2568. จาก ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย. http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=570
ปทุมบัวหอม ผูกต้น (RBR003-182). [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก : http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=570. (วันที่ค้นข้อมูล : 06 กุมภาพันธ์ 2568)
ปทุมบัวหอม ผูกต้น (RBR003-182). สืบค้นเมื่อ 06 กุมภาพันธ์ 2568. http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=570