“วัดหนัง” หรือ “วัดหนังราชวรวิหาร” ตามประวัติวัดนั้นสร้างเมื่อ พ.ศ.2260 หรือช่วงรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ สมัยก่อนแถววัดหนังอยู่เขตอำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี เมื่อรวมธนบุรีเข้ามาเป็นกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก วัดหนังก็ย้ายเข้ามาอยู่ในเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ยังปรากฏป้ายเก่าของวัดขณะที่ยังสังกัดจังหวัดธนบุรีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ของวัด
วัดหนังเป็นวัดเก่าแก่ในย่านนี้ และมีวัดในแถบใกล้ๆ กันอีกหลายวัดจนมีเรื่องเล่าว่า วัดในแถบนี้มีวัดสามพี่น้องคือ วัดหนัง วัดนางนอน และวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร และที่ใกล้กันนั้นก็มีวัดศาลาครึนด้วย วัดนางนองราชวรวิหารและวัดราชโอรสารามราชวรวิหารนั้นบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งศิลปะที่ปรากฏอยู่ที่วัดนั้นส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะแบบจีน ส่วนวัดหนังนี้พระราชมารดาของรัชกาลที่ 3 ทรงให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดหนังขึ้นใหม่ แต่ให้มีความเป็นไทยผสมอยู่มากกว่าวัดนางนองและวัดราชโอรสารามฯ แต่ก็ยังมีศิลปะแบบจีนปนอยู่บ้าง
พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา วัดหนังราชวรวิหาร จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาเรียนรู้ วิถีชีวิต และประวัติความเป็นมาของพื้นที่ย่านเขตจอมทอง คิดริเริ่มและลงมือจัดทำช่วง พ.ศ.2545 สมัยพระธรรมศีลาจารย์เป็นเจ้าอาวาส โดยมีพระครูสมุห์ไพฑูรย์ สุภาฑโร (ปัจจุบันลาสิกขาบทแล้ว) และบรรดาลูกศิษย์ในย่านวัดหนังช่วยกันก่อตั้งและจัดหาวัตถุจัดแสดง
ข้อความเขียนเป็นภาษาไทยว่า “สูบพนมส่ดูพูททะลัตราชหลองแล้ว ๒๔๔๑ พระวะสา ยังอีก ๒๕๕๘ พัระสาเสดกอนแตกาน แหงวันไพสากะมูนนีมา เดือนยังจะมาอีก ๗ เดือน” เนื้อเรื่องเริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู จากนั้นกล่าวถึงตำรายารักษาโรคต่างๆ เช่น มุตคาด องคสูต ชำรั่ว อุปทม นิ่ว ยาริดสีดวง เป็นต้น
สมุดไทยขาวฉบับนี้กล่าวถึง ตำรับยาในการรักษาโรคต่างๆ เช่น น้ำมันสะเดาะลูก ยาไฟฟ้ามารทะลุน ยาเนาวแสง ยาแก้ลมจับหัวใจ ยาแก้งูขบ น้ำมันซาง ยาแก้ซาง ยามหาประสารใหญ่ ยาแก้บวม เป็นต้น
หน้าปกใบลาน จารว่า “คำภีประชูมแพรดทั้งแปด กองทูนกล่าวถว้ายให้พระบอรมมะจักกะพัด ฯะ” เนื้อหากล่าวถึงตำรายาทั้ง 42 ตำราและกระสายยา เช่น ยาต้มแก้ไข้อหิวาตกโรค ยาต้มแก้ริดสีดวง ยาพอก ยาตานขโมย ยาแก้ลงแดง ยาแก้รกไม่ออก เป็นต้น
ตำรายาเรื่องฝีดาษ โรคฝีดาษ มีหลายชื่อเรียก เช่น ไข้ทรพิษ ไข้หัว เป็นต้น หน้าต้นมีข้อความว่า “ตำราแผนเดื้อน ม˝อพูมสางไว้ยในพระศาสนา ให้ยสืบดสบุตรไปคางหน้า ขอให้ท้นศาตะหนาพระษีรอาร พระนี้ภารอย่าแคล้วเลย ณบ้ตไจโยโหตุ ฯ” ทำให้ทราบว่านอกจากตำราฝีดาษแล้วยังมีตำราแผนเดือนของหมอพูมและภาพรูปคนพร้อมตำแหน่งที่เกิดฝี ชื่อเรียกฝี และความอันตรายของฝีชนิดนั้น ส่วนหน้าปลายหน้าหลัง 3 หน้าสุดท้ายเขียนกลับหัว