บทความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ (12 หน้า)

พระมาลัย ฉบับวัดดอนขนาก

การเดินทางของพระมาลัย เพื่อไปโปรดสัตว์ในนรก และเทวดาบนสวรรค์ ซึ่งได้พบกับพระอินทร์ และเทวดาผู้ที่จะจุติลงมาเป็นพระศรีอาริยเมตไตรในอนาคต พระมาลัยฉบับวัดดอนขนากนี้ แต่งด้วยฉันทลักษณ์ที่เรียกว่า “กลอนสวด” ซึ่งประกอบไปด้วยกาพย์ชนิดต่างๆ 3 แบบ อันได้แก่ กาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์สุรางคนางค์ 28 นอกจากนี้ยังพบชื่อทำนองสวดพระมาลัย 5 ทำนองได้แก่ ฉันท์ เชิด ราบ มังกร วสันต์ และเอกบท

พระตำรับเลขเจ็ดตัว

พระตำรับเลขเจ็ดตัว เป็นตำราโหราศาสตร์อย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่นๆ อีก ได้แก่ วันจม วันฟู วันลอย, การดูสมพงษ์, ฉัตรสามชั้น, ตำรับชั้น, เทพจร และตำรายาแก้โรคกระษัยต่างๆ ซึ่งอยู่ในช่วงท้ายของหน้าต้นต่อไปจนถึงหน้าปลายและเขียนด้วยดินสอ จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า ในส่วนที่เป็นเรื่องของตำรายาสมุนไพรนั้นเขียนขึ้นคนละคราวกับพระตำรับเลขเจ็ดตัว และโหราศาสตร์เรื่องอื่นๆ

ตำราอาการ 32 ลักษณะไข้เหนือ

สมุดไทยขาวเรื่อง ตำราอาการ 32 ลักษณะไข้เหนือ ฉบับบ้านหมอเห สายโกสินทร์นี้ กล่าวถึงการทำยาเบญจกูลโสฬส ประกอบไปด้วยสมุนไพร ดังนี้ พริก ขิง สะค้าน เจตมูล ดีปลี และช้าพลู โดยมีสัดส่วยผสมยาแตกต่างกันไปตามกำลังของธาตุทั้ง 4

เอกสารโบราณตำรายาภูมิภาคตะวันตก

เอกสารโบราณตำรายาท้องถิ่นในฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับคัมภีร์แพทย์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 หนังสือแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฯลฯ พบว่ามีคัมภีร์ที่ตรงกันอยู่มาก

ตำรายาโรคลม

ตำรายาเกี่ยวกับโรคลม ในคัมภีร์ชวดาร เกี่ยวกับลมต่างในร่างกายที่ไหลหมุนเวียนอยู่ หากเกิดความผิดปกติกับลมดังกล่าวก็จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ ซึ่งมีสูตรยาสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคต่างๆ เหล่านั้นด้วย

โรคป่วงห้าประการในคัมภีร์อติสาร

โรคป่วงห้าประการ อันได้แก่ ป่วงลม ป่วงลิง ป่วงสุนัข ป่วงหิน และป่วงน้ำ ปรากฏอยู่ในคัมภีร์แพทย์แผนไทยในสมัยโบราณคัมภีร์หนึ่ง ชื่อว่า “คัมภีร์อติสาร”

โรคป่วงแปดประการในคัมภีร์ฉันทศาสตร์

ละครเรื่อง “ข้าบดินทร์” เพิ่งร้างลาจากจอแก้วไปไม่นาน แต่ก็เกิดคำถามขึ้นในใจขึ่นหลายข้อที่ต้องการจะหาคำตอบ หนึ่งในนั้น คือตอนท้ายๆ ของเรื่องข้าบดินทร์ ได้เกิดโรคระบาดครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นในพระมหานคร ผู้คนเจ็บป่วยและตายจากโรคระบาดนี้เป็นอันมาก อาการของโรคคือ ท้องเสียขั้นรุนแรง ถ่ายหนัก และอาเจียนไม่หยุด โรคที่ว่านี้ในสมัยนั้นเรียกว่า “ป่วง”

โคลงมโหทร จุโฬทร

โคลงมโหทรจุโฬทร เป็นโคลงกลภาพรูปพระยานาคสองตน ประจันหน้ากันบนแท่นบัลลังก์ พระยานาคทางด้ายซ้ายชื่อ “มโหทร” ส่วนทางด้านขวาชื่อ “จุโลทร” กวีได้เขียนคำโคลงลงในตัวนาคทั้งคู่ ดังนั้นภาพกลโคลงนี้จึงถอนออกมาได้สองโคลงรูปแบบการรถอนโคลงไล่คำจากหัวนาคไปจนสุดหางนาคทั้งสองตน