บทความ
พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ (12 หน้า)
ยันต์ , มงกุฎพระเจ้า , อิติปิโสเรือนเตี้ย , พระคาถา , วัดท่าพูด , นครปฐม , หลวงพ่อแก้ว , การเดินยันต์ , หลวงปู่เอี่ยม , วัดหนัง , รัชกาลที่ 5 , พระพุทธเจ้าหลวง
ยันต์มงกุฏพระเจ้า เกิดจากพระคาถามงกุฏพระเจ้า หรือคาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย ที่หลวงพ่อแก้วแห่งวัดท่าพูด จ.นครปฐม ได้เขียนไว้ในเอกสารโบราณ โบราณาจารย์ได้กล่าวว่าพระคาถานี้ศักดิ์สิทธิ์ เสกภาวนาป้องกันได้สารพัด ที่สำคัญพระพุทธเจ้าหลวง ร.5 ได้ประจักษ์ถึงคาถามงกุฏพระเจ้าด้วยพระองค์เองมาแล้ว
สมุดไทย , ใบลาน , เอกสารโบราณ , ความสำคัญ , มรดก , ภูมิปัญญา , มรดกทางวัฒนธรรม , จับต้องได้ , จับต้องไม่ได้ , การอนรักษ์ , การสืบทอด , วัฒนธรรม
เอกสารโบราณบันทึกเรื่องราว ความรู้ ภูมิปัญญา ของคนในอดีต สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมประเภทใดบ้าง และเราในฐานะผู้ที่รับมรดกเหล่านี้มาจะมีวิธีอนุรักษ์ รักษา และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมนี้อย่างไร
เสือ , เอกสารโบราณ , ของขลัง , ไสยศาสตร์ , เครื่องยา , การรักษาโรค , สมุนไพร
ในสมุดข่อยตำราไสยศาสตร์บันทึกเรื่องของเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่ง ทำจากหนังหน้าผากเสือที่ตายพรายหรือหมดอายุขัยเอง บางตำราถือว่าถ้าได้เสือที่เคยกินคนยิ่งดี หนังหน้าผากเสือเป็นแหล่งรวมตบะ บารมี และจิตวิญญาณของเสือ หนังหน้าผากเสือแท้ ๆ หาได้ยากแล้ว ใครมีตะกรุดหนังเสือก็มักจะอ้างว่าเป็นหนังหน้าผากเสือเพื่อให้ดูเข้มขลังยิ่งขึ้น
การจัดการข้อมูลเอกสารโบราณในรูปแบบดิจิทัล (Learning Tool Kit)
ศุภกรานต์ พุ่มพฤกษ์ , ดอกรัก พยัคศรี , นิสา เชยกลิ่น , ยุวดี ศรีห้วยยอด , ศิวพงษ์ วงศ์คูณ
คู่มือการจัดการเอกสารโบราณ , การดิจิทัล , การอนุรักษ์ , สื่อการเรียนรู้
ชุดการเรียนรู้พร้อมใช้ เรื่อง การจัดการเอกสารโบราณ (Learning Tool)
ด้วยฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย เห็นอุปสรรคของเครือข่ายวัดและสถาบันทางวัฒนธรรม เช่น พิพิธภัณฑ์ ที่มีวัตถุสะสมคือเอกสารโบราณเป็นจำนวนมาก ซึ่งเอกสารเหล่านั้นมีเนื้อหาที่ทรงคุณค่า ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอันสำคัญ สามารถนำไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม อาทิ ตำรายา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วรรณกรรมท้องถิ่น ธรรมคดี <br /><br /><br /><br />
แต่ยังไม่สามารถจัดการและนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ อันเนื่องมาจากขาดการอนุรักษ์เชิงกายภาพ การสำรวจและทำทะเบียนเพื่อให้ทราบจำนวนและประเภทข้อมูล ทำให้เข้าถึงเนื้อหาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อเป็นไปด้วยความลำบาก ซึ่งวัดและสถาบันทางวัฒนธรรมหลายแห่งพยายามติดต่อให้ศูนย์ฯ เข้าไปทำสำเนาดิจิทัลเอกสารโบราณเหล่านั้น<br /><br /><br /><br />
โครงการฯ จึงจัดทำชุดการเรียนรู้พร้อมใช้ เรื่อง การจัดการเอกสารโบราณ (Learning Tool Kit) สำหรับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวที่สามารถใช้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ด้านการจัดการมรดกวัฒนธรรมของท้องถิ่นโดยเครือข่ายที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรม
งานเสวนาวิชาการเอกสารโบราณ , ปาฐกถา , เอกสารตัวเขียน , เอกสารไท , เอกสารโบราณพลัดถิ่น
ไฟล์ประกอบการบรรยายของ รศ.เรณู วิชาศิลป์ ซึ่งเป็นองค์ปาฐกในงานเสวนาวิชาการเอกสารโบราณ เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 2567 ในหัวข้อ "ภาษาถิ่น ภาษาไทย ในเอกสารโบราณ...พลัดถิ่น" ในวันที่ 5 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
NPT004-089 , พรหมชาลสูตร , อานิสงส์ , สังคายนา , พระไตรปิฎก
เนื้อเรื่องของ อานิสงส์สังขยาธรรม ในช่วงที่เขียนด้วยอักษรขอมหวัดนั้น กล่าวถึงเรื่อง “พรหมชาลสูตร” พรหมชาลสูตรเป็นพระสูตรแรกในทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่บรรดาพระสาวกที่พระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา<br /><br />
ส่วนเนื้อเรื่องในช่วงที่เขียนด้วยอักษรขอมไทยบรรจง กล่าวถึงเรื่อง อานิสงส์สังขยาธรรม หรืออานิสงส์การสังคายนาพระไตรปิฎก โดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธานแก่พระอริยะสงฆ์ทั้ง 500 จัดตั้งการสังคายนา
NPT007-005 , แมว , สมุดไทย , สมุดภาพ , เอกสารโบราณ , ตำราดูแมว , ตำราดูลักษณะแมว , แมวมงคล
แมวถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่คู่กับคนไทยมาเป็นเวลานาน คนไทยคงให้ความสำคัญกับแมวไม่น้อย เห็นได้จากมีการเขียนตำราแมว หรือตำราดูลักษณะแมวมงคล ลองไปดูกันว่าสมัยก่อนแมวมงคลมีลักษณะเช่นไรและให้คุณแก่ผู้เป็นเจ้าของในด้านใดบ้าง
อ่านตำราแมว ฉบับหมอเห วัดท่าพูด : ย้อนรอยความเชื่อและความสัมพันธ์ของแมวกับคนไทยในอดีต
นวพรรณ ภัทรมูล
NPT007-005 , แมว , ตำราแมว , ตำราดูลักษณะแมว , บ้านหมอเห , นครปฐม , ลักษณะแมวดี
บทความนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ใน นวพรรณ ภัทรมูล. “อ่านตำราแมว ฉบับหมอเห วัดท่าพูด : ย้อนรอยความเชื่อและความสัมพันธ์ของแมวกับคนไทยในอดีต” ใน 25 ปี ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) รวมบทความจากภาคสนาม