วัดห้วยตะโก

ชื่อ
วัดห้วยตะโก
ประเภท
วัด
ที่อยู่
วัดห้วยตะโก ต.พะเนียด อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 73210
ตำบล
พะเนียด
อำเภอ
นครชัยศรี
จังหวัด
นครปฐม
คำสำคัญ

บริเวณวัดห้วยตะโกสันนิษฐานว่าเคยเป็นวัดเก่าแก่มาก่อน ต่อมาพระครูสังฆรักษ์ไพบูลย์ กตปุญโญ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้เข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดห้วยตะโก ท่านมีความสนใจศิลปะเขมร ท่านจึงมีแนวคิดที่จะผสมผสานรูปแบบศิลปะดังกล่าวเข้ามาไว้ในวัด โดยเฉพาะอุโบสถหลังใหม่ที่กำลังก่อสร้าง ท่านได้แนวคิดมาจากบรรณาลัยของปราสาทหินพนมรุ้ง

นอกจากนี้ท่านยังพยายามจะให้วัดห้วยตะโกเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน มีมุมต่าง ๆ ที่ให้ความรู้ อาทิ เตาเผาสร้างอาชีพ ซึ่งเป็นมุมที่จัดเป็นสถานที่ผลิตอิฐเพื่อนำมาก่อสร้างโบสถ์องค์ปัจจุบัน มุมวาดลายไทย เป็นต้น

ข้อมูลจาก:

สำรวจภาคสนาม วันที่ 30 กรกฎาคม 2547 

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ. 2546 ฉบับเนื้อหาโดยสังเขป. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (เอกสารอัดสำเนา), 2546.

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

  • NPT003-011 ตำรายา

    ตำราเวชศาสตร์
    วัดห้วยตะโก , นครปฐม , สมุดไทยขาว , ตำรายา

    เอกสารโบราณนี้อาจเป็นเอกสารฉบับเดียวกับ NPT003-010 ที่ขาดจากกันก็ได้เพราะมีเนื้อหาคล้ายๆ กัน คือ หน้าต้น กล่าวถึงตำรายารักษาโรคอาการและสูตรสมุนไพรในการรักษา ส่วนหน้าปลายเป็นตำราทำนายฝัน ซึ่งเขียนเป็นร้อยกรอง

  • NPT003-005 โจทย์คณิตศาสตร์

    ตำราเวชศาสตร์ , ตำราคณิตศาสตร์
    วัดห้วยตะโก , นครปฐม , นครชัยศรี , คณิตศาสตร์ , ตำรายา , โจทย์เลข , แบบฝึกหัด

    หน้าต้น กล่าวถึง โจทย์เลขคณิตสอนวิธี บวก ลบ คูณ หาร เขียนด้วยหมึกดำลายมือเป็นระเบียบสวยงาม หน้าปลาย เป็นตำรายา กล่าวถึงโรคและสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคนั้นๆ

  • NPT003-003 ปักขคณนา

    ปฏิทินโหรและปูมปฏิทิน
    วัดห้วยตะโก , นครปฐม , นครชัยศรี , ปฏิทิน , วัน , ตำรา

    สมุดไทยดําเรื่อง “ตําราปักขคณนา” ฉบับนี้เป็นตําราการคํานวณปฏิทินทางจันทรคติที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงคิดค้นและนิพนธ์ขึ้น ปักขคณนา คือการนับปักษ์๒ หรือนับวันในรอบครึ่งเดือนของข้างขึ้น ข้างแรม ซึ่งเป็นวิธีการนับปักษ์ที่มีความแม่นยําสูงมาก เนื่องจากปฏิทินจันทรคติฆราวาส หรือปฏิทินจันทรคติราชการมักจะมี ความคลาดเคลื่อนได้ภายในปี ไม่ว่าจะกําหนดอย่างไรก็ตาม การกําหนดนั้นทําได้อย่างมากคือ คลาดเคลื่อนน้อยที่สุดภายในปี ดังนั้นพระองค์จึงมีพระบรมราชานุญาตให้นําการคํานวณปักขคณนานั้นไปใช้ทําปฏิทินพระทุกปี แทนที่ปฏิทินฆราวาส

  • NPT003-009 พระธรรมเทศนา พระสังคหะ

    ธรรมคดี
    สมุดไทยขาว , วัดห้วยตะโก , นครปฐม , ธรรมคดี

    อภิธัมมัตถสังคหะ หมายถึง คัมภีร์ซึ่งรวบรวมเนื้อความของพระอภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์ ไว้โดยย่อ อันเปรียบเสมือนแบบเรียนเร็ว ต่อมามีผู้รู้ได้นำเอาคาถาในพระอภิธัมมัตถสังคหะมาสวดเป็นทำนอง สรภัญญะ (คือการสวดเป็นจังหวะสั้น ยาว) เรียกว่า สวดสังคหะ โดยนำเอาคำบาลีในตอนต้นและตอนท้ายของแต่ละปริจเฉท ซึ่งมีทั้งหมด 9 ปริจเฉทมาเรียงต่อกันเป็นบทสวด