RBR_003_216-222 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 35 สุวรรณหอยสังข์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 7 ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “เรื่องหอยสังข์มี 6 ผูก” RBR_216-217 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่น “หอยสังข์ผูกที่ ๒” และเขียนอักษรธรรมด้วยดินสอดำ “ผูกที่ ๒”, “ผูก ๒ วัดใหญ่” / ด้านหลัง เขียนอักษรขอมไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน“ทฺทายถานิหิอํปตุพุทฺโธอํสุนาเมเหกฺนน” ลานแรก ด้านซ้ายมือ “สุวรรณหอยสังข์ ผูก ๒” ท้ายลาน ระบุ “สุวณฺณสงฺขราช นิฏฺฐฺตํ กิริยาสังวรรณนาสังขราช อันถ้วน ๔ ก็เสด็จบอระบวลควรแก่เท่านี้ก่อนแล ☼ เสด็จแล้วยามเมื่อตาวันบ่ายโมง ๑ แลนายเหย พร่ำว่าได้วันอังคารแลนายเหย ยามเมื่อเพิ่นเทศน์คาถาพันนั้นแลนายเหย เพราะชีนั้น ตัวบ่่บิด เพราะว่าหันอีนั้นมันนั่งอยู่ริมหัวขั้นได อี ๑ นั้นมันอยู่ทัดเสาหั้นหนาอาเหย รัสสภิกขุอยู่บ้านนาหนอง เขียนหนังสือนี้ไว้ค้ำชูศาสนา มีทุโทพร้อมกับโยมดี โยมมูน กับเอื้อยมี อีทิพย์ อีชำ บาเรือน บาเจียม บาเคียม กับทุุพี่โห อย่าไปด่าข้าเนอ ทุพี่โหเหย เพราะว่าใจบ่ดี หันสาวมันมาวัด วันเทศน์คาถานั้นหนาอาเหย แก้มอองตอง ทองบ่พอให้ เจ้ารอเอาให้พอเฟื้อง ทิพย์เหย ทิพย์เหย” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “โยมดี โยมมูน สร้างไว้กับศาสนา ๕๐๐๐ วัสสา” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “ผูก ๒ วัดอ่างทอง”
หอยสังข์ ผูก 2 (RBR003-217). (2564). สืบค้น 05 กุมภาพันธ์ 2568. จาก ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย. http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=609
หอยสังข์ ผูก 2 (RBR003-217). [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก : http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=609. (วันที่ค้นข้อมูล : 05 กุมภาพันธ์ 2568)
หอยสังข์ ผูก 2 (RBR003-217). สืบค้นเมื่อ 05 กุมภาพันธ์ 2568. http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=609