หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าทับเค้าหมาหลูย ผูกต้น”, เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “หมาหลุย ผูก ๑” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “มี ๒ ผูกกับกัน” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวสังวรรณนาแก้ไขยังสุนัขชาดก ผูกต้น ยังอันสลิดตีต่อกันไปมาภายหน้า ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแลนายเหย เขียนบ่ดีสักน้อย ปูยาดหัวคันนานั้นแล้ว รัสสภิกขุอินสร ปางเมื่ออยู่วัดหนองปลาหมอ ขอกุสลานาบุญอันนี้ไปรอดบิดามารดา พี่น้อง ครูบาอาจารย์ข้าจิ่ม กับตนตัวข้าจิ่มเทอะ ธุวํ ๆ แก่ข้าแด่เทอะ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุเม อนาคเตกาเล ฯ เขียนจบวันภะหัต แรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ นายเหย ฯ”
ลานแรกด้านซ้าย ระบุ “หน้าต้น หมาหลุย ผูกปลาย มี ๒” ท้ายลาน ระบุ “สตฺถา อันว่า สัพพัญญูพระพุทธเจ้าแห่งเรา ก็เทศนาแก้ไขยังอติตธรรมเทศนาอันนี้มาหื้อแจ้งแก่จตุบริษัท ๔ จำพวกแล้ว ก็ควรจำไว้ในมโนทวารวิถีจิตหื้อมั่นแท้ อย่าได้ประมาทแก้วทั้ง ๓ ประการ แม้นชื่อดังฤๅก็ดี ก็จักได้เถิงสุข ๓ ประการ มีนิพพานเจ้าเป็นที่แล้วบ่อย่าชะแล || สุนขาชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันจักสังวรรณนาแก้ไขยังสุนัขขาชาดกอันยกมาแต่เค้าตราบต่อเท่ามารอดเถิงปลาย ย่อมเป็นนิยายหลายประการต่างหากปูนวอน ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วบอระมวลควรแก่กาลเท่านี้ก่อนแล เสด็จแล้วตาวันใสน้ำแลงแล เดือนอ้าย ขึ้น ๕ ค่ำ พร่ำว่าได้วัน ๒ เพราะว่าอยากกินมาอันทันประเดี๋ยวนี้แลนา รัสสภิกขุเริง สร้างหนังสือมาหหลุย ผูกปลาย มีกับกัน ๒ ผูกแลเจ้าเหย” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอ
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๕๕ มะลิซ้อน อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ๕ ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะลิซ้อน มี ๔ ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มะลิซ้อน ผูกที่ ๒ มีกับกัน ๒ ผูก” หน้าลานแรก เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มะลิซ้อน ผูกปลาย” ท้ายลาน ระบุ “นนฺทเอกราชกุมารํ นิฏฺฐิตํ กล่าวยังธรรมเทศนานันทกุมาร ผูกปลาย นิฏฺฐิตํ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ จบแล้วนายเหย เขียนบ่ดีสักหน้อย เหมือนปูน้อยยาดคันนาแล ยังมีศรัทธาผู้ข้า ชื่อว่าพุทธบาร ปางเมื่อบวชอยู่วัดนาหนอง ได้วัสสา ๑ ก็พร้อมกับด้วยโยมแลพี่น้องชู่ผู้ชู่คนแด่เทอะ ขอหื้อเป็นนิสัยปัจจัยแด่เทอะ” ลานสุดท้าย จารอักษรธรรม “หันสักเทื่อ” และเขียนอักษรธรรมด้วยเมจิกสีน้ำเงินจางๆ “XXXXXหนังสือมะลิซ้อน” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๔ อ้อมล่อมมะต่อมคำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ๕ ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน ระบุ “อ้อมล้อมต่อมคำ มี ๒ ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ออ้มลอมมะตอมคำ ผูกปลาย ” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “อ้อมล้อมต่อมคำผูกปลายแล” ลานแรกถูกตัดขอบด้านซ้ายมือ กินอักษรไปเล็กน้อย “หน้าทับเค้าอ้อมล้อมต่อมคำ ผูกปลายนายเหย” ท้ายลาน ระบุ “สุวณฺณราชชาตกํ กล่าวห้องสุวรรณชาตกํ ก็สมเร็จบอระมวลควรแก่กาลเท่านี้ก่อนแล ๚๛ เสด็จแล้วแล ๚ รัสสภิขุสีหน่อแก้ว บ้านใหม่ สร้างไว้ค้ำชูพระศาสนาหน้าแล ๚ รัสสภิกขุอินทสุ[ว]รรณ อยู่บ้านมะโก แลนายเหย อย่าไปติทายเทอะ เนอบ่สู้ซะนานหลายแล ทุอาวอ้ายฅำเป็นผู้เขียน ทุอาวอ้ายแก้วเป็นผู้สร้าง”
มัดรวมกัน มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน ระบุ “เรื่องสุริน มี ๕ ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “สุริน ผูกที่ ๑” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “สุรินท ผูกต้นแล” ท้ายลาน ระบุ “สุรินทชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวยังห้องสุรินทชุมพู ผูกต้น ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ ศรัทธาโยมดวง โยมฅุ้ม สร้างแล ขอสุข ๓ ประการเป็นยอดชู่คนๆ ผู้ข้าเขียนกับผู้สร้าง ขอหื้อได้เหมือนกันแด่เทอะ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ”
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๒ โชติกเสรฏฐี อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๓ ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “โชติกะเศรษฐี มี ๔ ผูก” หน้าทับต้น “เมณฑกเสฏฐี ผูก ๓ แลท่านเอย๛”, เขียนอักษรไทยด้วยปากกาคอแร้ง “เมณถก่เสดถี” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอ “ดอนแจง” ท้ายลาน ระบุ “เมณฑกวตฺถํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันสำแดงเมณฑกวัตถุผูกถ้วน ๓ ก็สมเร็จเสด็จแล้ว เท่านี้ก่อนแล๛หน้าต้นหนังสือเมณฑกเสฏฐีแล ๏ ฯ เสด็จแล้วปีมะโรง จัตศก ตกอยู่ในคิมหันตฤดู เดือน ๗ แรมสิบ ๑ ค่ำ วัน ๒ แลเจ้าที่ไหว้ [นิพฺ]พาน ปจฺจโย โหตุ เม ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่ ๛ มีรอยแก้ไขด้วยปากกาเมจิกสีดำ
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๕๗ สุวรรณเหนคำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๔ ผูก” หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “เห็นคำ”, ลานแรก ด้านซ้ายมือระบุ “เหนฅำ ผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “สุวรรณชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันเทศนายังสุวรรณชาดกยกแต่เค้าเถิงปลายก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๏ เสด็จแล้วจบบ่าย ๒ โมงแลนายเหย ปีวอก เดือน ๙ แรม ๑๓ ค่ำ วัน ๗ แลนายเหย รัสสภิกขุฅำ อยู่วัดนาหนอง บ้านอยู่นาหนอง ข้าได้สร้างธรรมเหนฅำผูกนี้ ข้าขอสุข ๓ ประการแด่เทอะ ขอหื้อไปรอดพ่อแม่พี่น้องชู่ผู้ชู่คนแด่เทอะ กับตนตัวข้าจิ่มเทอะ เหตุว่าใคร่ได้บุญเต็มทีแลนายเหย ใจบ่ตั้งเหตุว่าใคร่สิกข์เต็มทีแลเจ้าเหย ตัวใหญ่ก็ใหญเท่าช้าง น้อยก็น้อยเท่าหิ่งห้อย บ่เท่ากัน ที่ตกก็ตก ที่ผิดก็ผิด เสียหลายแลนายเหย บ่อเคยสักคำเทื่อแลเจ้าเหย ขออย่าไปด่าหีแม่ข้อยเนอ ทุพี่พระพี่เหย ผิดที่ใดนิมนต์ใส่หื้อจิ่มเทอะ ข้าขอสุข ๓ ประการ นิพพานเป็นยอด ธุวํ ธุวํ แด่เทอะ หน้าทับเค้าหนังสือเหนฅำผูกเดียวนี้ม่วนหลายแท้เนอ” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน สีแดง และดินสอดำ
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๓ บัวรมบัวรอย นกแลฅำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด ทองทึบ ๘ ผูก ลานแรก ระบุ “นกแรฅำ ผูกปลาย” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาสังวรรณนา เต ปทุมชาดก ยกแต่เค้าเถิงปลาย ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล || เสด็จแล้ววัน ๗ เดือน ๑ ใต้ เดือน ๑๐ เหนือ แรมสี่ค่ำ ข้าเขียนบ่งามสักน้อย เหมือนไก่เขี่ยหัวมอง ศรัทธานางเมาหาโปฏกยังใบลานมา ข้าชื่อว่า หนานมูร” ผู้จารเป็นคนเดียวกันกับ RBR003-126 มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ
หน้าทับเค้าระบุ “ฯı เขียนยามเมื่ออุปสมบทอยู่วัดดอนแจง ฯ ฯı หน้าทับเค้าพุทธตำนานแลท่านเหย ฯ๛๛ฯ ฯı ตัวบ่ดีสักน้อยเหมือนปูน้อยยาดหัวคันนา ฯ”, “เป็นที่ระลึก” และ “๛ฯ[กลับด้านซ้ายขวา] ครั้นว่าตายไปตกที่ร้ายขอหื้อ ฯı๛ ๛ฯ[กลับด้านซ้ายขวา] ยกย้ายขึ้นสู่ที่สูงแด่เทอะฯ๛” ท้ายลานระบุ “จบราทธนาเทศน์เท่านี้ก่อนแลท่านทั้งหลายเหย ฯı๛” หน้าทับปลายระบุ “หน้าปลายพุทธตำนานแลท่านเหยนายเหย ฯı๛ พระเวียนเขียนยามเมื่ออยู่วัดดอนแจงนี้แล ฯı๛”, “เป็นเป็นที่พระระลึก” และ “เสด็จแล้ววันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น ๗ ค่ำ ๓ โมงเช้า ฯı ปีวอก พระพุทธศักราชได้ ๒๔๖๗ ฯı๛”