เอกสารโบราณ

คำประพันธ์ : ร้อยกรอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ (10 หน้า)

NPT001-018 ประวัติพุทธโฆษาจารย์

ตำนาน
วัดท่าพูด , พุทธโฆษาจารย์ , คัมภีร์วิสุทธิมรรค , ลังกา , บาลี

พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นชาวอินเดีย เกิดในตระกูลพราหมณ์ และได้ร่ำเรียนจนจบไตรเพทตามธรรมเนียมพราหมณ์ก่อนที่จะมาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาโดยการชักจูงของพระเรวัตตะเถระ จากนั้นก็พากเพียรเรียนพระไตรปิฎกจนมีความรู้แตกฉาน ก็มีความคิดที่จะแต่งอรรถกถา แต่ในตอนนั้นที่อินเดียมีแต่บาลีพระไตรปิฎกเท่านั้น ดังนั้นท่านจึงได้เดินทางไปที่เกาะลังกาเพื่อแปลอรรถกาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี และได้รจนาพระคัมภีร์วิสุทธิ-มรรคในขณะที่อยู่ลังกา

PBI001-018 ตำราไสยศาสตร์

ตำราโหราศาสตร์ , ตำราไสยศาสตร์
วัดโคก , เพชรบุรี , ยันต์ , การทำนาย , การดูดวง , คาถา , การเสกขี้ผึ้ง , การต่อกระดูก

สมุดไทยขาวบันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย และอักษรขอมไทย ภาษาบาลี แทรกเล็กน้อย

ในส่วนหน้าต้น กล่าวถึงเรื่องโหราศาสตร์เป็นบทประพันธุ์ร้อยกรอง เช่น

“ วันอาทิดใหนายทับนุงแดง       เสีอแสงโลหิดวัดถา

วันจันนุงข้าวผองตองตำมรา       วันอังคางนุงมวงชวงฉาย     

วันพุทนุงชุมพูดูดี                      ตามหาพิไชยรุศวัดดี

เสีอสวมกายโภกเสียรตามสี       เสีอสีดุจะนุงรุงเรีอง

วันพระหัดนุงสีแสดสลับ            ประดับกายแกดกอนอาภอนเหลีอง

วันศุกให้นายทับประดับเครีอง    วันเสานุงดำอำไพ้ย

มาขีสีตามอัถฏวอน                   นุงสีเมกเหลีองอลังการ

ชอบพิไชณรงรานชานสมอน     ทินณกอรมกบังบนนํพา”

หน้าปลาย เรียบเรียงเป็นบทประพันธ์ร้อยแก้ว กล่าวถึงคาถาต่าง ๆ เช่น คาถาเสกขี้ผึ้ง คาถาต่อกระดูก เป็นต้น

PBI001-012 ตำรายา

ตำราเวชศาสตร์
วัดโคก , เพชรบุรี , โรค , ไข้ , ความเจ็บป่วย , สมุนไพร , การรักษา , อติสาร , อภัยสันตา , ปถมจินดา

สมุดไทยขาว เขียนด้วยอักษรไทย ภาษาไทย และอักษรขอมไทย ภาษาบาลีแทรกเล็กน้อย กล่าวถึงคัมภีร์รักษาโรคต่าง ๆ เช่น คัมภีร์อภัยสันตา คัมภีร์ปถมจินดา คัมภีร์อติสาร ซึ่งในหน้าต้นเขียนเป็นร้อยกรอง ตัวอย่างเช่น “อาทิดทรางไฟยสำคัน ทรางนำอรรยจรรณั ทรางแดงนันอังคาน อันพุดสกอเกอกาน ครุอนบนดานกำเนีดนัน ทรางฅาวี อันสุกทรางเสารี ทรางโจนนันนีมี กำเนีดประจำต่ามอรร” (อาทิตย์ซางไฟสำคัญ ซางน้ำอัศจรรย์ ซางแดงนั้นอังคาร อันพุธสกอเกอกาน ครุวันบนดานกำเนิดนั้น ซางคาวี อันศุกร์ซางเสาร์ ซางโจรนั้นนี้มี กำเนิดประจำตามวัน- ภาษาไทยปัจจุบัน) และ “จบคำพีนึง แต่เทานี จบเดือนสิบแรมสิบ 3 คำ วันอังคารตะวันบ่ายบ่อยนึง” (จบคัมภีร์นี้แต่เท่านี้ จบเดือนสิบ แรม 13 ค่ำ วันอังคารตะวันบ่ายบ่อยหนึ่ง-ภาษาไทยปัจจุบัน) จากนั้นเป็นข้อความร้อยแก้ว "๏ นาตำกำพีขาวดีงเกสาแล" (หน้าต้น คัมภีร์ขาวดึงเกสาแล-ภาษาไทยปัจจุบัน)

NPT010-016 ตำราคาถา และตำรายา

ตำราไสยศาสตร์ , ตำราเวชศาสตร์
ยันต์ , คาถา , ยา , ไสยศาสตร์ , เวชศาสตร์ , สมุนไพร

สมุดไทยเรื่อง NPT010-016 ตำราคาถาและตำรายา ฉบับวัดสำโรง จ.นครปฐม เป็นสมุดไทยขาวตัวอักษรขอมไทย, ไทย ภาษาบาลีและภาษาไทย เขียนด้วยเส้นหมึกสีดำ ลายมือที่ปรากฏในสมุดไทยมี ๒ ลายมือแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ลายมือแรกเขียนตัวอักษรขอมไทยได้บรรจง สวยงาม ส่วนลายมือที่สองค่อนข้างหวัด สันนิษฐานว่าในหน้าต้นที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องตำราคาถานั้นถูกเขียนขึ้นมาก่อนซึ่งไม่ได้เขียนจนหมดฉบับ จากนั้นถูกนำไปเขียนเรื่องตำรายาภายหลัง สมุดไทยขาวฉบับนี้ไม่ครบฉบับ หน้าต้นและหน้าปลายขาดหายไปเป็นที่น่าเสียดายมาก บางตำแหน่งมีรอยน้ำซึมทำให้ตัวอักษรลบเลือนไปเล็กน้อย หน้าต้นกล่าวถึง คาถาปถมํ คือ การอุบัติของพระเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ การบำเพ็ญบารมีจนถึงสูญนิพพาน คาถาต่างๆ ทั้งคาถาเมตตามหายนิยม คาถาอยู่ยงคงกระพัน คาถาต่อกระดูก เป็นต้น หน้าปลายเป็นตำรายา กล่าวถึง คัมภีร์โรคนิทาน เป็นชื่อของคัมภีร์ที่ว่าด้วยเหตุและสมุฏฐานของโรค โรคที่เกิดจากธาตุทั้งสี่พิการ (ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ อาโปธาตุ) และสูตรยารักษาโรคนั้นๆ เช่น อาโปพิการ ร่างกายขาวซีด ง่วงซึม รักษาด้วย เจตมูลเพลิงแดง ๑ ลูกผักชี ๑ เปลือกมูกมัน ๑ ก็ทำเป็นผงละเอียดละลายน้ำร้อนกินแก้โรค เป็นต้น

NPT005-004 สุภาษิตสอนสตรี

วรรณคดี
วัดบางช้างใต้ , วรรณคดี , สอนหญิง , คำสอน , สุนทรภู่

สุภาษิตสอนสตรีนี้เดิมเรียกกันว่า “สุภาษิตสอนหญิง” หรือ “สุภาษิตไทย” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่า “สุนทรภู่เห็นจะแต่งเมื่อราวระหว่างปี พ.ศ. 2340-2383 ในเวลา เมื่อกลับสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ แล้วต้องตกยากจนถึงลอยเรืออยู่ พิเคราะห์ตามสำนวนดูเหมือนหนังสือเรื่องนี้สุนทรภู่แต่งขายเป็นสุภาษิตสอนสตรีสามัญทั่วไป ความไม่บ่งว่าแต่งให้ผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ ต้นฉบับเดิมที่หอพระสมุดฯ ได้มาเรียกว่า สุภาษิตไทย เป็นคำสมมติผู้อื่น ดูเหมือนผู้สมมติจะไม่รู้ว่าเป็นกลอนของสุนทรภู่ด้วยซ้ำไป ถ้อยคำในต้นฉบับก็วิปลาสคลาดเคลื่อน ต้องซ่อมแซมในหอพระสมุดฯ หลายแห่ง แต่นับว่าแต่งดีน่าอ่าน” (กรมศิลปากร, ประชุมสุภาษิตสอนหญิง, เอดัน เพรส โพรดักส์ จำกัด, 2555, 159.)

BKK001-034 วรรณคดี

วรรณคดี
วัดหนัง , วัดหนังราชวรวิหาร , พิพิธภัณฑ์วัดหนัง , สมุดไทย , เอกสารโบราณ , วรรณคดี , อักษรศาสตร์

วรรณคดีไม่ทราบชื่อเรื่อง ไม่ครบฉบับ แต่ลายมือที่เขียนค่อนข้างสวย

RBR002-1087 ลิ้นทอง

วรรณคดี
วัดคงคาราม , ราชบุรี , มอญ , คลองตาคต , เอกสารโบราณ , สมุดไทย , พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน , เอกสารตัวเขียน , ชาติพันธุ์ , นายทรง , วรรณคดี

สมุดไทยขาว บันทึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย ลายมือเป็นระเบียบสวยงาม อ่านง่าย และมีการบุว่า “ผู้คัดลอก คือ นายทรง”

NPT007-005 ตำราดูลักษณะแมว

ตำราภาพ , ตำราสัตวศาสตร์ , ตำราโหราศาสตร์
บ้านหมอเห , สัตว์ , แมว , ดูลักษณะ , ตำราแมว , ตำราดูแมว

แมวถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่คู่กับคนไทยมาเป็นเวลานาน คนไทยคงให้ความสำคัญกับแมวไม่น้อย เห็นได้จากมีการเขียนตำราแมว หรือตำราดูลักษณะแมวมงคล ลองไปดูกันว่าสมัยก่อนแมวมงคลมีลักษณะเช่นไรและให้คุณแก่ผู้เป็นเจ้าของในด้านใดบ้างแมวถือเป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่คู่กับคนไทยมาเป็นเวลานาน คนไทยคงให้ความสำคัญกับแมวไม่น้อย เห็นได้จากมีการเขียนตำราแมว หรือตำราดูลักษณะแมวมงคล ลองไปดูกันว่าสมัยก่อนแมวมงคลมีลักษณะเช่นไรและให้คุณแก่ผู้เป็นเจ้าของในด้านใดบ้าง