บทความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ (12 หน้า)

ตำรายา ฉบับวัดบางช้างเหนือ

กล่าวถึง ชื่อโรคและยารักษาโรค อาทิ ยารักษาไข้ต่างๆ ได้แก่ ยากุนสะ ยามหาสมมิด ยาเนาวโกฐ ยารักษาโรคเลือด ได้แก่ ยาวิมูลจิต ยามหาประทาน ยาตรีทศวาช และยานัตถุ์ ได้แก่ ยาพระจันทร์ดันเมฆ ยามหานุภาพ ยาแม่หม้ายผัวร้าง ยาช้างประสานงา ยาอาไลยสงสาร ยาช้างประสานงา เป็นต้น

อานิสงส์ผ้าป่า

“อานิสงส์ผ้าป่า” กล่าวถึง พระพุทธเจ้าแสดงธรรมที่มาของผ้าจีวรในสมัยพุทธกาลทั้ง 23 และอานิสงส์ของการถวายผ้าจีวร ว่ามีอานิสงส์มากทำให้แกนกลางของโลกอย่างเขาพระสุเมรุอ่อนไหวเอนอ่อนเหมือนหวายลนไฟ

คติความเชื่อและโลกทัศน์ในตำรายาจากจารึกและเอกสารโบราณ

“ตำรายาพื้นบ้าน” เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงองค์ความรู้ ภูมิปัญญาเรื่องการแพทย์พื้นบ้านของคนไทยในอดีตที่ถูกบันทึกไว้ในเอกสารโบราณทั้งในจารึก สมุดไทย ใบลาน ฯลฯ และยังหลงเหลืออยู่มาจนถึงปัจจุบัน ตำรายาพื้นบ้านมีรูปแบบ กลวิธีการเขียนที่เป็นเอกลักษณ์และแตกต่างจากเอกสารในหมวดอื่นๆ นอกจากนี้ยังแฝงถึงคติความเชื่อ และโลกทัศน์ของคนไทยในอดีตที่เกี่ยวข้องกับระบบการแพทย์แผนไทย

ความเชื่อในตำรายา

ความเชื่อที่ปรากฏในเอกสารโบราณตำรายา เป็นความเชื่อที่อยู่กับคนไทยในสมัยโบราณมาช้านาน มีทั้งความเชื่อโดยทั่วไปที่คนในท้องถิ่นต่างมีร่วมกัน และความเชื่อเฉพาะในศาสตร์การแพทย์แผนไทย ความเชื่อทั่วไปที่มีร่วมกันได้แก่ ความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ ความเชื่อในพระพุทธศาสนา ส่วนความเชื่อเฉพาะในศาสตร์การแพทย์แผนไทยนั้น ได้แก่ ความเชื่อเรื่องสาเหตุของการเกิดโรค ความเชื่อเรื่องของพิธีกรรมและคาถาอาคม

สมุนไพรรักษากายา มนต์คาถารักษาจิตใจ

ในอดีตคนไทยมีระบบการแพทย์แผนไทยในการักษาโรค โดยใช้สมุนไพรเป็นตัวยาสำคัญในการรักษาโรค ขณะเดียวกันหากมีโรคระบาด ผู้คนเจ็บป่วยล้มตายมากมาย หรือโรคที่ยากแก่การรักษา สิ่งเหล่านี้ทำให้คนไข้มีจิตใจที่ห่อเหี่ยว ท้อแท้ สิ้นหวังกับการรักษา สิ่งที่พอจะช่วยบรรเท่าเยียวยาจิตใจให้แข็งแกร่งต่อสู้กับโรคภัยได้ ก็คือ "มนต์คาถา" ที่ใช้ควบคู่ไปกับสมุนไพรนั่นเอง

ว่าด้วยเรื่องแรกนาหว่านไถ

ในอดีตการทำนาปลูกข้าวถือเป็นอาชีพที่เลี้ยงปากเลี้ยงท้องคนไทยมาอย่างยาวนาน เพราะข้าวคืออาหารหลักที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคนไทย คนไทยให้ความสำคัญกับเกี่ยวกับการทำนาและต้นข้าวอย่างมาก สังเกตได้จากพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

พระธรรมศาสตร์

ว่าด้วยเรื่องบทลงโทษ การปรับสินไหม ในคดีต่างๆ ตามแต่ละมาตรา เช่น การทะเลาะวิวาท การบุกรุกพื้นที่ การลักทรัพย์ การด่าทอด้วยคำหยาบคาย การกู้หนี้ยืมสิน

สุภาษิตสอนสตรี

“สุภาษิตสอนสตรี” นี้เดิมเรียกกันว่า “สุภาษิตสอนหญิง” หรือ “สุภาษิตไทย” แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดกลอนแปดสุภาพ เนื้อหาของสุภาษิตสอนสตรีเป็นหลักประพฤติในการปฎิบัติตนของสตรีตามค่านิยมของสังคมไทยดั้งเดิม เป็นคำสอนที่ใช้ได้กับสตรีทุกชนชั้น มีทั้งข้อห้าม ข้อควรปฏิบัติ ทั้งในเรื่องการวางตัว กิริยามารยาท การพูดจา การแต่งกาย การเลือกคู่ครอง การดูแลบ้านเรือน เป็นต้น และต่อจากนั้นยังกล่าวถึงลักษณะไม่พึงประสงค์ของผู้หญิงแบบต่างๆ เช่น ละทิ้งพ่อแม่ ชอบแต่งตัว ติดการพนัน สูบฝิ่นกินเหล้า เป็นต้น