เอกสารโบราณ

ตัวอักษร : ธรรมล้านนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 353 รายการ (40 หน้า)

RBR003-217 หอยสังข์ ผูก 2

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , หอยสังข์ , สุวรรณหอยสังข์ , สุวรรณสังข์

RBR_003_216-222 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 35 สุวรรณหอยสังข์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 7 ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “เรื่องหอยสังข์มี 6 ผูก” RBR_216-217 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่น “หอยสังข์ผูกที่ ๒” และเขียนอักษรธรรมด้วยดินสอดำ “ผูกที่ ๒”, “ผูก ๒ วัดใหญ่” / ด้านหลัง เขียนอักษรขอมไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน“ทฺทายถานิหิอํปตุพุทฺโธอํสุนาเมเหกฺนน” ลานแรก ด้านซ้ายมือ “สุวรรณหอยสังข์ ผูก ๒” ท้ายลาน ระบุ “สุวณฺณสงฺขราช นิฏฺฐฺตํ กิริยาสังวรรณนาสังขราช อันถ้วน ๔ ก็เสด็จบอระบวลควรแก่เท่านี้ก่อนแล ☼ เสด็จแล้วยามเมื่อตาวันบ่ายโมง ๑ แลนายเหย พร่ำว่าได้วันอังคารแลนายเหย ยามเมื่อเพิ่นเทศน์คาถาพันนั้นแลนายเหย เพราะชีนั้น ตัวบ่่บิด เพราะว่าหันอีนั้นมันนั่งอยู่ริมหัวขั้นได อี ๑ นั้นมันอยู่ทัดเสาหั้นหนาอาเหย รัสสภิกขุอยู่บ้านนาหนอง เขียนหนังสือนี้ไว้ค้ำชูศาสนา มีทุโทพร้อมกับโยมดี โยมมูน กับเอื้อยมี อีทิพย์ อีชำ บาเรือน บาเจียม บาเคียม กับทุุพี่โห อย่าไปด่าข้าเนอ ทุพี่โหเหย เพราะว่าใจบ่ดี หันสาวมันมาวัด วันเทศน์คาถานั้นหนาอาเหย แก้มอองตอง ทองบ่พอให้ เจ้ารอเอาให้พอเฟื้อง ทิพย์เหย ทิพย์เหย” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “โยมดี โยมมูน สร้างไว้กับศาสนา ๕๐๐๐ วัสสา” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “ผูก ๒ วัดอ่างทอง”

RBR003-215 ก่ำกาดำ ผูก 3

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , ก่ำกาดำ , พิมพาขะนุ่นงิ้ว

RBR_003_213-215 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 56 กล่ำกาดำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด-ลานดิบ” พบเพียง ๓ ผูก หน้าทับต้น ระบุ “พิมพาขะนุ่นงิ้ว ผูกถ้วน ๓ แล มีกับกัน ๔ ผูก” เขียนอักษรไทยด้วยปากกาน้ำเงิน “ก่ำกาดำ มาจากบางกะโด” หน้ารอง หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ก่ำกาดำ มาจากบางกะโด” ท้ายลาน ระบุ “สํวณฺณนา พิมฺพาชาตกํ กิริยาอันกล่าวแก้ไขยังพิมพาขะนุ่นงิ้วผูกถ้วน ๓ ก็สมเร็จแล้วเท่านี้ก่อนแล” / “ก็มีแลนายเหย กรุณาสัตตริจสา”

RBR003-213 ก่ำกาดำ ผูกต้น

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , ก่ำกาดำ , พิมพาขะนุ่นงิ้ว

RBR_003_213-215 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 56 กล่ำกาดำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด-ลานดิบ” พบเพียง ๓ ผูก หน้าทับต้น ระบุ “๏ หน้าทับเค้าก่ำกาดำผูกต้นแลนายเหย พีสี รัสสภิกขุพรหมสอนอยู่บ้านหล่ายหนองเขียนหนังสือผูกนี้ขอหื้อค้ำชูศาสนาต่อเท่าพระอริยะ” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “กล่ำกาดำผูก๑” ลานแรก ด้าน“พิมพานุ่นงิ้วผูกต้น” ท้ายลาน ระบุ “พิมฺพาสิมฺพลียํ ปฐมํ นิฏฺฐิตํ กิริยาสังวรรณนาพิมพาขะนุ่นงิ้วผูกต้น ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล๛” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ

RBR003-207 ก่ำกาดำ ผูก 2

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , ก่ำกาดำ , พิมพาขะนุ่นงิ้ว

RBR_003_201-211 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๗ กล่ำกาดำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๑๑ ผูก” RBR_206-208 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “※๚ หน้าทับเค้าหนังสือก่ำกาดำ ผูกถ้วน ๒ แลพิมพาขะนุ่นงิ้วแล ฯฯ๛” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวสังวรรณนาจาห้องค่าวนางพิมพาขะนุ่นงิ้ว มารอดผูกถ้วน ๒ อันอาจารย์เจ้าขอดเป็นโวหารตามนิทานกล่าวไว้ วิสัชนาคลองใคร่บอกคถา นิฏฺฐิตา ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛ เสด็จแล้วปีชวด เดือน ๗ แรม ๙ ค่ำ วัน ๕ ยามก่อนเพลแล ขอสุข ๓ ประการ นิพพานเป็นที่แล้วก่อนแล เอื้อยเสา สร้างไว้ในพระศาสนาพระพุทธเจ้าแห่งเราก่อนแลแล ฯฯ๛”

RBR003-181 ปทุมบัวหอม ผูก 4

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , ปทุมบัวหอม

RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” RBR_003_179-181 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “ฯหน้าทับเค้าปทุมบัวหอมผูก ๔”, เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ บัวหอมผูก ๔”และ “สร้างพ.ศ. ๒๔๔๒ ปีกุน”

RBR003-180 ปทุมบัวหอม ผูก 3

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , ปทุมบัวหอม

RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” RBR_003_179-181 เป็นชุดเดียวกัน หน้าก่อนทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “บวัหอม ผูก ๓” หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าทับเค้าปทุมบัวหอม ผูก ๓ แล ฯฯ๛” / “ศรัทธาอาวหนานจันดี กับภริยา ชื่อว่า อาเภียร มีศรัทธาสร้างธรรม ชื่อว่า อภิธรรม ๓ ไตร กับบัวหอม ขอหื้อไปรอดลูกผู้ ๑ ชื่อว่า หนานปาน ลูกเขยผู้ ๑ ชื่อว่า รอด นอกกว่านั้นทั้งปิตามารดาชุผู้ชุคนแด่ แด่เทอะ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ จุ่งมีแก่ข้าแด่เทอะ ฯฯ๛” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน“บวัหอม ผูก ๓” และ “สร้างในพุทธศักราช ๒๔๔๒ พ.ศ.๒๔๔๒” (อักษรตัวเอียง เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน) ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวสังวรรณนายังปทุมคันธะกัณฑ์ถ้วน ๓ ก็สมเร็จเสด็จแล้วบัวระมวลควรแก่กาลเท่านี้แล แลนายเหยฯ” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ

RBR003-179 ปทุมบัวหอม ผูกต้น

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , ปทุมบัวหอม

RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” RBR_003_179-181 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “หน้าทับเค้าบัวหอมผูกต้นแลฯฯ๛” เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๑” และ “สร้าง พ.ศ.๒๔๔๒ ปีกุน”

RBR003-178 ปทุมบัวหอม ผูก 5

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , ปทุมบัวหอม

RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1–6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” RBR_003_176-178 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “หน้าทับเค้า ปทุมบัวหอม ผูกปลาย มีกับกัน ๕ ผูก แลเหย” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “พ.ศ. ๒๔๓๓” / ลานแรกด้านขวามือ ระบุ “ปทุมบัวหอม ผูกถ้วน ๕” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันมาแก้ไขเทศนายังโคนะบุตรชาดก ยกแต่เค้าตราบต่อเท่าเถิงผูกถ้วน ๕ ก็บังคมสมเร็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ บัวหอมผูกปลายแล พ่ออย่าได้ไปนินทาจาขวัญข้อยแด่เทอะ ทุพี่พระทุพี่เหย เหตุว่าใคร่ได้บุญเต็มที่เหตุว่าบ่ช่างดีหลายแลนายเหย ขอหื้อนาบุญไปรอดไปเถิงครูบาอาจารย์พ่อแม่พี่น้องชู่ผู้ชู่คนแด่เทอะ รัสสภิกขุสีเขียนแล ตกกับผิดเสียแควนหลาย ตัวก็บ่เสมอกัน พ่อยังยายอยู่ถ้อยจิ่มเพิ่นทั้งนั้น มะยูงกูงกิง เหมือน ๑ ปูเขี่ยขอบนาท่งองนั้นแล ใจมันบ่ตั้งเพราะว่าเจ็บหลังเจ็บแอวเต็มทีแลนายเหย ผูกถ้วน ๕ แล ผู้ใดได้เล่านิมนต์พิจารณาผ่อหื้อถี่ถี่ ไม้อันใดตัวอันใดหู ผ่อหื้อถี่ถี่ดูเทอะ ที่ไหนตกนิมนต์ใส่หื้อจิ่มเทอะเนอทุพี่เหย ข้าเขียนปางเมื่ออยู่วัดดอนมะโกแก้วกว้าง บริบูรณ์เสด็จแล้ว ตะวันพาดปลายไม้แล้ววันศุกร์ ปีขาล เดือน ๑๐ ขึ้นหกค่ำ พร่ำว่าได้วันศุกร์แลนายเหย๛” เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “เขียนเมื่อวันที่ 19 วันศุกร์ เดือนกันยายน ขึ้น ๖ ค่ำ ปีขาล พ.ศ. ๒๔๓๓”

RBR003-177 ปทุมบัวหอม ผูก 2

ธรรมคดี
ไทยวน , เชียงแสน , ล้านนา , ราชบุรี , วรรณกรรมพื้นบ้าน , ชาดก , ปทุมบัวหอม

RBR_003_176-186 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 50 ปทุมบัวหอม ผูก 1-6 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 11 ผูก” RBR_003_176-178 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “บัวหอมผูก ๒” / ลานแรกด้านขวามือ ระบุ “ปทุมบัวหอมผูกถ้วน ๒” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนายังนิยายจาด้วยดอกบัวหอม ทุติยะกัณฑ์ถ้วน ๒ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ บริบูรณ์เสด็จแล้วยามแถจักใกล้ค่ำ พร่ำว่าได้ปีขาล เดือน ๙ แรม ๘ ค่ำ พร่ำว่าได้วัน ๑ แลนายเหย ข้าเขียนบ่ดีบ่งาม ใหม่แล เหตุใคร่ได้บุญเต็มทีแลนายเหย ตกกับผิดเสียแควนหลาย ขออย่าไปด่าจาขวัญข้าแท้เนอเจ้าเนอ นายเนอ ลางตัวก็ใหญ่ ลางตัวก็น้อย บ่เสมอแท้แล ๛ ข้าขอกุศลบุญอันนี้ไปรอดบิดามารดาครูบาอาจารย์ข้าจิ่มเทอะ เอ้ย(เอื้อย) อ้าย น้อง ข้า จิ่มเทอะ” หน้าทับปลาย ระบุ “เขียนเมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๓ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๘ ค่ำ เดือน ๙ ปีขาล ร.ศ.๑๐๙ เขียนเมื่ออยู่วันดอนตะโกและ” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินและดินสอ