วัดท่าข้าม เดิมชื่อ “วัดปากลัดท่าคา” มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า มีนายพราน 3 คน ไล่ตามคล้อง ช้างหัวเสือ (บริเวณตําบลบางช้างในปัจจุบัน) นายพรานทั้ง 3 ได้เดินมาถึงวัดท่าข้าม และข้ามแม่น้ำนครชัย ศรีไป เพื่อไปคล้องช้าง ชาวบ้านเรียกสืบต่อกันมาว่า “ท่าข้าม” และเรียกชื่อวัดว่า “วัดท่าข้าม” ตาม เหตุการณ์ดังกล่าว โดยตําบลที่นายพรานทั้ง 3 ข้ามแม่น้ำไปจึงถูกเรียกว่า “ตําบลสามพราน” (ข้อมูลจาก หนังสือ “วัดท่าข้าม ทางดี”, ที่ระลึกในงานฉลองสมณศักดิ์พระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่ พระครูเกษมธรรมรักษ์ (หลวงพ่อยะ เขมปาโล) วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 2530) สหายการพิมพ์ : กาญจนบุรี, 2530.)
คณะทํางานเข้าสํารวจเอกสารโบราณ ณ วัดท่าข้าม ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม ทราบจากพระลูกวัดว่า พระมงคลสิทธาจารย์ เจ้าอาวาสอาพาธและรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จึงได้แนะนําให้เข้าพบกับพระมหาองอาจ ญาณวีโร รักษาการเจ้าอาวาส เพื่อสอบถามถึงเอกสารโบราณของทางวัด ท่านพระมหาองอาจให้ข้อมูลว่า เอกสารโบราณบางส่วนใหญ่ถูกไฟไหม้ไปพร้อมศาลา บางส่วนที่เหลือรอดมาก็ถูกน้ำท่วม เมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ เอกสารโบราณเหล่านี้แช่อยู่ในน้ำ ท่านพระมหาองอาจได้เก็บรวมรวมมาไว้ได้เพียงบางส่วน
มีบันทึกว่า “ข้าพเจ้า พระศุข พระพิน สามเณรหงส์ สร้างเมื่อ พ.ศ.2466”
พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตร เทพธิดา ถึงอดีตกรรมที่ส่งผลให้ได้ เกิดในวิมานนั้น ๆ เช่น การทำอัญชลีกรรมต่อท่านผู้มีศีลบ้าง, การถวายทานบ้าง, การรักษาศีลบ้าง, การจุดไฟเพื่อประโยชน์แก่คนไปมาในที่มืดบ้าง, การฟังธรรมบ้าง, การรักษาอุโบสถบ้าง มีคำตอบของผู้ถูกถามเป็นราย ๆ ไป รวม 85 ราย ข้อมูลจาก http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/k18.html
จารอักษรไทย ปกหน้า “พระพุทธศักราช 2461 พรรษา”
มีบันทึกไว้ว่า “พุทธศักราช 2547 พรรษา หนังสือพระธรรมเจ็ดคัมภีร์ผูกนี้ ข้าพเจ้าเภาเป็นผู้สร้าง ขออุทิศไปให้บิดาชื่อปั้นและมารดา ขอให้สำเร็จแก่พระนิพพานโน้นเทอญ”