RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_195-197 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากลูกลื่นสีแดง “จันทะคาดผูกที่ ๒” หน้ารองหน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาสีน้ำเงิน “จันทคาดผูก ๓” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “จันทฆาตผูกถ้วน ๓” ด้านหลังเขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “ผูก ๒” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูกถ้วน ๓” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวยังจันทฆาต ผูกถ้วน ๓ ก็เสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ ๛ บริบูรณ์เสด็จแล้วแลนายเหย ๚ ปีชวด โทศก ตกอยู่ในคิมหันต์ฤดู เดือน ๙ ขึ้น ๙ ค่ำ พร่ำว่าได้วัน ๗ ยามบ่ายแลนายเหย || ยังมีศรัทธาอาวชายธองกับทั้งภรรยา ชื่อว่า นางธิดา ก็พร้อมกันกับลูกเต้าชายหญิง ขอหื้อ[เ]พิ่น ได้สุข ๓ ประการมีนิพพานเป็นยอดแด่เทอะ || ตนตัวผู้สร้างอยู่บ้านดอนกอก ก็ว่าหื้อท่าน หร เขียนบ่แพ้ ก็เอาแภแห้วมาหื้อคุณสุวัณระซรX เขียนปางเมื่ออยู่วัดหนองนาหนองมองทองแก้วกว้าง ตนผู้บ้านกอกดอนมีนามกร ชื่อว่า ธอง แดงดา เหย ๑ ผู้ข้าน้อยหน้อยเป็นผู้เขียน ข้าขอสุข ๓ ประการผญาปัญญาเสลียวสลาดเสมอกันแด่เทอะ อกข้าตายเป็นดีอาย เจ้าของพื้นแท้หนอน้อยนอนายน้องเหย รางตัวเท่าช้าง รางตัวเท่าแมว แอวก็เจ็บ ที่ตกก็ตก ที่ผิดก็ผิด ทุพี่พระพี่ก็ดี ได้เล่าได้เรียนตกที่ใด นิมนต์ใส่หื้อจิ่มเนอ อย่าไปด้าข้อยเนอ โหตุเม นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ แก่ข้าเทอะ เป็นดีอายพื้นแท้หนอ เป็นดังไก่เขี่ยหญ้า ปูหน้อยยาดคันนา อย่าบ่เขียนก็เขียน ทุคือ โห่ บ่ได้เป็นดี ใคร่ไห้แท้เด อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ แด่เทอะนาย” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำและปากกาเมจิกสีน้ำเงิน
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_195-197 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “จันทฆาต ผูกถ้วน ๒ แล” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวแก้ไขยังนางพรหมจารีบ่นั่งแท่นแก้วก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ※ บริบูรณ์เสด็จแล้วปีชวด ขึ้น ๗ ค่ำ วัน ๕ บ่าย ๓ โมง แล ๚ ยังมีศรัทธาอาวชายธอง ก็พร้อมกับด้วยภริยาผู้ชื่อว่า นางธิดา กับลูกเต้าพี่น้องชู่ผู้ชู่คนแล เจ้ายังอุบายหาได้ยังโปตฏกํยังใบลานมาหื้อตนตัวผู้ข้าชื่อว่า รัสสภิกขุธรรมสอนแล ผู้สร้างกับผู้เขียน ข้าขอหื้อได้บุญเท่ากันแด่เทอะ เขียนบ่ดีสักน้อย รางตัวก็เท่านิ้วก้อย รางตัวก็เท่าแม่มือ พี่ทุองค์ใดก็ดี พี่พระองค์ใดก็ดี หรือครหัสถ์แลนักบวชได้เล่าได้เรียนได้อ่าน อดส่าห์ผ่อหื้อถี่ถี่ คันว่าผ่อบ่ถี่ ก็บ่รู้แล เพราะว่าตัวบ่ดี เจ็บแอวเต็มที นั่งเขียนบ่ได้ นั่งเขียนพร่อง นอนเขียนพร่องแล หน้าทับเค้า เจ้าจันทฆาต ผูกถ้วน ๒ หน้าทับปลาย จันทฆาต มีกับกัน ๔ ผูก ทั้งมวลแล ทุอาวเหย กา ก้า กล้า ขา ข้า ขล้า มา ม้า มล้า อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ก ข ค ฅ ง จ ส ช ซ ญ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ล ร ว สฺส ห ฬ อํ อฺย ป ฝ ฟ หฺม หฺน หฺย หฺว หฺง หฺล ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๒๐๒ ๑๐๗ ๕๐๐๐ ๓๐๐๐๐๐” (อักษรตัวเอียงสะกดด้วยอักขรวิธีพิเศษ)
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_195-197 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “จันทคาดผูกที่ ๑” หน้าหลังเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “ผูกต้น” / ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูกต้น มีกับกัน ๔ ผูก แลเจ้า” ท้ายลาน ระบุ “มังคละวิวาห กิริยาอันกล่าวจาเถิงยังจันทฆาต ผูกต้น ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ※ ข้าเขียนหนังสือผูกนี้บ่ดีบ่งาม ใหม่แลท่านเจ้าองค์ใดได้เล่าได้เรียนได้เทศนา นิมนต์ผ่อหื้อถี่ถี่ คันผ่อบ่ถี่ก็บ่รู้จักตัวแล เหมือนไก่เขี่ยหัวมองนั้นแลเจ้าเหย ขออย่าไปด่าข้าแด่เทอะ บริบูรณ์เสด็จแล้วปีชวด เดือน ๗ ออก ๔ ค่ำ วัน ๖ ยามแล้งงัวความต้อมตีนบ้านแลเจ้าเหยนายเหย ตนตัวข้าขอสุข ๓ มีนิพพานเป็นยอดแด่เทอะ ขอหื้อสติผญาปัญญาเหลี้ยมแซวเสลียวสลาดอาจชู่บทแท้ดีหลีแล” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาสีน้ำเงิน
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” ลานที่สอง ด้านซ้ายมือ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ “จันทฆาตจันทฆาต” ท้ายลาน ระบุ “จนฺทฆาฏกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวยังจันทฆาตชาดก ผูกถ้วน ๔ ผูกถ้วน ๕ ก็บังคมสมเร็จเสด็จเท่า[นี้]ก่อนแล บอระมวลวรกาล ธรรมเทศนาเท่านี้ก่อนแล้วแล” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีแดงและดินสอดำ
หน้าต้น ระบุ “ หน้าทับเค้า ปัญหาราชสูตรแล ฯฯ:๛” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวยังธรรมอันชื่อว่า ปัญหาราชสูตร ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๚ เสด็จแล้ววันศุกร์ เดือน ๙ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีระกา ๚ หน้าทับเค้าปัญหาราชสูตร รัสสภิกขุหนูถอด อยู่บ้านหัวขัว มีศรัทธามาหื้อรัสสภิกขุ เขียนบ่ดีสักหน้อย ลางตัวก็ใหญ่ ลางตัวก็น้อยแลนายเหย รัสสภิกขุได้เทศนาค่อยพิจารณาดูหื้อดีแด่เทอะ ฯฯ”
RBR_003_171-175 มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ 37 ปทุมกุมาร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ มี 4 ผูก” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “ปทุมมุกขกุมาร” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “สุวณฺณปทุมมุกฺขกุมารชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันเ[ท]ศนายังปทุมมุกขกุมารชาดก ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล๛ จุลศักราชล่วงไปได้ ๒๐๐๐ ๔๐๐ ๖๐ ๗ วัสสา เสด็จแล้วปีมะเมีย ฉศก ตกเข้าในวสันตฤดู เดือน ๙ แรม ๑๒ ค่ำ วัน ๓ ยามตูดเพลแล้วน้อย ๑ ศรัทธาโยมมูร โยมดา ยังอุบายขงขวายหาได้ยังใบลานมาหื้อภิกขุฅุ้มเขียนปางเมื่ออยู่วัดทุ่งหญ้าคมบางทางงาม หาบ่ได้สักหน้อย พอหยาดเป็นถ้อย ติดตามใบลาน โยมมูร โยมดา กับผู้เขียน ขอหื้อมีสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอด น ปจฺเจโย โหตุ เม นิจฺจํ ธุวํ (ควรเป็น นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม นิจฺจํ ธุวํ) แก่ข้าแด่เทอะ ฯฯ๛” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “กุมาร ผูก ๘ กุมาร ผูก ๘”
RBR_003_326 อยู่ใน “เลขที่ ๑๔๒ ตำนานตะโก้ง อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด ๗ ผูก” หน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ตำนานมหาธาตุ” และดินสอ “...พระคัมภีร์นี้ ประจำอยู่วัดทัพ...เป็น...” (... หมายถึง ไม่ชัด) ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวยังตำนานมหาธาตุเจ้าทะโคง ยังดอยสิงคุตตร คือว่า ดอยจักเข็บ แล อันว่าจักขร่าวเม็งวะ ขอตามไทยแปลว่า ปู ก็มีแล อันชื่อว่า ดอยสิงคุตตรนั้น ıı นั้นก็สมเร็จแล้วบรมวลควรแก่กาล ธรรมเทศนาก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ฯ ฯ พระหมายผู้ลงลายมือ และขอสุก ๓ ประการด้วยเทอญ พึ่งหัดใหม่ ขอส่วนบุญกุศลอันนี้ ขอไปรอดบิดามารดาพีน้อง เอื้อย อ้าย ผู้ข้าด้วยเทอญ ขอนิพพานต์ด้วยเทอญ ıı นะ ปัจจะโย โหตุ ” (ตัวเอียง จารเป็นอักษรไทย)
หน้าต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “ปัญหาสูตรผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวยังธรรมอันชื่อว่า ปัญหาราชสูตร ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล แล แล ฯ จบแล้วนายเหย ๏๏ เสด็จแล้ววันจันทร์ เดือน ๑๐ ตาวันบ่าย ๓ โมง ปีชวด ผู้ข้าบวชเดือน ๔ พร่องหาหัดเขียน บ่เคยสักคำเทื่อแล นายเหย ทุพี่พระพี่องค์ใดได้เล่าเขียนเรียน ผิดทัดใดนิมตต์ใส่หื้อจิ่มเทอะ ทุพี่ แก่ หนัก สญฺชปลร ดอนนาหนอง ชื่อมัน อีมะหยังฮู้ ผู้ข้าขอหื้อกุศลานาบุญอันหนึ่ง ไปถึงปิตตามาดาคูบาอาจานเป้าปงวงสา (ครูบาอาจารย์เผ่าพงศ์วงศา) พี่ข้าน้องข้อยจิ่มเทอะ ทุคำหัวส่อไว้แท้ นาเหย ฯฯ๛ ”
RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯฯ มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๓ บริบูรณ์แล ๚” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มหาวง” และสีแดง “ผูกที่ ๓” ท้ายลานระบุ “จาห้องสลองมหาวิหาร ๘ หมื่น ๔ พันหลังแล ราชวงศา ฯ อันจากฆา[ร] วาสไปบวชแล้วเท่านี้แล มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๓ ก็แล้ว เป็นห้อง ๑ ก่อนแล ฯ บริบุณณา ยาม ๑ ทุ่ม เดือน ๓ แรม ๘ ค่ำ พร่ำได้วัน ๔ ปีวอก ยามนั้นแล ฯฯะ” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺผุก ๓ วัดดอนแจ่ง”