ตำรายารักษาโรคต่างๆ เช่น แก้ตุ่ม ยาเลือด แก้ไข้ แก้ปวดตีน แก้ชัก แก้เป็นบ้า แก้พิษ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/7 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
อังกา มี 2 แบบ คือ อักษรไทย ก กา กิ กี กู เก โก ไก และ เลขไทย ๑๓-๑๘ สันนิษฐานว่ามาจากใบลานคนละฉบับ ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/6 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
ทะเบียนของหอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติ คือ (23) สบ. 23.1.4/5 นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์ได้มอบให้หอจดหมายเหตุสาธารณสุขแห่งชาติเก็บรักษา
พระมาลัยเป็นพระอรหันต์จากลังกา เป็นพระที่ได้บรรลุอิทธิวิธี คือสามารถแสดงฤทธิ์ได้ ด้วยอานิสงส์จากการถวายทานและปฏิบัติฌานสมาบัติ พระมาลัยได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีฤทธิ์รองลงมาจากพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งได้รับยกย่องในเอตทัคคะในด้านผู้มีฤทธิ์มาก เรื่องพระมาลัยเป็นตำนานเล่าขานในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาททั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยและในประเทศลาว ในเรื่องเล่าว่าพระมาลัยได้ลงไปในนรกและได้ไปสอนธรรมโปรดชาวนรก ท่านได้ไปรู้ไปเห็นว่าสัตว์นรกถูกลงโทษตามผลกรรมตามนรกขุมต่าง ๆ อย่างไร
“ปฐมสมโพธิกถา” มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า “เรื่องราวเกี่ยวแก่การตรัสรู้โดยแจ่มแจ้งและเลิศล้ำของพระพุทธเจ้าซึ่งเพิ่งจะบังเกิดผ่านพ้นไป” ปฐมสมโพธิกถาแบ่งเนื้อหาออกเป็น 29 ตอน แต่ละตอนเรียกว่า ปริจเฉจ แม้ชื่อเรื่องปฐมสมโพธิกถาจะเน้นพุทธประวัติตอนตรัสรู้ แต่เนื้อเรื่องของปฐมสมโพธิกถาครอบคลุมประวัติทั้งหมดของพระสมณโคดมพุทธเจ้าตั้งแต่กำเนิดศากยตระกูลและการวิวาห์ระหว่างพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาและพระนางสิริมหามายาพุทธมารดา พระโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตลงสู่พระครรภ์พระพุทธมารดาและมีเรื่องและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวแก่พระธาตุผนวกอยู่ตอนท้ายของเรื่อง (ข้อมูลจาก https://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=116)
“ปฐมสมโพธิกถา” มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า “เรื่องราวเกี่ยวแก่การตรัสรู้โดยแจ่มแจ้งและเลิศล้ำของพระพุทธเจ้าซึ่งเพิ่งจะบังเกิดผ่านพ้นไป” ปฐมสมโพธิกถาแบ่งเนื้อหาออกเป็น 29 ตอน แต่ละตอนเรียกว่า ปริจเฉจ แม้ชื่อเรื่องปฐมสมโพธิกถาจะเน้นพุทธประวัติตอนตรัสรู้ แต่เนื้อเรื่องของปฐมสมโพธิกถาครอบคลุมประวัติทั้งหมดของพระสมณโคดมพุทธเจ้าตั้งแต่กำเนิดศากยตระกูลและการวิวาห์ระหว่างพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาและพระนางสิริมหามายาพุทธมารดา พระโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิตลงสู่พระครรภ์พระพุทธมารดาและมีเรื่องและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวแก่พระธาตุผนวกอยู่ตอนท้ายของเรื่อง (ข้อมูลจาก https://www.sac.or.th/databases/thailitdir/detail.php?meta_id=116)
ไชยเชษฐ์ เป็น นิทานพื้นบ้าน สมัย กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี มีผู้นำนิทานเรื่องนี้มาเล่นเป็นละครเพราะเป็นเรื่องสนุก ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงนำนิทาน เรื่องไชยเชษฐ์มาพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอก เดิมละครนอกเป็นละครที่ราษฎรเล่นกัน
ท้าวลินทอง เป็นการตั้งชื่อเรื่องจากตัวละครเอกที่ชื่อ “ลินทอง” เพื่อสอดคล้องกับตัวละครเอกที่ในอดีตชาติ “ลินทอง” เป็นพระโพธิ์สัตว์กลับชาติมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า วรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง ลินทอง เป็นวรรณกรรมศาสนา เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำ เรื่องการทูต หรือเรื่องคารมเสน่หา จนในปัจจุบันผู้คนนิยมเอาคาถาลินทองไปเจรจาธุรกิจ หรือเอาไปใช้ในการจีบผู้หญิง
สมุดไทยบันทึกวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่อง ท้าวลินทอง