บทความ
พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ (12 หน้า)
NPT004-074 , ตำราดูธาตุชายหญิง , ตำราดูธาตุ ธาตุน้ำ , ธาตุลม , ธาตุไฟ , วันดี , วันมงคล , วิวาหะมงคล , ดำเนินพระราม , ตำราพรหมชาติ , ตำราโหราศาสตร์
สมุดไทยฉบับนี้เป็นเรื่องโหราศาสตร์ทั้งฉบับ กล่าวถึง ชายหญิงธาตุใดอยู่ด้วยกันแล้วส่งเสริมซึ่งกันและกัน หรือธาตุใดไม่เหมาะที่จะเป็นคู่ครองกัน วันที่เป็นมงคลในการให้หยิบยืมเงิน หรือรับคืนเงิน การตัดผม การทาน้ำมัน การแรกนา วิวาหะมงคล การทำการใดๆ หน้าปลายของสมุดไทยกล่าวถึง เรื่องดำเนินพระราม เป็นบทร้อยกรอง
NPT004-067 , วัดลำพญา , วัดลำพยา , นครปฐม , สมุนไพร , ตำรายา , เวชศาสตร์ , ยารุเลิอด , ยาบำรุงเลือด , ยาขับหนองใน , ยาแก้อุปทม , ยารุเลือด , ยาขับเลือด , ยาแก้กาฬสิงคลี , ยาแก้เลือดตีขึ้น , ยาบำรุงเลือด , ยารุเลือดมิถึงระดู
ตำรายารุเลือดหรือประจุเลือด หมายถึง ยาฟอกโลหิต ซึ่งกล่าวถึง ยาสำหรับฟอกโลหิตประเภทต่างๆ เช่น ยารุเลือด ยาขับเลือดสำหรับสตรีคลอดบุตร ยาดองเหล้า ยาปลุกเลือด ยาบำรุงเลือด เป็นต้น ผู้ปริวรรตขอยกตัวอย่างยาสำหรับสตรีคลอดบุตร ได้แก่ ยารุเลือดประสูติลูก สมุนไพรดังนี้ เลือดแรด ๑ หัวเอ็น ๑ เทียนดำ ๑ ลูกสลอด ๕ ลูก ต้มน้ำขี้วัวสดบด ยาทั้งนี้เอาน้ำขิงเป็นกระสาย กินจำเพาะผู้หญิงคลอดบุตร แท้งลูกก็ดี เลือดมิตกก็ดี ๓ วันหาย เป็นต้น อีกทั้งยังกล่าวถึงยาสำหรับรักษาโรคบุรุษ อาการของโรคและสูตรสมุนไพรในการรักษาโรค เช่น ยาแก้อุปทม เป็นต้น ในหน้าปลายกล่าวถึง ยาสำหรับรักษาไข้ เช่น ยาประดง ยาแก้อาการจับไข้จับ ยาแก้ไข้รากสาด เป็นต้น
NPT004-066 , ตำราห่วง , วัดลำพยา , วัดลำพญา , นครปฐม , ยา , รักษาโรค , สมุนไพร , ตำราถั่ว , เล่นถั่ว , การพนัน , ภาพวาด , ลายเส้น , นาก
สมุดไทยขาวเรื่อง NPT004-066 ตำราห่วง ฉบับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดลำพญา จ.นครปฐม หน้าต้นกล่าวถึง ตำราห่วง หน้าปลายเริ่มด้วยภาพวาดลายเส้นรูปนักโทษสวมขื่อจองจำ เทวดาขี่เต่า ฉัตรทอง ราหู พ่อหมอ และปราสาท จากนั้นเขียนด้วยดินสอ ลายมือหวัด กล่าวถึงสูตรยารักษาโรค การพนันชนิดหนึ่งมีชื่อเรียกว่า ถั่ว และการทำนาก
NPT001-018 , วัดท่าพูด , ประวัติ , พระพุทธโฆษาจารย์
พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นชาวอินเดีย เกิดในตระกูลพราหมณ์ และได้ร่ำเรียนจนจบไตรเพทตามธรรมเนียมพราหมณ์ก่อนที่จะมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาโดยการชักจูงของพระเรวัตตะเถระ จากนั้นก็พากเพียรเรียนพระไตรปิฎกจนมีความรู้แตกฉาน ก็มีความคิดที่จะแต่งอรรถกถา แต่ในตอนนั้นที่อินเดียมีแต่บาลีพระไตรปิฎกเท่านั้น ดังนั้นท่านจึงได้เดินทางไปที่เกาะลังกาเพื่อแปลอรรถกาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี และได้รจนาพระคัมภีร์วิสุทธิ-มรรคในขณะที่อยู่ลังกา
NPT004-050 , ตำรายา , สมุนไพร , วัดลำพญา , วัดลำพยา , รักษาโรค , ยาแก้คันประโดง , ยาต้มแก้คุดทะราด , ยามหานิลใหญ่ , ยาปรอท , ยาจักรนารายณ์ใหญ่ , ยามหาพิมเสน
กล่าวถึง ชื่อโรคและสูตรยาสำหรับรักษาโรคนั้นๆ อาทิ ยาแก้ประโดง ยาต้มกินภายในแก้ประโดง ยาแก้คันประโดง ยาธาตุบรรจบ ยาวิสัพยาใหญ่ ยาเขียวมหากาฬ ยามหานิล ยาตรีจักร ยามงคลโอสถ เป็นต้น นอกจากนี้ยังกล่าวถึงพิกัดของโกฐทั้ง ๕ โกฐทั้ง ๗ โกฐทั้ง ๙ เทียนทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๗ เทียนทั้ง ๙ บัวทั้ง ๕ เป็นต้น
NPT004-032 , มรณญาณสูตร , นิมิตคนใกล้ตาย , ฉันทศาสตร์ , ปริศนาธรรม , ความตาย , สมุดไทยขาว , วัดลำพญา
คัมภีร์กล่าวเกี่ยวกับการรับรู้หรือนิมิตของบุคคลก่อนที่จะตาย ซึ่งอยู่ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ หมวดตำราเวชศาสตร์ สำหรับคัมภีร์มรณญาณสูตรในฉบับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตลาดน้ำวัดลำพญานี้ เป็นเรื่องปริศนาธรรมที่ได้เปรียบเทียบให้ชีวิตคนเป็น “นางจิตตกุมารี” โดยมีความตายเป็น “พญามัจจุราช” ที่ต้องการอยากได้นางจิตตกุมารีมาอยู่กับตน จึงให้เวลาคือ “นางกาล” มากระทำเล่ห์กลล่อลวงนางจิตตกุมารี เมื่อไม่ได้ผลจึงให้โรคภัยคือ “นางโรคาพยาธิ” มาล่อลวงและแนะนำให้พญามัจจุราชส่งธาตุทั้งสี่ไปปรากฏสำแดงกายต่างๆ นานาให้นางจิตตกุมารีได้เห็นเพื่อให้นางมาพบพญามัจจุราชโดยเร็ว ซึ่งก็คือการตายนั่นเอง
NPT004-026 , ตำรายา , ตำราไสยศาสตร์ , ตำราเวชศาสตร์ , คาถาหัวใจ , รูปวาด , ตำแหน่งของโรค , คาถามหาอุด , คาถาอยู่ยงคงกระพัน
สมุดไทยเรื่อง NPT004-026 ตำราดูไข้ ฉบับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตลาดน้ำวัดลำพญา จ.นครปฐม กล่าวถึง ภาพวาดรูปคนแสดงตำแหน่งต่างๆ ในการรักษาโรคบนร่างกาย ตำราดูไข้กล่าวถึงทิศในการดูแลรักษาคนป่วย เช่น วัน ๑ วันอาทิตย์ มาข้างอาคเนย์ คนไข้นั้นมิรอด อย่าไปเลยฯ เป็นต้น จากนั้นเป็นตำราไสยศาสตร์กล่าวถึงคาถามหาอุด คาถาอยู่ยงคงกระพัน คาถาหัวใจ เป็นต้น
NPT001-021 , ตำราห่วง , ตำราโหราศาสตร์ , ตำราเทวดาให้ฤกษ์ , ตำรายามอัฐกาล , ดูฤกษ์ยาม , ฤกษ์ , ยาม , วันดี , วันจม , วัดปลอด , วันบอด , มงคลการ
สมุดไทยฉบับนี้ กล่าวถึงตำราโหราศาสตร์ 3 ฉบับด้วยกัน คือ ตำราห่วง ตำราเทวดาให้ฤกษ์ และตำรายามอัฐกาล โดยจะกล่าวถึงวันและฤกษ์ยามในการทำการมงคล ทั้งการปลูกเรือน การสู่ขอภรรยา การเจรจาคดีความต่างๆ การไปหาสู่ผู้ใหญ่ เป็นต้น