มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๕๗ สุวรรณเหนคำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ๔ ผูก” หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “เห็นคำ”, ลานแรก ด้านซ้ายมือระบุ “เหนฅำ ผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “สุวรรณชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันเทศนายังสุวรรณชาดกยกแต่เค้าเถิงปลายก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๏ เสด็จแล้วจบบ่าย ๒ โมงแลนายเหย ปีวอก เดือน ๙ แรม ๑๓ ค่ำ วัน ๗ แลนายเหย รัสสภิกขุฅำ อยู่วัดนาหนอง บ้านอยู่นาหนอง ข้าได้สร้างธรรมเหนฅำผูกนี้ ข้าขอสุข ๓ ประการแด่เทอะ ขอหื้อไปรอดพ่อแม่พี่น้องชู่ผู้ชู่คนแด่เทอะ กับตนตัวข้าจิ่มเทอะ เหตุว่าใคร่ได้บุญเต็มทีแลนายเหย ใจบ่ตั้งเหตุว่าใคร่สิกข์เต็มทีแลเจ้าเหย ตัวใหญ่ก็ใหญเท่าช้าง น้อยก็น้อยเท่าหิ่งห้อย บ่เท่ากัน ที่ตกก็ตก ที่ผิดก็ผิด เสียหลายแลนายเหย บ่อเคยสักคำเทื่อแลเจ้าเหย ขออย่าไปด่าหีแม่ข้อยเนอ ทุพี่พระพี่เหย ผิดที่ใดนิมนต์ใส่หื้อจิ่มเทอะ ข้าขอสุข ๓ ประการ นิพพานเป็นยอด ธุวํ ธุวํ แด่เทอะ หน้าทับเค้าหนังสือเหนฅำผูกเดียวนี้ม่วนหลายแท้เนอ” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน สีแดง และดินสอดำ
สุวรรณเหนคำ (RBR003-131). (2564). สืบค้น 05 กุมภาพันธ์ 2568. จาก ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย. http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=519
สุวรรณเหนคำ (RBR003-131). [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก : http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=519. (วันที่ค้นข้อมูล : 05 กุมภาพันธ์ 2568)
สุวรรณเหนคำ (RBR003-131). สืบค้นเมื่อ 05 กุมภาพันธ์ 2568. http://manuscripts.sac.or.th/manuscript-info.php?id=519