หน้าต้น ระบุ “๚ พุทธโฆสเถร ผูกถ้วน ๓ แล นายเอ๋ย ” (ตัวเอียงจารอักษรไทย) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “๓” ลานแรก หัวลาน ระบุ “พุทธโฆสเถร ıı ผูก ๓ แล ıı” ท้ายลาน ระบุ “พุทฺธโฆสเถร นิฏฺฐิตํ กริยา อั[น]สังวรรณนายังพุทธโฆสเถร ผูกถ้วน ๓ ก็สมเร็จเสด็จบัวระมวลควรกาลเท่านี้แล ฯ๛”
RBR_003_327 อยู่ใน “เลขที่ ๑๔๒ ตำนานตะโก้ง อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ, ล่องชาด ๗ ผูก” หน้าต้น ระบุ “๏ หนังสือธาตุตะโคงเกสา ๘ เส้นแลนา ฯ ข้าผู้เขียนชื่อว่า สีวีสุทโธ๛” / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ธาตุตะกุ้ง / เกศา ๘ เส้น ผูกเดียว” หน้ารอง หน้าต้น เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “หนังสือหัวนี้ดี เจือเตอะนาตุ๊ปี้ตุ๊น้อง / หนังสือหัวนี้ดีมาถ้าใครอ่านให้จำให้แม่นนะคุณ / ıı วัดแคทรายโพธิศัทธาราม ıı” ท้ายลาน ระบุ “สํวณฺณนา นิฏฺฐิตา กริยาอันกล่าวยังนิทานตำนานพระเกสาธาตุเจ้าตระโคง ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ ข้าขอนิพพานเป็นยอด เขาะขอด ฯ เสี้ยงกิเลสตัณหาแลนา ฯ ฯ ฯ ๛” / หน้าปลาย เขียนอักษรธรรมล้านนา ด้วยดินสอ “ลานคุณเฟือ ลานคุณเฟือ”
RBR_003_252-261 รวมอยู่ใน “เลขที่ 144 มหาวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้ารับเค้า มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๕ มีอยู่สิบผูกด้วยกันแลเจ้าเหย ฯ คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ผูกที่ ๕”และสีน้ำเงิน “มหาวงค์” ท้ายลาน ระบุ “สุชนปสาทสงฺเวคตฺถายก มหาวงฺเส ปริจฺเจท อันถ้วน ๑๑ ชื่อ เทวานํ ปิยติสฺสภิเสกปริจฺเจท อันมีในมหาวงศ์อันอาจารย์เจ้าแต่งแปลง เพื่อหื้อบังเกิดยังประสาทะศรัทธาแล บังเกิดสังเวคญาณ สะดุ้งตกใจกลัวในวัฏสงสารแห่ง[โส]ตุชนทั้งหลายก็บรมวลด้วยประการดั่งกล่าวมาเท่านี้ก่อนแล ๚ นิพฺพาน ปจฺจยฺโย โหตุ เม นิจฺจํ ดั่งนี้แก่ข้าแด่เทอะ ๛” หน้าปลาย ระบุ “ฯ หน้าปลาย มหาวงศ์ ผูกถ้วน ๕ มีอยู่สิบผูกแล เจ้าเหย คล่องแล้ว คล่องแล้ว แล้ว แล” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะหาวงฺผุก ๕ วัดดอนแจ่ง”
RBR_003_290-299 รวมอยู่ใน “เลขที่ 15 มหานิบาตทสชาติ (มโหสถ) อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 10 ผูก” หน้าต้น ระบุ “๚ หนังสือมโหสถ ผูกหนึ่งแล มีสิบผูกกับกันแลนายเหย อย่าไปหื้อพรากเสียกันเนอ ฯฯ๛ หน้าทับเค้า มโหสถ ผูกต้น ตัวบ่มนสักน้อย ค่อยพิจารณาดูเทอะ ที่ผิดก็มี ที่ถูกก็มี บ่ดีไหนหลาย อย่าไปเสียใจเนอ เจ้าใบลานชู่คนเหย ๚ ๚ ๚ ๚ ๚ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐” / เขียนอักษรไทย ด้วยดินสอ “๑” และปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มะโหสด ผูก ๑” ท้ายลาน ระบุ “ปริจเฉทธรรมเทศนามโหสถบัณฑิตอันเป็นปฐมผูกต้น อันพิจารณาถ้อยคำโจรลักงัวเป็นเค้า ตราบต่อเท่าเถิงโตรลักเมีย ก็สมเร็จเสด็จบรมวลเท่านี้ก่อนแล ๚ ๚ รัสสภิกขุธอง เขียนปางเมื่อพื้น (เพิ่น-เพื่อน?) อยู่วัดหนองบักดอแล เสด็จแล้วเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ พร่ำว่าเป็นวันเสาร์แล ๚ ข้าเขียนหนังสือมโหสถผูกนี้ ข้าขอกุศลนาบุญแผ่ผายไปรอดไปถึงปิตตามารดาข้าจิ่มเทอะ ครูบาอาจารย์กับทั้งเจ้าใบลานพื้น (เพิ่น-เพื่อน?) ชู่ผู้ชู่คนเทอะ ขอหื้อได้เหมือนกันชู่คนแด่เนอ อย่าไปด่าข้าเนอ ลางเทื่อก็ตามืด ลางเทื่อก็ตาดำ ลางเทื่อก็เจ็บหลัง ลางเทื่อก็เจ็บแอว เ[เ]สนเทื่อก็นั่ง เ[เ]สนเทื่อก็นอน เดิกออนซอนมาจะดาปุนอี้ ฟ้าปันหมอนเท่ามืดมัวฟันมาเป็นทุกบ้านเล่า ไกลกันยากแท้เด ปูนอี้ผีเหยผีสังบ่ตีแผ่นดินหื้อไหลหลิ่งค้อย หื้อบ้านค้อยไหลชูนายพร่องเด นายเจ้าแม่ผู้เดียวเหย ๚ ๛ ข้ าผู้เขียนนี้อย่า ปรารถนาเล่าเกิดมาชาติใดแสนใด(ฉันใด)ขอหื้อมีสติปัญญาสลาดอาจรู้ คู่เยื่องพันอันนั้นเนอ เพราะว่าลำบากเหลือห[ล]าย สายสุดใจแม่คันนาถ้วนสมกระบวนนายธานี ๚ ข้าเขียนบ่ดีสักน้อย พอเป็นถ้อยอยู่ ใบลานครูบาอาจารย์เหย อย่าไปด่าข้าเนอ จบแล้ว”
RBR_003_277-289 รวมอยู่ใน “เลขที่ 157 มังคลัตถทีปนี อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 13 ผูก” หน้าต้น ระบุ “๏ หน้าทับเค้า มังคลทีปนี ผูกถ้วนสิบ ๑ ปริปุณณา บ่าย ๓ โมงเย็น แล คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ผูก ๑๑” ท้ายลาน ระบุ “โวหารธรรมเทศนามังคลทีปนี ผูกถ้วนสิบเอ็ด ก็สมเร็จเสด็จแล้ว เท่านี้ก่อนและ บริบูรณ์แล้ว ยามบ่าย ๓ โมงเย็น เจ้าข้า นิจฺจํ ธุวํ แก่ข้า พร่องแด่เทอะ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ นิพฺพานํ ดั่งนี้แท้และ หน้าปลาย ระบุ “ฯ หน้าทับปลาย มังคลทีปนี ผูกถ้วนสิบ ๑ และ คล่องแล้ว”
RBR_003_277-289 รวมอยู่ใน “เลขที่ 157 มังคลัตถะทิปนี อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 13 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้าทับต้น มังคลทีปนี ผูกถ้วน ๔ และ คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทยด้วยดินสอ “ผูก ๔” ท้ายลาน ระบุ “โวหารมังคลทีปนี ผูกถ้วน ๔ ก็แล้ว เท่านี้ก่อนแล ฯ บริบูรณ์แล้ว ยาม ๖ ทุ่ม เดือนสิบเอ็ด แรม ๕ ค่ำ ปีมะเมีย ศักราช สองพัน ๔๗๒ และ ยามนั้นและ” หน้าปลาย ระบุ “ฯ หน้าปลาย มังคลทีปนี ผูกถ้วน ๔ แล เจ้าที่ไหว้ ตัวอักษรบ่ใคร่ละเอียดเต็มทีอย่าแล้ว”
RBR_003_277-289 รวมอยู่ใน “เลขที่ 157 มังคลัตถะทิปนี อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด 13 ผูก” หน้าต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มงคลทิปปานี” และเขียนอักษรจีนด้วยหมึกดำไม่ทราบความหมาย ท้ายลาน ระบุ “กริยาสังวรรณนาแก้ไขยังโวหารมังคลทีปนี ผูกต้น ก็สมเร็จเสด็จบรมวลเท่านี้ก่อนและ ฯ บริบูรณ์แล้ว ยาม ๕ ทุ่มเศษ เจ้าข้าแล ฯฯะ”
RBR_003_262-276 รวมอยู่ใน “เลขที่ 104 พุทธวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 15 ผูก” หน้าต้น ระบุ “๚ หน้าต้น พุทธวงศา ผูกถ้วนสิบ มีอยู่สิบ ๕ ผูกเดียวกันแล ฯะ” / หน้ารอง เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่น “หนังสือนี้เอามาจากเมืองเหนือ” ท้ายลาน ระบุ “กริยาเทศนาแก้ไขยังพุทธวงศา ผูกถ้วนสิบ ก็แล้ว เท่านี้ก่อนและ ฯ นิพฺพาน ปจฺจยฺโย โหนฺตุ ฯ” หน้าปลาย ระบุ “๏ หน้าปลาย พุทธวงศา ผูกถ้วนสิบแล”
RBR_003_262-276 รวมอยู่ใน “เลขที่ 104 พุทธวงศ์ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 15 ผูก” หน้าต้น ระบุ “ฯ หน้ารับเค้า พุทธวงศ์ ผูกถ้วน ๒ แล บริบูรณ์แล้วเท่านี้แล คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก) / เขียนอักษรไทย ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “พุทธวงส์” ท้ายลาน ระบุ “กริยาอันกล่าวพุทธวงศ์ ผูกถ้วน ๒ ก็แล้ว เท่านี้ก่อนแล ๚ บริบูรณ์แล้ว ยาม ๒ ทุ่มเศษแล” หน้าปลาย ระบุ “๚ หน้ารับปลายพุทธวงศ์ ผูกถ้วน ๒ เจ้าเหย ฯ คล่องแล้ว” (ตัวเอียงไม่ลงหมึก)