บทความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ (12 หน้า)

ตำรายา พยากรณ์

RBR003-054 ตำรายา พยากรณ์ ฉบับวัดใหม่นครบาล จังหวัดราชบุรี เป็นสมุดไทย เขียนด้วยเส้นหมึกดำและดินสอ อักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยถิ่นเหนือ เอกสารสภาพไม่สมบูรณ์ ขอบสมุดไทยเปื่อยยุุ่ยเล็กน้อย หน้าสมุดไทยบางหน้าตัวหนังสือจางหายทำให้อ่านไม่ได้ และชำรุดขาดหายไปบางส่วน เหลือจำนวน 32 หน้า ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้าง มีภาพประกอบเป็นภาพลายเส้น เช่น นาคสมพงศ์ เป็นต้น<br />
หน้าต้นเป็นตำรายา กล่าวถึงยา เช่น ยาซาง อาการของโรค และยาสำหรับรักษาโรค ส่วนหน้าปลายนั้น กล่าวถึง ตำราดูธาตุชายหญิง ตำราสู่ขวัญ นาคสมพงศ์ เป็นต้น

พระสุนันทราช

NPT009-002 พระสุนันทราช ฉบับวัดท่าข้าม นครปฐม
ต้นฉบับกล่าวถึง พระพุทธเจ้าทรงปรารภถึงพระสุนันทราช ทรงเล่าถึงความสงสัยในพระทัยพระองค์ พระสุนันทราชเสด็จมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อถามปัญหา เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาแก่พระสุนันทราช ทรงบอกกุศลแห่งการสร้างหนังสือพระสุนันทราชเอาไว้ในพระพุทธศาสนา และพระสุนันทราชทรงบรรลุพระอรหันตผล

ตำราคณิตศาสตร์ ฉบับวัดบางช้างเหนือ

หน้าต้นกล่าวถึง แบบคิดหน้าไม้ วิธีคิดหน้าไม้ มาตราเงินไทยโบราณ การบวกลบคูณหารทั่วไป บวกลบคูณหารของเงินไทยโบราณ การซื้อของแลกเปลี่ยนด้วยเงินไทยโบราณ
หน้าปลายกล่าวถึง ยาแก้อาการเจ็บป่วย และสูตรยาสำหรับรักษาโรคนั้นๆ อาทิ ยาแก้ไข้บำบัดไข้กำเดา ยาต้มแก้ไข้สันนิบาต ยาแก้กษัย ยาแก้กษัย กษัยเส้น กษัยกล่อน กษัยเลือดลม แก้ริดสีดวง ฯลฯ

คัมภีร์อาไภยสาลี

แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ กล่าวด้วยไข้ เขียนเป็นกาพย์ยานี 11 สมุดไทยมีการแบ่งเรื่องแตกต่างจากแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ โดยจะมีหมายเลขกำกับหัวข้อไว้แต่ละเรื่อง ด้วยสมุดไทยชำรุดเสียหายไป จึงเริ่มต้นในส่วนกลางของหัวข้อที่ 33 บันทึกยาวไปจนถึงหัวข้อที่ 50 โดยในตอนท้ายระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “จบคัมภีร์อาไภยสาลีแต่เท่านี้แลนะท่านเอย” ซึ่งในหนังสือแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ไม่ได้ระบุไว้แบบนี้ เพียงแต่ขึ้นต้นเรื่องใหม่คือ ว่าด้วยชีพจร

อักษรไทยย่อ ในเอกสารโบราณ วัดบ้านแลง จังหวัดระยอง

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ เปรียบเทียบ รูปตัวอักษรไทยย่อ ทั้งพยัญชนะ สระ ของเอกสารโบราณวัดบ้านแลง เรื่องพญาฉัททันต์ กับ เรื่องนันโทปนันทสูตรคำหลวง ซึ่งถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นเรื่องที่เขียนด้วยอักษรไทยย่อที่สวยที่สุด เขียนขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยจะนำมาเปรียบเทียบกัน ว่าระหว่างสมัยอยุธยาตอนปลาย และรัตนโกสินทร์ตอนต้นจะมีพัฒนาการของตัวอักษรเป็นเช่นไร

ตำรายา ฉบับวัดบางช้างเหนือ

กล่าวถึง ชื่อโรคและยารักษาโรค อาทิ ยารักษาไข้ต่างๆ ได้แก่ ยากุนสะ ยามหาสมมิด ยาเนาวโกฐ ยารักษาโรคเลือด ได้แก่ ยาวิมูลจิต ยามหาประทาน ยาตรีทศวาช และยานัตถุ์ ได้แก่ ยาพระจันทร์ดันเมฆ ยามหานุภาพ ยาแม่หม้ายผัวร้าง ยาช้างประสานงา ยาอาไลยสงสาร ยาช้างประสานงา เป็นต้น

อานิสงส์ผ้าป่า

“อานิสงส์ผ้าป่า” กล่าวถึง พระพุทธเจ้าแสดงธรรมที่มาของผ้าจีวรในสมัยพุทธกาลทั้ง 23 และอานิสงส์ของการถวายผ้าจีวร ว่ามีอานิสงส์มากทำให้แกนกลางของโลกอย่างเขาพระสุเมรุอ่อนไหวเอนอ่อนเหมือนหวายลนไฟ

คติความเชื่อและโลกทัศน์ในตำรายาจากจารึกและเอกสารโบราณ

“ตำรายาพื้นบ้าน” เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงองค์ความรู้ ภูมิปัญญาเรื่องการแพทย์พื้นบ้านของคนไทยในอดีตที่ถูกบันทึกไว้ในเอกสารโบราณทั้งในจารึก สมุดไทย ใบลาน ฯลฯ และยังหลงเหลืออยู่มาจนถึงปัจจุบัน ตำรายาพื้นบ้านมีรูปแบบ กลวิธีการเขียนที่เป็นเอกลักษณ์และแตกต่างจากเอกสารในหมวดอื่นๆ นอกจากนี้ยังแฝงถึงคติความเชื่อ และโลกทัศน์ของคนไทยในอดีตที่เกี่ยวข้องกับระบบการแพทย์แผนไทย