RBR_003_171-175 มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ 37 ปทุมกุมาร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ มี 4 ผูก” RBR_003_171-174 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “๏ หน้าทับเค้า ปทุมกุมาร ผูกต้นแลนาย ห ฯฯ” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ประทุมกุมาร ผูกที่ ๑” ลานเปล่าทับหน้า เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “วัน ๑๒ ๔ ค่ำ เทศ วัน ๑๓ ๔ ค่ำ สวดมนต์ วัน ๑๔ ค่ำ นั่งหัตถบาส มาในเมรุ วัน ๑๕ ๔ ค่ำ สวดพระธรรม ๔ รูป ” (ตัวอักษรเอียง เขียนด้วยอักษรไทย) ท้ายลาน ระบุ “ปทุมกุมารํ นิฏฺฐิตํ || กิริยาอันกล่าวยัง ปทุมกุมาร ผูกต้น ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล” ลานเปล่าทับหลัง เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “หนังสือนี้ของนายวุ่น หนังสือนี้ของนายวุ่น” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ
ปทุมกุมาร ผูกต้น (RBR003-171). (2564). สืบค้น 29 เมษายน 2568. จาก ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย. http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=559
ปทุมกุมาร ผูกต้น (RBR003-171). [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก : http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=559. (วันที่ค้นข้อมูล : 29 เมษายน 2568)
ปทุมกุมาร ผูกต้น (RBR003-171). สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2568. http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=559