RBR_003_336 อยู่ใน “เลขที่ ๑๔๑ ตำนานพญาอินทร์, พระแก้วดอนเต้า, พญาจิตราช อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด, ลานดิบ ๙ ผูก” หน้าต้น ระบุ “หน้าทับ พุทธตำนานแลนายเหย บ่านาค น้องพี่อร อ้ายน้อยยอด” หน้ารอง หน้าต้น ระบุ “หน้าทับเค้า พุทธตำนานเหย” / หน้าหลัง เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ตำนานพญาอินทร์” ท้ายลาน ระบุ “เสด็จแล้ววันศุกร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ แรม ๒ ค่ำ วันศุกร์ ข้าเขียนพุทธตำนานนี้ ข้าขอส่วนกุศลนาบุญอันี้ไปรอดไปเถิงพ่อแม่พี่น้องวงศาทั้งมวลนั้นเทอะ ธุวํ ธุวํ แก่ข้าเทอะ ข้าขอพระปัญญามาปันหื้อข้าพร่องแด่เทอะ หน้าทับเค้าพุทธตำ[นาน]แล เขียนตัวบ่ดีไปด่าข้าเนอ อยากใคร่ได้บุญเต็มทีแลนายเฮย ข้อยรัสสภิกขุ อิ ดอนซาด ปางเมื่ออยู่วัดดอนแจงแลนายเหย ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐”
RBR_003_337 อยู่ใน “เลขที่ ๑๔๑ ตำนานพญาอินทร์, พระแก้วดอนเต้า, พญาจิตราช อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด, ลานดิบ ๙ ผูก” ท้ายลาน ระบุ “สมเร็จเสด็จบรมวลกาลควรเท่านี้ก่อนแล ๛ เขียนเดือน ๗ แล้วเดือนแปด ขึ้น ๑๕ ค่ำ ซ้ำใช้ปลาย่างไปนอนกับแมว ซ้ำใช้ลูกไก่นอนกับแหลว ซ้ำใช้แมวไปนอนกับหมา ใช้ลูกกาไปนอนกับไก่ ใช้หน่อไม้ไปนอนในในหม้อ ใช้ปลาก่อไปนอนในเขียง เขียงครัวปลา ใช้อีหล้าไปนอนในเรือน ใช้เดือนไปนอนกับตาวัน ใช้มดแดงคันไฟนอนในหม้อตาล ฯ๏ฯ” จบแต่เท่านี้แล ๚ นายเหย หน้าต้น หน้าปลาย ระบุ “หน้าทับเค้า พุทธตำนาน ข้อยเขียนบ่ช่างสักหน้อย ปัน (ปาน) หนึ่งปูยาดคันนา ปัน (ปาน) หนึ่งปลาบ้วนอยู่ในน้ำเป็นพวกเป็นฝูงแลนายเหย ภิกขุแก้วปางเมื่ออยู่วัดดอนแจงแลนายเหย ข้าเขียนบ่ดีสักน้อย ข้าขอกุศลไปไปรอดฮอดพ่อฮอดแม่ ข้าจิ่มตัวข้าจิ่มเนอ”
RBR_003_338 อยู่ใน “เลขที่ ๑๔๑ ตำนานพญาอินทร์, พระแก้วดอนเต้า, พญาจิตราช อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด, ลานดิบ ๙ ผูก” หน้าต้น ระบุ “พุทธตำนาน หนังสือวัดท่งต้นตาล” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “พุทธตำนาน” และสีน้ำเงิน “เขียนเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๙” ท้ายลาน ระบุ “ก็บังคมสมเร็จเสด็จบรมวลควรแก่กาลเท่านี้ก่อนแล ๛ เสด็จแล้วเดือน ๗ ขึ้น ๓ ค่ำ พร่ำว่าได้วัน ๖ จุลศักราชได้ ๒ พัน ๔๐๐ ๔ สิบ ๙ พระวัสสา ตนข้าน้อยผู้ชื่อว่า รัสสภิกขุ อาริยะพุทธะอัตติ เขียนบ่งามสักหยาด เหมือนปูยาดคันนา ข้าขออย่านินทาขวัญข้าจิ่มเทอะ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ ๛” หน้าปลาย “หนังสือตำนานพระยาอินทา หนานภิว สร้างไว้ค้ำชูศาสนาพระโคตมเจ้านี้ ข้า [ขอ] สุข ๓ ประการ มีนิพพานเจ้าเป็นยอดเขาะขอดเสี้ยงทุกอันแด่เทอะ”
ท้ายลาน ระบุ “พุทธโฆโสผูกเดียวแลแล ๚ แล้วยามบ่ายสองโมงแล พร่ำอังคารแล ทุพี่เหย ๚ ขออย่าลายมือกับศาสนาพระตถ[า]คต พร่องแด่เทอะ ข้อขอกุศ[ล]นา[บุญ] อันไป[รอด]บิดามารดา ข้าจิ่มเทอะ ขอหื้อไปรอดญาติกาครูบาอาจารย์ข้าแด่ ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ ข้อขอสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นที่แล้วแด่เทอะ ปุญฺญกฺเขตฺตํ ปิตฺตกตยํ นิพฺพาน ปจฺจโย อหํ สาสเน เมตฺเตยฺยสฺสสุนาติธมฺมํ นิจฺจํ นิจฺจํ ı นิพฺพาเนติ ฯฯ ” / “หน้าทับเค้า หนังสือพุทธโฆโส รัสสภิกขุมากดำมอย บ้านแจงดอน ทุพี่องค์ใดเราขอใส่จิ่มเนอ ทุพี่เหยเพราะบ่เคยกำเหล็กจาคำเทื่อ” หน้าปลาย เขียนอักษรไทย “พุทธะโฆโสผูกเดียว”
หน้าต้น ระบุ “๏ หน้าทับเค้า อานิสงส์ปิฏก แลนายเหยที่ไว้เหย ฯ” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาสีแดง “อานิสงส์ปิตะกะ” ท้ายลาน ระบุ “โบราณกปฺปิลชาตกํ นิฏฺฐิจํ กริยาอันกล่าวอานิสงส์แห่งอันได้สร้าง ธรรมปิฏกทั้ง ๓ ก็สมเร็จเสด็จแล้ว บรมวลเท่านี้ก่อนแล ๏ıı๛ เสด็จแแล้วยามเช้าก่อนเพลแล วัน ๓ [อัง] คาร เดือน[เ]เปดศีล ๚ จุลศักราชได้ สองพัน สี่ร้อย กับซาวสาม พระวัสสา ปจฺจโย โหตุ เม ฯฯ๛ ข้าเขียนบ่งามแท้เนอ เจ้าคุณวันเหย โอยจบ (เจ็บ?) แอวแอ”
หน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “อานิสงส์เวสันตะระ” หน้ารอง หน้าต้น ระบุ “หน้าต้น หนังสืออานิสงส์มหาเวสสันตระ อาวหนานฅำ สร้างไว้ในศาสนาพระโคตมเจ้า ตราบต่อเท่าเข้าสู่พระนิพพา[น]” ท้ายลาน ระบุ “สํวณฺณนา ก็กล่าวยังอ[า]นิสงส์ มหาเวสฺสนฺตรกณฺเฑสกฺเข แต่กริยาอัน อานิสงฺสผล อันได้บูชา มหาเวสฺสนฺตรชาตก ก็บรมวลควรแก่กาลเท่านี้ก่อนแล ฯฯ” หน้าปลาย เขียนอักษรไทย ด้วยดินสอ “นายอยู่เรียนแล้ว”
หน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “อานิสงส์” และสีแดง “เวสันตะระ” หน้ารองหน้าต้น 1 ระบุ “หน้าทับต้นอ[า]นิสงส์มห[า]เวสสันตระแล นาตํนอะนิสํงม่หาเวษสันต่ระแลทารเอย ฯ ” (ตัวเอียง จารอักษรไทย) / เขียนอักษรไทย ด้วยดินสอ “ นาตน” หน้ารองหน้าต้น 2 ระบุ “ไมงามเลยทารเอย ไมดีเลยทารเอย ” (ตัวเอียง จารอักษรไทย) ท้ายลาน ระบุ “สํวณฺณนาอานิสงฺสมหาเวสฺสนฺตรกณฺเฑสกฺเข แต่กริยาอันกล่าว อ[า]นิสงฺสผล อันได้บูชา มหาเวสฺสนฺตรชาตก ก็บรมวลควรแก่กาลเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛” หน้าปลาย ระบุ “ส่วนกุศลบุญอันข้าได้เขียน ขอหื้อนำเอาตนตัวข้าไปเกิดในดวงแก้วที่ข้ามานั้นเทอะ ๛ / หน้าทับอานิสงส์มหาเวสสันตรแล ๛”