บทความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ (12 หน้า)

ตำราคาถาและตำรายา วัดสำโรง

หน้าต้นกล่าวถึง คาถาปถมํ คือ การอุบัติของพระเจ้าทั้ง 5 พระองค์ การบำเพ็ญบารมีจนถึงสูญนิพพาน คาถาต่างๆ ทั้งคาถาเมตตามหานิยม คาถาอยู่ยงคงกระพัน คาถาต่อกระดูก เป็นต้น หน้าปลายเป็นตำรายา กล่าวถึง คัมภีร์โรคนิทาน เป็นชื่อของคัมภีร์ที่ว่าด้วยเหตุและสมุฏฐานของโรค โรคที่เกิดจากธาตุทั้งสี่พิการ (ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ อาโปธาตุ) และสูตรยารักษาโรคนั้นๆ เช่น อาโปพิการ ร่างกายขาวซีด ง่วงซึม รักษาด้วย เจตมูลเพลิงแดง 1 ลูกผักชี 1 เปลือกมูกมัน 1 ก็ทำเป็นผงละเอียดละลายน้ำร้อนกินแก้โรค เป็นต้น

อานิสงส์ดอกเผึ้ง (อานิสงส์ดอกเทียน)

อานิสงส์สร้างดอกเผิ้งหรืออานิสงส์ดอกเทียน กล่าวถึงบุญกุศลที่ได้จากการสร้างปราสาทที่ทำจากเทียนแล้วปั้นแต่งเป็นรูปดอกไม้ตกแต่งปราสาทผึ้ง (ดอกไม้ที่ทำจากเทียน เรียก ดอกผึ้ง ดอกเผิ้ง หรือดอกเทียน) เพื่อความสวยงามปราณีต ซึ่งการสร้างปราสาทผึ้งนิยมกระทำในช่วงออกพรรษา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับ ตามความเชื่อที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานของชาวอีสาน

พระอานิสงส์สร้างระฆัง

อานิสงส์สร้างระฆังฉบับนี้กล่าวถึง พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมด้วยการยกนิทานขึ้นมาเล่าให้แก่พุทธบริษัทได้ฟัง ความว่า อดีตกาลนั้นนานมาแล้ว พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงแสดงธรรมว่าด้วยเรื่องอานิสงส์ของการสร้างระฆัง เหตุการณ์เริ่มขึ้นเมื่อบุรุษเข็ญใจผู้หนึ่งที่พึ่งพาพระภิกษุและขออาหารประทังชีวิตมาตลอด ได้พบมหาโจรกลุ่มหนึ่งหมายเอาชีวิต เขาต้องการเอาตัวรอดจึงพาโจรไปยังอารามของพระภิกษุและสามเณรเพื่อให้โจรฆ่าพระภิกษุแทนตัวเอง เมื่อไปถึงไม่พบใครจึงตีระฆัง เหล่าพระภิกษุและสามเณรทั้งหลายที่ได้ยินเสียงระฆังจึงปรากฏตัว สามเณรชื่อ สํกิจจํ อาสาเสียสละตนเองเพื่อช่วยชีวิตคนที่เหลือ แต่ความอัศจรรย์เกิดขึ้นจังหวะที่ดาบฟาดลงที่คอดาบก็แตกหักกระจัดกระจาย เหล่าโจรเห็นดังนั้นก็เกิดความเลื่อมใสจึงปวารณาตนของบวช และหมั่นเพียรฝึกกรรมฐาน<br />
เรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะระฆังจึงเป็นปฐมเหตุ เสียงระฆังเป็นเสียงมงคล และเป็นที่ตั้งของพุทธศาสนา ผู้ใดบริจาคทรัพย์สร้างระฆัง ผู้นั้นจะมีอานิสงส์มาก มีเสียงอันไพเราะ และเป็นที่เชื่อถือของคนทั่วไป ครั้นสิ้นชีวิตจะได้ไปอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เสวยสมบัติอันมาก และมีเสียงไพเราะกว่าเทวดาทั้งปวง ครั้นได้ลงมาเกิดในโลกมนุษย์ก็จะมีชีวิตสุขสบาย ทรัพย์สมบัติมหาศาล

พระยาสี่เสาร์

วรรณกรรมเรื่อง พระสี่เสาร์ หรือพระสี่เสาร์กลอนสวดนี้ มีที่มาจากชาดกนอกนิบาตคือ ปัญญาสชาดก โดยนำเนื้อเรื่องจาก “สิโสรชาดก” มาแต่งเป็นวรรณกรรมกลอนสวด ชาดกในปัญญาสชาดกถือว่ามีอิทธิพลในการสร้างสรรค์งานวรรณกรรมร้อยกรองของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น เรื่องสมุทรโฆษ เรื่องพระรถเสน เรื่องพระสุธน เป็นต้น สำหรับเรื่องพระสี่เสาร์นี้ หมื่นพรหมสมพัตสร(มี) กวีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นกล่าวถึงใน “นิราศเดือน” ซึ่งสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตำราพระอาทิตย์ ฉบับวัดเทียนดัด นครปฐม

สมุดไทยขาวเรื่อง NPT008-003 ตำราพระอาทิตย์ ฉบับวัดเทียนดัด นครปฐม
กล่าวถึงตำนานกำเนิดฤกษ์ต่าง ๆ ในฉบับนี้มีทั้งหมด 39 ฤกษ์ หลังจากนั้นกล่าวถึงการดูพระอาทิตย์ การดูเมฆ และลางบอกเหตุต่าง ๆ และบอกคำทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น

สันนิบาตคำกลอน

ตำรายาว่าด้วยโรคไข้สันนิบาตต่างๆ ในส่วนแรกกล่าวถึงจรรยาบรรณแพทย์แผนไทย และลักษณะไข้สันนิบาตต่างๆ เขียนด้วยกลอนสุภาพ จากนั้นเป็นสูตรยาสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคไข้สันนิบาต นอกจากนี้ตอนท้ายยังกล่าวถึงการกำเนิดไข้ดาวโคมตัวผู้ ไข้ดาวเรือง

ตำรายา ฉบับหมอเห สายโกสินทร์

ตำรายาฉบับนี้จดบันทึกยารักษาโรคต่างๆ และตัวยาสมุนไพรที่ใช้ทำยา เช่น ยาแก้สารพัดโรคเพื่อบำรุงร่างกาย ยากวาด ยามะเร็ง ยาลม ยาแก้หืดแก้ไอ ยาแก้โรคริดสีดวง ยาแก้บิด ยาทาทวาร ยาแก้โรคสันนิบาต เป็นต้น

ตำราไสยศาสตร์ ฉบับบ้านหมอเห สายโกสินทร์

หน้าต้นเริ่มด้วยบทไหว้ครู จากนั้นกล่าวถึงยาหม้อสูตรต่างๆ ซึ่งแต่ละสูตรจะมีคาถากำกับตัวยาสมุนไพรแต่ละชนิดไว้ ได้แก่ ยาหม้ออภัยษารี ยานิลรัศมี ยาหอมประทานพิษ ยามหานิลกาฬกระบือ ยารุคุณ ยาคุณพระ(ยาพอก) และยาหม้อคุณพระ <br />
<br />
หน้าปลายเริ่มต้นด้วยคาถาพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ, ก ข จนจบ, คาถาอาการ 32, หัวใจสัตตโพฌชงค์, หัวใจพุทธคุณ จากนั้นเป็นกล่าวถึงคาถาปิดทวารทั้ง 9 คาถาเสกน้ำสระผม คาถาทำน้ำมนต์ป้องกันอันตราย คาถามหาเสน่ห์ ภาพเขียนยันต์และคาถากำกับสำหรับทำตะกรุด และวิธีทำเบี้ยแก้ของหลวงพ่อบุญ วัดกลางบางแก้ว ซึ่งเป็นคาถาที่น่าสนใจยิ่ง