บทความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ (12 หน้า)

โคลงอักขระทดเลข

โคลงนี้อยู่ในสมุดจินดามณี เล่ม ๑ สันนิษฐานว่าแต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารยณ์มหาราช แต่งโดยพระโหราธิบดี และเป็นโคลงที่อยู่ท้ายสุดของเล่ม ๑ อยู่ในหมวด “ฤาษีแปลงสาร” เอกสารต้นฉบับสมุดไทยดำจินดามณี เล่ม ๑ ที่นำมาเสนอนี้เป็นของวัดท่าพูด ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม เสียดายที่อักษรค่อนข้างจะลบเลือนไปบ้าง แต่เมื่อนำไปเทียบกับหนังสือจินดามณีฉบับพิมพ์ของกรมศิลปากรจึงได้ความเพิ่มเติมจนครบ

โคลงขันทกุมารทรงจักร

พระขันธกุมารหรือพระสกันทกุมารเป็นโอรสของพระศิวะ มีรูปกายงดงาม และทรงนกยูงเป็นพาหนะ โคลงนี้เขียนในภาพวาดพระขันธกุมารทรงจักรเหาะไปในอากาศ โดยเขียนคำโคลงไว้รอบกงจักร

โคลงพระรามตามมฤค

โคลงภาพกลบท พระรามตามมฤค มีที่มาจากวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ ในตอนพระรามตามมารีศที่แปลงร่างเป็นกวางทองมาหลอกล่อให้พระรามตามเข้าไปในป่า เพื่อเปิดโอกาสให้ทศกัณฑ์มาลักนางสีดาไป

โคลงพิทักษ์เกล็ดมังกร

โคลงพิทักษ์เกล็ดมังกร มีลักษณะเป็นดอกบัว โดยวางคำกลโคลงไว้ในดอกและกลีบบัวแต่ละกลีบ

โคลงปลากรายแฝงตอ

โคลงปลากรายแฝงตอ เป็นภาพของปลากรายตัวใหญ่ พยายามจะหลบลี้เร้นหนีไปแอบอยู่ที่ตอไม้ในน้ำ ด้วยความเกรงกลัวภัยต่างๆ ที่จะมาสู่ตน

โคลงไสรราชกระบี่

“โคลงไสรราชกระบี่” มีลักษณะรูปลักษณ์เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส วาดลวลายคล้ายกลีบบัว ภาพกลโคลงมีลักษณะสมมาตร เท่ากัน แล้วใส่คำโคลงในช่องว่างแต่ละช่อง มีรูปแบบการถอนโคลงที่เป็นระบบ

โคลงยมก

โคลงกลบท “ยมก” ชื่อ “ยมก” โดยคำศัพท์หมายถึง คู่, แฝด, สองชั้น เป็นโคลงกลบทจากจินดามณี มีรูปร่างเป็นทรงเรขาคณิต เป็นรูปสี่เหลี่ยมลดหลั่นขึ้นไปเป็นช่องๆ

โคลงกากบาท

โคลง "กากบาท" เป็นโคลงกลบทที่อยู่ “จินดามณี” ตำราแบบเรียนภาษาไทยชุดแรกของไทย ภาพโคลงเป็นรูปกากบาทเหมือนชื่อโคลง รูปร่างคล้ายไม้กางเขนอย่างคริสต์ศาสนา บรรจุคำโคลงไว้ในแกนกากบาททั้งสี่ด้าน