ตำราดูช้างดิน, ตำรายา, ตำราดูผีหัวหลวง, ตำราดูวันดีวันเสีย, ตำราทำนา, ตำราแม่โพสพ, คาถาถวายธง, คำเวนน้ำสรงพระพุทธรูป, คำขอขมาแก้วทั้ง ๓, คาถาพระเจ้า ๕ พระองค์, คาถาวัวธนู, ยาหุง, ยา ๑๐๘ ฯลฯ ฉบับนี้มีการใช้สระออ ที่มีรูปเป็นไม้เก๋าห่อนึ่ง
ตำรายา, ยาแปรไข้ทั้งปวง, ยาแก้หอบ, ยาแก้ระส่าระสาย, ยาแก้สะอึก, ยาล้อมตับล้อมใจ, ยาต้มแก้ไขผิดสาแดง, ยากล่อมอารมณ์ ฯลฯ
ยันต์ปิดเรือน, ยันต์ 8 ทิศ, ยันต์พระเจ้า 5 พระองค์, ยันต์อิติปิโส 8 ด้าน, ตำรายา, คำหุงข้าว, คำไหว้พระรัตนตรัย ฯลฯ
ในหน้ารองสุดท้ายของพับสา ระบุว่า “ข้าพเจ้าพระกาซเรอยู่บ้านเมืองฅอน เป็นผู้เขียนธรรมไว้กับศาสนาพระเจ้า” ศักราช จ.ศ. 1285 (พ.ศ. 2466) สภาพของเอกสาร ห่อกระดาษสาบาง ปกและขอบพับทาสีแดง เขียนด้วยหมึกสีดำ รหัสเอกสารเดิม LPR. 733/2544 ที่มาเอกสาร ดร.อนาโตล เป็ลติเยร์มอบให้
RBR_003_239-243 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 26 นรชิวสูตร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ-ล่องชาด 5 ผูก” / RBR_003_239-242 ชุดเดียวกัน ทองทึบ ทองหลุด พื้นรัก หน้าทับต้น ระบุ “ฯฯ หน้าทับเค้านรชีวะ ผูกถ้วน ๒ แล ธุวํ ธุวํ ข้าแด่” “หน้าทับเค้านรชีวะ ผูกถ้วน ๒ ฯฯ รัสส” เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “๒” ท้ายลาน ระบุ “กาลธรรมเทศนายังนรชีวะ ผูกถ้วน ๒ ก็เสด็จบอระมวลเท่านี้ก่อนแล ะ๛ เสด็จแล้ว พอตาวันลอแลงแลนายเหย ฯฯ นบจบแลเดือน ๘ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ฯ พร่ำว่าได้วันจันทร์ ฯฯ รัสสภิกขุสร้างไว้ค้ำชูพระศาสนา ฯฯ รัสสภิกขุขะนวนเขียนไว้ค้ำชูพระศาสนาแลนายเหย ฯ ขอหื้อกุศลนาบุญนี้ไปรอดไปเถิงบิดามารดาพี่น้องแก่ข้าเทอะ ฯ ขอกุศลนาบุญชวนยกย่องหื้อไปสู่ที่ดีแด่เทอะ ธุวํ ธุวํ ธุวํ แก่ข้า” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน และสีแดง
RBR_003_244-248 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 29 พระมาลัย อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 5 ผูก” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “พระมาลัยโผดเผด” ท้ายลาน ระบุ “ปถมมาลัยวรรณนา นิฏฺฐิตา เสด็จบอระมวลเท่านี้ก่อนแล” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ
ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/75 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_198-199 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น “จันทคาตผูกที่ ๔ ผูกปลาย มีกับกัน ๔ ผูก” ด้านหลังหน้าทับต้น เขียนคำอาราธนาศีลอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “ปานา อะทินนากรรม มุสา สุรา อิมานิ ปันจะ สิกขา ปทานิ สีเรนะ สุคคะติง ยันติ สีเรนะ โพคะสัมปทา สีเลนนิพุตึ ยันติ ตสัมา ลีลํ วิโสธะเย” ลานแรกด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูก ๔ ทั้งมวลมี ๔ ผูกแลเจ้าเหย” ท้ายลาน ระบุ “จันทฆาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวยังอันกล่าวยังจันทฆาตชาดก ผูกถ้วน ๔ ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วบอระมวลควรกาล ธรรมเทศนาเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛ บริบูรณ์แล้วยามเพลแล้วพอดีแลเจ้าเหย || เดือน ๘ ศีลแล ปีชวดแล ๛ ยังมีศรัทธาทุพี่หลวงกับปิตตามารดาพี่น้องชู่ผู้ชู่คน ก็หาโปฏกํยังใบลานมาหื้อตนตัวผู้ข้าชื่อว่า รัสสภิกขุธรรมสอน บวชอยู่วัดหนองนา หาตัวแม่บ่ได้ หาทางใดก็บ่มีแลเจ้าเหย นายเหย ๛ ทุพี่หลวง[เ]พิ่นก็ยังมีผู้ดีปูนตีตูนแท้แล ผู้สร้างกับผู้เขียนขอหื้อได้บุญถึงกันแด่เทอะ||” หน้าทับปลาย เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “กล่าวจันทฆาต ผูกสี่ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล” และเขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “พระภิกษุได้ พระภิกษุได้เทศน์ที ๑ แล้วXXXXX” / เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “ผูก ๔” และปากกาน้ำเงิน “ผูก ๔” มีรอยแก้ไขด้วยปากาสีน้ำเงิน
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_198-199 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “จันทคาดผูก ๒” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูกถ้วน ๒” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวแก้ไขยังนางพรหมจารีบ่นั่งแท่นแก้วก็แล้วเท่านี้ก่อนแลท่านเหย || บริบูรณ์เสด็จแล้ววัน ๑ เดือน ๘ แรม ๑๐ ค่ำ ปีชวด โทศก ร้อยสิบ ๙ แล้วข้าก็ยังมีศรัทธาพร้อมกับด้วยปิตตามาดาพี่น้องญาติกาวงศาชู่ผู้ชู่คน ขอหื้อสุข ๓ ประการ มีนิพพานเป็นยอด ข้าขอเอาอายุใบลานเป็นที่เพิ่งแด่เทอะ รัสสภิกขุธรรมสอน เขียนปางเมื่อ(อยู่-เขียนด้วยดินสอดำ)วัดนาหนองแล หนังสือเจ้าจันทฆาต มี ๔ ผูกกับกันแล” และหน้าทับปลาย(เศษลานทำมาใช้เป็นหน้าทับ) ระบุ “แต่ไกลดังอั้นเจ้าก็หนีเข้าไปสู่ป่าหาการตนหั้นแล คันว่านางมารอดเรือนแล้วดังอั้นย่าบริสุทธิ์ก็จิ่งกล่าวเซิ่งนางผ้าขาวว่า ตาต ดูรา เจ้าลูกรักแก่แม่ อันว่า ชายผู้มาจอดเรือนรานี้” และ เขียนอักษรไทยและอักษรธรรมล้านนาด้วยดินสอดำ “ภิขุธรรมะเสนาอยู่วัดนาหนองฯ”, “ธมฺมเสนาฯ” และ “กล่าวจันทฆาต ผูกสอง ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล”(ตัวเอียง-อักษรธรรมล้านนา)