เอกสารโบราณ

ตัวอักษร : ธรรมล้านนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 353 รายการ (40 หน้า)

RBR003-294 มโหสถ ผูก 5

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “๏ หน้าทับเค้า มโหสถ ผูก ๕ มี ๑๐ ผูกกับกัน ใต้เท้าค่อยพิจารณาดูเทอะ ะ” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มโหสด ๕” และดินสอ “๕” ท้ายลาน ระบุ “มโหสถชาตกํ นิฏฺฐิตํ มโหสถ ผูกถ้วน ๕ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนและ สำเร็จแล้วในเพล ปีชวด เดือน ๑๒ แรม ๓ ค่ำ พร่ำว่าได้วันศุกร์ ๚”, “๚ หน้าทับปลาย มโหสถ ผูก ๕ มีสิบผูกกับกันแลนายเหย ฯฯะ”

RBR003-295 มโหสถ ผูก 6

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ มโหสถ ผูก ๖ แล ะ๛” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “สมบัดของวัดหนามพุงดอ”, “มะโหสด ผูก ๖” และดินสอ “๕” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวยัง มโหสถชาตกํ ผูกถ้วน ๖ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯ ประดับประดาจบบริบูรณ์ พุทธศักราชล่วงไป ๒ พัน ปลาย ๔ ร้อย ๔ สิบ ๔ ปัจจุบันปีสลู (ฉลู) เอกศก ตกอยู่ในคิมหันต์ฤดู เดือนแปด ขึ้น ๕ ค่ำ วันเสาร์ เวลาบ่ายลงได้ดอกสักครึ่งโมง ๑ แล ๚ หมู่ศรัทธาเพิ่นพากันห่ายหอมเอาบาทใจกันได้แล้ว เพิ่นไปซื้อเอา ๚ ลานมาสร้างสิบชาติ ข้าเป็นผู้เขียน ข้าได้ชะใด ขอหื้อได้เหมือนกันนั้นเทอะ ๚ ส ๚ รัสสภิกขุน้อย บ้านให้เขียน เค้าม่วงเขียนแล (รัสสภิกขุน้อย บ้านเค้าม่วงให้เขียน) ข้าขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นที่แล้วแก่ข้าแด่เทอะ ข้าขอกุศลนาบุญไปรอดไปเถิงปิตตามาดา ปู่ย่า ตายาย ครูบาอาจารย์ข้าจิ่มเทอะ ข้าเขียนบ่ดีสักน้อยบ่เป็นถ้อยอยู่ (ควรเป็น พอเป็นถ้อยอยู่) ใบลาน ที่ผิดก็ผิด ที่ถูกก็ถูก ผิดที่ใดใส่หื้อจิ่มเทอะ ๚ ข้าบ่ใคร่หูหลาย ๆ (รู้หลาย ๆ) แล ทุอาวองค์ใดเล่าดูดีดี”

RBR003-296 มโหสถ ผูก 7

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ข้าเขียนปางเมื่ออยู่วัดหนองบักดอ รัสสภิกขุธรรมสุวรรณ ผิดที่ใด ใส่หื้อข้าจิ่มเทอะ ๚ หน้าทับเค้า มโหสถ ผูก ๗ แล ท่านผู้ใดเสาะหา พิจารณาดูเอาเทอะ”, “๚ หนังสือ มโหสถ ผูก ๗ มีสิบผูกกับกันแลนายเหย ฯฯะ” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “สมบัดของวัดหนามพุงดอ”, “มะโหสด ผูก ๖” และเขียนเลขโหรา อักษรธรรมล้านนา ด้วยดินสอ “๗” ท้ายลาน ระบุ “เทสนามโหสถชาตกํ มโหสถชาตก ผูกถ้วน ๗ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๏ ฯ เสด็จแล้ววัน ๑ ขึ้น ๑๑ ค่ำ วัน ๑ บ่าย ๕ ชั้นขวางแล ปีชวดแล ฯ ข้อขอหื้อมีสติปัญญาเหมือน ๑ เจ้ามโหสถ หื้อข้ามีคำอดเหมือน ๑ เจ้าเตเมย์ (เตมีย์) ขอหื้อข้าเทศนาธรรมเหมือนเจ้าวิธูร ช่างรับเอาบุญเหมือนนางผุสดี หื้อข้ามีฤทธีเหมือนพระยากัปปินราช หื้อข้ามีอำนาจเหมือนพระยาอินทร์ พระยาพรหมแล ขอหื้อผู้เจ้าใบลานเพิ่นจิ่ม ขอหื้อผู้เพิ่นคึดสร้างก่อนนั้นจิ่ม หื้อผู้เอามาเขียนนี้จิ่มข้านี้จิ่มเทอะ เจ้ามโหสถเหย ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ ผิดพร่อง ถูกพร่อง” หน้าปลาย ระบุ “หน้าทับเค้า มโหสถ มีอยู่ ๑๐ ผูกกับกันแล รัสสภิกขุจันทสุวรรณ อยู่บ้านใหม่เขียน ๓ ผูกกับกันแล ะ”

RBR003-297 มโหสถ ผูก 8

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “หน้าทับเค้า มโหสถ ผูก ๘ มี ๑๐ ผูกกับกันแลนายเหย” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มโหสด ผูก ๘” ท้ายลาน ระบุ “๚ มโหสถชาตกํ นิฏฺฐิตํ กริยาอันกล่าวยัง มโหสถ ผูกถ้วน ๘ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๏ รัสสภิกขุทอง เขียนปางเมื่ออยู่วัดหนองบัว เสด็จแล้ว ปีชวด เดือน ๑๑ แรม ๖ ค่ำ พร่ำว่าเป็นวันจันทร์แลนายเหย ๛ แล้วยามตะวันบ่าย หน้อย ๑ แล ตัวบ่ดีสักหน้อย พอเป็นถ้อยอยู่ใบลาน เจ้า [ตน/องค์] ใดได้อ่านได้เล่าก็ดี ที่ไหนบ่คับบ่คาย บ่ถูกบ่ถิ้มนั้นก็ว่าเอาเทอะ สาธุเจ้าคันธิยะได้ โปฏกํ ยังใบลาน ข้าขอกุศลนาบุญไปรอดไปถึงบิดามารดาเทอะ กับครูบาอาจารย์ ญาติพี่น้องข้า ชู่ผู้ชู่คนเทอะ กับเจ้าใบลานพื้น (เพิ่น-เพื่อน) คู่คนเทอะ ตัวข้าผู้เขียนจิ่ม ธุวํ ธุวํ จบแล้วแล นายเหย ะ”

RBR003-298 มโหสถ ผูก 9

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๑๐ ผูก” หน้าต้น ระบุ “ มโหสถ ผูก ๙ แล :๛” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มโหสด ผู ๙” ท้ายลาน ระบุ “มโหสถชาตกํ นิฏฺฐิตํ กริยาอันกล่าวยังมโหสถชาตก ผูกถ้วน ๙ อันเข้ามาในชาติถ้วน ๕ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛”

RBR003-299 มโหสถ ผูก 10

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , มโหสถ , ทศชาติ , ชาดก

RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ ๑๕ มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๑๐ ผูก” บันทึก หน้าต้น ระบุ “ มโหสถ ผูกปลายแล :๛ถ้วนสิบแล :๛” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มะโหสด ผูกที่ ๑๐” และเขียนอักษรธรรมล้านนา และตัวเลขไทย ด้วยดินสอ “ปาฺย ๑๐” ท้ายลาน ระบุ “มโหสถชาตกํ ปญฺจมํ นิฏฺฐิตํ ธมฺมเทสนา กริยาอันกล่าวแก้ไขยังมโหสถชาตก อันกดเข้ามาในชาติถ้วน ๕ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๏ ฯ เสด็จแล้ว ปีชวด เดือน ๑๑ แรม ๑๐ ค่ำ วันพระหัส เมื่อตาวันบ่ายลงแล ข้าเขียนหัดใหม่ บ่เคย อย่าไปด่าข้าเนอ ข้อขอโมทนากับจิ่มส่วนบุญ ข้าขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานแล้ว”

RBR003-302 ปัญหาราชสูตร

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , ปัญหาสูตร

หน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ปัญหาสูตร” / ด้านหลัง หน้าต้น ระบุ “รัสสภิกขุหน้อยหน้าพราน (หนานพา?) อยู่บ้านหนองบัวเขียนแล้ว ๛” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวยังธรรมอันชื่อว่า ปัญหาราชสูตร ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๛” หน้าปลาย ระบุ “หน้าปลาย ปัญหาราชสูตรแล ıı นายเหย คำเดียวมับมับแล ıı รัสสภิกขุอ้าย บ้านหนองบัว สร้างไว้ด้วยมือตนแล นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม แก่ข้าแด่เทอะ ๛”

RBR003-304 ชราสูตร

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , ชราสูตร

หน้าต้น ระบุ “หน้าทับเค้า ชราสูตร แลท่านเหย” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ชราสูต” / “ชราสูตร” ท้ายลาน ระบุ “ชราสุตฺตํ นิฏฺฐิตํ กริยาอันสังวรรณนายังธรรมเทศนา ชื่อ ชราสูตร ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ ๛ จบ ณ วันศุกร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๕ ค่ำ วัน ๖ ยามเมื่อค่ำชาวบ้านเลี้ยงงัวในวัด ปีชวดแล ข้าขอส่วนบุญจิ่ม ข้าเกิดมาชาติใดแสนใด ขอหื้อได้เถิงนิพพาน ขออย่าหื้อนานนัก”

RBR003-305 ขันธนาม ผูก 1

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , คัทธนาม , ชาดก , ขันธนาม

หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้าทับเค้า ขันธนาม ผูกต้นนิมนต์ทุพี่ทุอาวองค์ใดได้เล่าได้เรียน ค่อยพิจารณาดูเทอะ แล้วขออภัยโทษทุกองค์ นิมนต์ช่วยถนี่ถนอมชักสายสยองอย่างหนึ่งช่วยเก็บไว้จิ่ม ผมได้หันมานักแล้ว ผู้ดีก็ดีเหลือล้น ผู้ชั่วก็ขี้บ่ปานแลนา ” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ขันธนู ผูก ๑” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวห้องขันธนาม ผูกต้น ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ฯะ เสด็จแล้วยามตาวันบ่าย ๓ โมงกว่า ฯะ ปีมะเมีย เดือน ๘ แรม ๘ ค่ำ พร่ำว่าได้วันอาทิตย์แลนา ยังมีศรัทธาโยมหลวงอิ่มเป็นเจ้าใบลาน ฯ ยังมีศรัทธารัสสภิกขุปุย วัดนาหนอง ไปนำเอามายังหนังสือลาวมาแต่กวงลาด มาคัดออกไว้ยังเป็นลาวกึ่งยวนกึ่งบ่สู้ชัดเจนแท้ดีหลาย ฯ แล ยังมีศรัทธารัสสภิกขุทำ บ้านหัวนาไปนำเอามาจากวัดท่งหญ้าคมบาง เพราะว่ามาจำพรรษาอยู่กับทุอาวบุตรวัดบ้านโค้งดอย เพราะว่าได้สอบซ่อมกับเพิ่น ข้าก็บ่แตกฉาน ฯ แท้ ปัญญาก็หน้อยแลนา คันว่า ตกบ่ใคร่เพราะ แล้วช่วยเพิ่มเติมหื้อจิ่มเนอ ๚ ข้ามีศรัทธาสร้างจิ่ม เขียนจิ่ม พร้อมไปด้วยญาติโยมพี่น้องชู่ผู้ชู่ตน ขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอดเขาะขอดเสี้ยงทุกอันเทอญ ฯะ ศาสนาล่วงไปได้ ๒ พัน ๔ ร้อย ๖ สิบ ๒ พระวัสสา” (ตัวเอียง จารไว้ขอบด้านขวาของหน้าลาน) หน้าปลาย เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “ผูกต้น ผูกต้น มี ๗ ผูก”