RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๐ จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” หน้าทับต้น ระบุ “๏ต้นจันทฆาต ผูก ๔ แลนายเอย”, เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “จันทคาต ผูก ๔” และเขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “จันทคาด”
ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “จันทฆาต ผูกปลาย ถ้วน ๔” ท้ายลาน ระบุ “จันทฆาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอัน[กล่าว/แก้ไข/เทศนา]ยังจันทฆาตชาดก ผูกถ้วน ๔ ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้ว บอระมวลควรกาลเท่านี้ก่อนแล /// เสด็จแล้ว จันทร์ แลนายเอย รัสสภิกขุเภด(เพชร) เขียนไว้ค้ำชูพระศาสนา เขียนแล้วยามเมื่อฉันจังหัน ข้าสร้างหนังสือกับ ข้าขอส่วนบุญไปรอดไปเถิงพ่อแม่พี่น้องเขาคุคนแด่เทอะ ข้าเกิดมาชาติหน้า ขอหื้อได้สุข ๓ ประการ นิพพานเป็นยอดแลนายเอย // ข้าเขียนบ่งามสักหน้อย ใจบ่ดีเพราะนางมัทรีอยานิผากข้างเพราะรักมันเต็มทีแลนาย // ใจบ่ดีเพราะได้หันตัวแม่เพราแพรมันใคร่สิกข์เต็มทีแลนายเหย เขียนบ่ดีสักหน้อย ลางตัวเท่าแมวลางตัวเท่าช้าง๛ ”
สมุนไทยขาวฉบับนี้ บันทึกด้วยอักษรขอมไทย อักษรธรรมล้านนา และมีอักษรไทยปะปนเพียงเล็กน้อย เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องไสยศาสตร์ ยันต์ต่างๆ เช่น ยันต์ลงเสื้อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังบันทึกเกี่ยวกับตำรายา เช่น ยาหยอดตา, ยาสะกดไข้, ยาไข้รากสาด, ยาเอ็นหด เป็นต้น และพบว่าระบุศักราช จ.ศ.1173 ตรงกับ พ.ศ. 2354 ในชะตาปีเกิด “นางอุ่นเรือน”
หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “อานิสงส์กฐิน” หน้าทับปลาย ระบุ “สตฺถา อันว่า ว่าพระพุทธเจ้ายกยอยังอานิสงส์แห่งบุคคลทั้งหลายอันได้หื้อผ้าบังสุกุลเป็นทาน นิฏฺฐิตํ ขียาอันกล่าวห้องอานิสงส์ผ้าป่าก็แล้วเท่านี้ก่อนแล เสด็จห้องวันอัน ๑ เดือน ฯ หน้าทับเค้าอานิสงส์ผ้าป่าแลนายเหย ๚ บ่เคยสักคำเทื่อ อย่าไปเล่าขวัญข้าเนอ ๚ เพราะหามาเขียนนี้ เทื่อเดี่ยวนี้แล้วนายเหย ก็แล้วเป็นห้องเท่านี้ก่อนแล”
สมุดไทยบันทึกตำรายาสมุนไพรแผนโบราณ และการพยากรณ์ ตำราโหราศาสตร์ และคำสู่ขวัญต่าง ๆ
บันทึก หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “หมูเถื่อน” ลานแรกด้านซ้ายมือ “หมูเถือง(ควรเป็น หมูเถื่อน?)ผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “มหาตุณฺฑิลชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันพรรณนาสักเสริญยังชาติปางเมื่อพระพุทธเจ้าเกิดเป็นหมูเถิง(หมูเถื่อน?) ชื่อว่า มหาตุณฑิละ ชาตกอันนี้อันถ้วน ๓ มีในศก ๕๐๐ ชาติ ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ||๛||| เสด็จแล วันจันทร์ก่อนเพล เดือนยี่ ขึ้น ๑๔ พร่ำว่าได้ วันจันทร์แลนายเหย ||๛๛ หน้าทับเค้าหมูเถิง(หมูเถื่อน?) ผูกเดียวแลนายเหย ข้าขอสุข ๓ ประการมีนิพพานเป็นยอดแก่ข้าแด่เทอะ แล้วข้าขอกุสลานาบุญอันนี้ไปรอดไปเถิงบิดามารดาข้า พ่อแม่พี่น้อง XXX ครูบาอาจารย์แก่แด่เทอะ รัสสภิกขุขาว กะลังหัดเขียนใหม่ บ่ดี ทุพี่พระพี่ได้เล่าได้เรียน อย่าไปด่าหีแม่ข้าเทอะ อยากใคร่ได้บุญเต็มที สร้างธรรมผูกนี้ไว้ค้ำชูศาสนาพระโคตมเจ้าตราบต่อเท่าเข้าสู่พระ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุเม นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ เป็นยอดแก่ข้าแด่เทอะ” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ
หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าทับเค้ามัทรีเชียวหละ เป็นโยมฅำ นางหล้า เป็น[ผู้]สร้างไว้ในพระศาสนาห้าพันวัสสา” หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ “มัทรี ผูก ๙” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มะทรีเจี่ยวหล่า” ท้ายลาน ระบุ “มทฺที ปพฺพํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันสังวรรณนาอันประดับประดาด้วยพระคาถาว่าได้ ๙๐ ทัส ก็แล้วเท่านี้๛” หน้าทับปลาย ระบุ “หน้าทับเค้ามัทรีเชียวราม่วนอาละปูดีฟังแลนาห๚ หนังสือทุอาวอั้น บ้านใหม่ไผ่ล้อมไม่ไผ่อ้อม ๒ แฟร(ควรเป็น ๒ แคว) ผู้สาวนอนแล แม่ร้างนอนผ่อ บ้านอยู่จ่อม่อริมทาง ปากบางคางสวย เพิ่นสร้างมหาชาติกับนี้ ขอหื้อได้กุศลจิ่มเทอะ” และเขียนอักษรไทยด้วยดินสอ “นะโม นะมัดสะกาน ผู้ข้าไว้(ไหว้)”
ข้าเขียนแล้ววัน ๓ แรม ๑๐ ค่ำเดือนเจียง ปีสีมะโรง สร้างไว้ค้ำชูพระพุทธศาสนาชั่วอายุใบลาน ข้าพเจ้าธรรมสอนเป็นผู้สร้างพระพุทธศักราชล่วงแล้วได้ สองพันสี่ร้อยห้าสิบเก้า ขอหื้อได้เป็นประจัยแก่พระนิพพาน น ปจฺจโย โหตุ เม แก่ข้าพเจ้า ธุวํ ธุวํ ดังนี้แลนายเหย หน้าปลายบรรพชาแลท่านเอย สองลานสุดท้าย จารด้วยอักษรขอมไทย และอักษรธรรมล้านนา
หน้าทับเขียนด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “มัทรีเรียกขวัญม่วนหลับเลย” และเขียนด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ “มัทรีผูก ๙” ลานสุดท้ายจาร “มัทรีเรียกขวัญม่วนบ่หาย” ท้ายลานระบุ “มทฺทีปพฺพํ นิฏฺฐิตํ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๚๛ฯ จบมัทรีเรียกขวัญมวลบ่หายพอคลั่งไคล้เหงาหลับพุ้นแลนายเหย นิจฺจํ นิจฺจํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ”
ฉลากเดิมระบุ “คาถาอาคมผู้หญิง” คาถามนต์ข้าวกินมนต์น้ำกิน, มนต์ส้มป่อย, ตั้งสวดเสื้อผ้า, คาถาแก้เลือดแก้ลม, สลูบน้ำมันพริกน้อยหมากพลู, สลูบข้าวกิน, สลูบโจงผ้าอิตถี, คาถามนต์สวดให้คนรัก, คาถากั้งบัง, ยันต์ ฯลฯ