แหล่งข้อมูล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ (3 หน้า)
|

หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

สถาบัน

สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพได้ริเริ่มจัดทำโครงการหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ระบบสุขภาพไทย โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 - 2555 เพื่อทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ อนุรักษ์ และจัดแสดงนิทรรศการจากเอกสารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สุขภาพไทย และเป็นแหล่งให้การสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย เพื่อสร้างความรู้ทางประวัติศาสตร์และมิติทางสังคมและวัฒนธรรมสุขภาพ ตลอดจนให้บริการเอกสารสำคัญแก่สาธารณชน สำหรับเอกสารโบราณที่นำมาดิจิไทซ์และเผยแพร่ในครั้งนี้คือ เอกสารโบราณส่วนบุคคลที่นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ แพทย์แผนโบราณ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการรักษาโรคและใช้ยาสมุนไพรในการบรรเทาอาการเจ็บป่วย โดยนายทองอ่อนถือเป็นแพทย์ประจำตำบลคนแรกของตำบลหนองบัว อำเภอฝาง จังหวัดขอนแก่น และได้รับใบประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรม เวชกรรมและผดุงครรภ์แผนโบราณจากคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข ประวัติของนายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ เกิดเมื่อ 24 มีนาคม พ.ศ. 2458 ณ บ้านเมืองเก่า ตำบลเมืองเก่า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เมื่ออายุ 20 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ในระหว่างนั้นก็ศึกษาวิชาการนวดและสมุนไพรด้วย โดยอาจารย์ที่สอนมาจากราชสำนัก เมื่อ พ.ศ. 2484 ระหว่างสงครามโลก สมเด็จพระวรรณรัตน์จึงให้ทุกคนกลับไปพำนักยังภูมิลำเนาเดิม นายทองอ่อนจึงได้กลับมาอยู่ที่บ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น ช่วยดูแลชาวบ้านด้วยวิชาแพทย์แผนโบราณที่ได้ร่ำเรียนมา จน พ.ศ. 2488 ได้ลาจากอุปสมบท พ.ศ. 2491 ได้เป็นแพทย์ประจำตำบลหนองบัว นับเป็นแพทย์ประจำตำบลคนแรก (รวมเวลา 27 ปี) พ.ศ. 2497 และได้รับใบประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรม เวชกรรมและผดุงครรภ์แผนโบราณจากคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข นายทองอ่อนเป็นแพทย์แผนโบราณที่ตรวจรักษาคนไข้ด้วยวิชาแพทย์แผนโบราณ นอกจากนี้ยังสอนหนังสือเกี่ยวกับแพทย์แผนโบราณให้กับผู้สนใจศึกษาหาความรู้ เป็นวิทยากรที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันการแพทย์แผนไทย ทั้งยังส่งเสริมความเข้มแข็งด้านการแพทย์แผนโบราณอีกด้วย เมื่อเข้าสู่วัยชรา ร่างกายก็อ่อนแรงตามวัย อาการป่วยกระเสาะกระแสะ จนเสียชีวิตอย่าสงบที่บ้านพัก วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555 สิริรวมอายุ 97 ปี นายทองอ่อนได้มอบเอกสารโบราณเหล่านี้ให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ อาทิ เอกสารลายมือเขียน ตำรายา หนังสือ สมุดข่อย และใบลาน ซึ่งทางหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติได้จัดหมวดหมู่และจัดทำบัญชีเรียบร้อยแล้ว โดยฐานข้อมูลเอกสารโบราณ ฯ จะคัดเลือกเฉพาะเอกสารที่เป็นใบลานและสมุดข่อยมาทำสำเนาดิจิทัลและจะเผยแพร่ให้ผู้สนใจใช้งานผ่านฐานข้อมูลเอกสารโบราณ ฯ

วัดสำโรง

วัด

วัดสำโรง ปรากฏหลักฐานตามทะเบียนวัด ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2343 เดิมชื่อว่า “วัดสามโรง” และชาวบ้านช่วยกันสร้างโรงขึ้นมาสามหลัง เพราะสถานที่นี้มีพระภิกษุมาปักกลดอาศัยปฏิบัติธรรมอยู่บ่อยครั้ง ต่อมาชาวบ้านเห็นว่าสมควรตั้งเป็นวัด ปู่ดำเจ้าของที่จึงถวายที่ตรงนี้ให้เป็นที่ตั้งวัด และชาวบ้านพร้อมใจกันไปอาราธนา พระภิกษูนุช ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดลานตากฟ้า (วัดอยู่ตรงข้ามกับวัดสำโรงในปัจจุบัน) มาเป็นเจ้าอาวาส ปู่ดำเจ้าของที่ดินก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุด้วย และช่วยกันพัฒนาสิ่งก่อสร้างจนสามารถทำสังฆกรรมได้ ชาวบ้านจึงตั้งชื่อเรียกวัดนี้ว่า “วัดสามโรง” เมื่อวัดสามโรง เจริญขึ้นมาได้ตามลำดับ ชาวบ้านวัดสามโรงได้เห็นตรงกันว่า ควรเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ให้ตรงกับบริเวณวัดที่มีต้นสำโรงตั้งอยู่ด้วย ด้วยสาเหตุนี้จึงเปลี่ยนจากชื่อจาก วัดสามโรง เป็น วัดสำโรง จนถึงปัจจุบัน 

คอลเลกชั่นพิเศษของวัดทุ่งเนินพยอม

วัด

พระสอนชัย ปภากโร กล่าวถึงที่มาของของเอกสารโบราณชุดนี้ว่า พ.อ.รุ่งคุณ มหาปัญญาวงศ์ นำมาถวายวัดทุ่งเนินพะยอมเป็นมรดกตกทอดมา เนื่องจากครอบครัวรับราชการเกรางว่าภูมิปัญญาชาวบ้านจะหายไปจึงถวายวัด แต่เนื่องจากวัดกำลังพัฒนามีการเปลี่ยนแปลง กรรมการวัดเกรงว่าเอกสารเก่าๆ ที่มีสภาพสมบูรณ์เล่มนี้จะถูกทำลายจึงขอมอบให้ ฐานข้อมูลเอกสารโบราณฯ ศมส. เพื่อเก็บรักษาเป็นสมบัติของชาติสืบต่อไป

วัดท่าข้าม

วัด

วัดท่าข้าม เดิมชื่อ “วัดปากลัดท่าคา” มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า มีนายพราน 3 คน ไล่ตามคล้อง ช้างหัวเสือ (บริเวณตําบลบางช้างในปัจจุบัน) นายพรานทั้ง 3 ได้เดินมาถึงวัดท่าข้าม และข้ามแม่น้ำนครชัย ศรีไป เพื่อไปคล้องช้าง ชาวบ้านเรียกสืบต่อกันมาว่า “ท่าข้าม” และเรียกชื่อวัดว่า “วัดท่าข้าม” ตาม เหตุการณ์ดังกล่าว โดยตําบลที่นายพรานทั้ง 3 ข้ามแม่น้ำไปจึงถูกเรียกว่า “ตําบลสามพราน” (ข้อมูลจาก หนังสือ “วัดท่าข้าม ทางดี”, ที่ระลึกในงานฉลองสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่ พระครูเกษมธรรมรักษ์ (หลวงพ่อยะ เขมปาโล) วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 2530) สหายการพิมพ์ : กาญจนบุรี, 2530.) คณะทํางานเข้าสํารวจเอกสารโบราณ ณ วัดท่าข้าม ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม ทราบจากพระลูกวัดว่า พระมงคลสิทธาจารย์ เจ้าอาวาสอาพาธและรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จึงได้แนะนําให้เข้าพบกับพระมหาองอาจ ญาณวีโร รักษาการเจ้าอาวาส เพื่อสอบถามถึงเอกสารโบราณของทางวัด ท่านพระมหาองอาจให้ข้อมูลว่า เอกสารโบราณบางส่วนใหญ่ถูกไฟไหม้ไปพร้อมศาลา บางส่วนที่เหลือรอดมาก็ถูกน้ำท่วม เมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ เอกสารโบราณเหล่านี้แช่อยู่ในน้ำ ท่านพระมหาองอาจได้เก็บรวมรวมมาไว้ได้เพียงบางส่วน

สำรวจเอกสารโบราณเมื่อ พ.ศ.2557

วัดเทียนดัด

วัด

วัดเทียนดัด ตั้งอยู่เลขที่ 66 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เล่ากันว่าสร้างขึ้นสมัยกรุงธนบุรี เมื่อปี พ.ศ.2312 ภายหลังกรุงศรีอยุธยาแตก แล้วหมู่พระสงฆ์ได้หนี้พวกพม่ามาพักในบริเวณนี้ ชาวบ้านจึงได้สร้างวัดเพื่อให้พระสงฆ์ ได้อยู่จำพรรษา วัดนี้แต่เดิมนั้นมีต้นเกดขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากจึงได้ชื่อว่า “วัดดงเกด” แล้วเปลี่ยนมาเป็น “วัดกระแชงดาด” วัดเชิงดาดคงคาวน และ “วัดเชิงดาดคงคาวล” ต่อมาเมื่อครั้งที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จผ่าน และแวะเยี่ยมที่วัดแห่งนี้ ท่านได้ตั้งนามของวัดให้ใหม่ว่า “วัดเทียนดัด” หลักฐานเก่าแก่ของวัดที่ยังคงเหลืออยู่บ้าง ได้แก่ อุโบสถหลังเก่า สร้างหันหน้าไปทางแม่น้ำ ด้านหน้ามีพาไลหรือหลังคาคลุมทอดลงมา ใบเสมาตรงเอวทำเป็นลวดลายก้านขดสลับไปคล้ายกับใบเสมาที่วัดหอมเกร็ด ในอดีตวัดแห่งนี้มีพระเถรซึ่งมีชื่อเสียงมาก ได้แก่ พระครูปลัดผัน ติสฺสวณฺโณ อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 4 และพระครูอาทรพิทยคุณ (ผล ธมฺมโชติ) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 5 ซึ่งท่านทั้ง 2 มีชื่อเสียงทางด้านการสร้างพระและเครื่องรางของขลัง องค์สุดท้ายได้แก่ พระครูมนูญ กิจจานุวัตร (แสวง ธมฺรโส) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 6 ดังนั้น วัดเทียนดัดในทุกวันนี้จึงได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและมีสิ่งก่อสร้างขึ้นอีกมากมาย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลักฐานในอดีตหลงเหลืออยู่น้อยมาก จนบางครั้งทำให้ดูเหมือนกับว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดสร้างขึ้นใหม่ในปัจจุบัน หลักฐานเหล่านี้ได้บันทึกไว้ในหนังสือทางประวัติศาสตร์ชื่อ วัฒนธรรมสามพราน วัดเทียนดัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2480  ข้อมูลจาก http://m-culture.in.th/album/view/150592/

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตลาดน้ำวัดลำพญา

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตลาดน้ำวัดลำพญา

วัด

วัดลำพญา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำนครชัยศรี ในเขตอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่งของจังหวัด เนื่องจากมีตลาดน้ำที่ทางวัดและชาวบ้านร่วมกันจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2542 โดยสร้างแพลงไปในแม่น้ำ ภายในขายอาหารคาวหวานนานาชนิด รวมถึงมีบริการล่องเรือชมวิถีชีวิตริมน้ำด้วย นอกจากนี้วัดลำพญายังเป็นศูนย์บูรณาการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลลำพญา ซึ่งองค์ประกอบหนึ่งของศูนย์บูรณาการฯ คือต้องจัดให้มีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน สันนิษฐานได้ว่าพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตลาดน้ำวัดลำพญาเกิดขึ้นด้วยเหตุดังกล่าว พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตลาดน้ำวัดลำพญา เป็นอาคารทรงไทยใต้ถุนสูง สร้างติดแม่น้ำนครชัยศรี อยู่ภายในบริเวณวัดลำพญา เปิดให้เข้าชมครั้งแรกในปี 2543 ชั้นล่างจัดแสดง เรือพื้นบ้านต่าง ๆ เครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร อาทิ เครื่องสีข้าว คันไถ รูปปั้นควายจำลอง เป็นต้น ส่วนชั้นบนจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องลายคราม เครื่องแก้ว เครื่องปั้นดินเผา ไหกระเทียม ไหใส่พลู ที่ปั้มลมสำหรับทำทองรูปพรรณ หินบดยา ฝาละมีบดยา เครื่องมือจับปลา เครื่องมือชั่งตวงวัด เครื่องจักสาน เตารีด พัดลม โทรศัพท์ วิทยุ และโทรทัศน์รุ่นอดีต ภาชนะสังกะสีเคลือบ หมวกกะโล่ ตะเกียงลาน หีบพระธรรม ธรรมมาสน์ สมุดไทย ภาพถ่ายในอดีตของวัด ธนบัตรรุ่นเก่า กระดองตะพาบน้ำ เป็นต้น ของที่จัดแสดงได้มาจากการบริจาคของชาวบ้านและผู้มีจิตศรัทธา ซึ่งจะมีแผ่นกระดาษเขียนชื่อของผู้บริจาคติดอยู่กับของชิ้นนั้น ๆ โดยผู้บริจาคสิ่งของให้แก่พิพิธภัณฑ์จะได้รับใบอนุโมทนาบัตรจากสภาวัฒนธรรมตำบลลำพญาด้วย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ บริหารจัดการโดยวัดลำพญาและสภาวัฒนธรรมตำบลลำพญา ทางพิพิธภัณฑ์มีผู้ดูแลและให้ความรู้แก่ผู้เยี่ยมชม โดยท่านหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของวัด ส่วนอีกท่านหนึ่งเป็นครูโรงเรียนวัดลำพญา โดยจะผลัดเปลี่ยนเวรกันมา ข้อมูลจาก : ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร http://www.sac.or.th/databases/museumdatabase/index.php

วัดบางช้างเหนือ

วัดบางช้างเหนือ

วัด

วัดบางช้างเหนือ ตั้งอยู่เลขที่ 79 หมู่ที่ 3 ตำบลคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2370 ในแผ่นดินรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เดิมชื่อ วัดใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ.2459 สมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จตรวจเยี่ยมวัดต่าง ๆ ในเขตอำเภอสามพราน และตรัสให้เรียกใหม่ว่า วัดบางช้างเหนือ โบราณสถานเก่าแก่ของวัดได้แก่อุโบสถหลังเก่ามีขนาดค่อนข้างเล็กตั้งอยู่ด้านหน้าติดริมแม่น้ำนครชัยศรี หรือแม่น้ำท่าจีน ภายในมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ 3 องค์ ก่อด้วยอิฐมอญแล้วปั้นปูนพอกทับอีกชั้นหนึ่งศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ทางวัดได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นและทำพิธีเททองพระประธานเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จฯ มาเททอง พระพุทธชินราชจำลองซึ่งประดิษฐานอยู่ในอุโบสถและทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ไว้ทางซ้ายของอุโบสถ วัดบางช้างเหนือ ได้ประกาศตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2470 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ในอดีตพระเถระที่มีชื่อเสียงของวัดนี้ ได้แก่ หลวงปู่จ้อย อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 2 พระครูปลัดผัน (ดิสฺสสุวณฺโณ) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 5 และพระครูวุฒิกรโศภณ (สงัด อุคฺคเสโน) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 6 ปัจจุบันมีพระพิพัฒน์ศึกษากร เป็นเจ้าอาวาส ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม http://www.m-culture.in.th/moc_new/album/150597/วัดบางช้างเหนือ/) 

หอพิพิธภัณฑ์วัดบางช้างใต้ (ภาพ

วัดบางช้างใต้

วัด

ตามประวัติของวัดบางช้างใต้ได้กล่าวไว้ว่า สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2335 ในแผ่นดินรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ต่อมาในปี พ.ศ. 2400 ทางวัดได้สร้างพระอุโบสถหลังที่ 2 ขึ้นมาใหม่แทนหลังแรกซึ่งถูกไฟไหม้ และได้มีการอัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดเก่าแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามาด้วยเรือพายม้า พระพุทธรูปองค์ดังกล่าวมีนามว่าหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ประทับนั่งอยู่ในปางสมาธิ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่บนบุษบกภายในอุโบสถหลังที่ 3 ซึ่งสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 หรืออุโบสถหลังปัจจุบัน วัดบางช้างใต้เดิมชื่อ “วัดบางช้าง” พระเถระที่มีชื่อเสียงของวัดบางช้างใต้นี้ ได้แก่ พระครูวินัยธร (ใย กิตฺติธโร) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 6 หลักฐานเหล่านี้ได้บันทึกไว้ในหนังสือทางประวัติศาสตร์ชื่อ วัฒนธรรมสามพราน วัดบางช้างใต้ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2479 ปัจจุบันมีพระครูอรุณธรรมวิสุทธิ์ เป็นเจ้าอาวาส 

สำรวจเอกสารโบราณ และแยกประเภทเอกสาร

บ้านหมอเห สายโกสินทร์

เอกชน

หมอเห สายโกสินทร์ (สกุลเดิม จงกลนี) เป็นหมอยาพื้นบ้านที่ได้รับความนับถือจากผู้คนในชุมชนวัดท่าพูด ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม นอกจากนี้หมอเห เองยังเป็นเจ้าพิธีกรรมต่างๆ ด้วย หากบ้านใด้มีงานทำบุญ งานแต่งงาน งานทำขวัญ หมอเหก็จะไปช่วยเป็นเจ้าพิธีในงานนั้นๆ หมอเหร่ำเรียนวิชาแพทย์แผนไทยสมัยเมื่อยังบวชเรียนที่วัดท่าพูด ต่อมาเมื่อสึกเป็นฆราวาสก็ได้ใช้วิชาแพทย์แผนไทยของท่านช่วยรักษาโรคภัยให้ชาวบ้าน ปัจจุบันหมอเห สายโกสินทร์ได้สิ้นไปแล้ว แต่มีทายาทเป็นลูกสาวชื่อ คุณป้าเสน่ห์ ที่ยังเก็บรักษาเอกสารโบราณที่เป็นสมบัติส่วนตัวของหมอเห สายโกสินทร์ไว้อยู่ ทางงานเวทีเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ จึงได้ชักชวนให้โครงการสำรวจ รวบรวม และศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นภาคตะวันตก และฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ไปร่วมสำรวจ จัดทำทะเบียนเอกสารโบราณ และถ่ายสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณ ตลอดจนห่อผ้าเก็บรักษาเอกสารโบราณ