RBR_003_239-243 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 26 นรชิวสูตร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ-ล่องชาด 5 ผูก” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “ผูกต้น นรชีวแลนายเหย” ท้ายลาน ระบุ “กาลธรรมเทศนายังนรชีว ผูกต้น ก็เสด็จแล บอระมวลแก่กาลเท่านี้ก่อนแล ⁜๛ เสด็จแล้วเวลาเพลน้อย ๑ แลนายเนอ ๛ เดือน ๑๐ ขึ้น ๖ ค่ำ วัน ร วัน อา ๑ ศักราช ๒ พัน ๕ ร้อย ๑๐ วัสสา ล่วงไป ๗ วัน ยังจักมา ๙ วันเดือน ยังจักมา ๓ เดือน ปีมะโรง แลเหยนาย || ใส่ศักฯถูกบ่ถูกก็บ่รู้ได้แล ข้าขอกุศลจิ่มเทอะ พระยาพ่อ พระยาแม่เนอ || เขียนบ่ดีบ่งาม คันว่าอยา[ก]ทางงาม หื้อทำนาได้ข้าวหลาย ๆ ก่อนเทอะ จิ่งได้ตัวงามแล้ว || บ่เคยสักคำเท่อ แอวมันก็เจ็บ อตส่าห์เอาจีนั้นแล้ว ทุพี่พระพี่เหย “นรชีวะ มีด้วยกัน ๔ ผูกต้น มันท่องอังกูรแล ว่าเรื่องมันมันว่าวอก ว่าวอก แว่ แว่ วอก บ่เชื่อก็ลองดูเทอะ” “ที่นี้จะกล่าวส่วนบุญก่อนแล หนานทองกับนางรา กับลูกเต้าหลานเหลน พ่อแม่ลูกเต้าพร้อมแล้ว จิ่งซื้อเอาใบลานมาให้รัสสภิกขุบุด เขียนไว้กับศาสนา คันข้ามีสติปัญญามีมาแล้ว คันว่าได้ทำบุญหา บาบุญจัน แม่เอี้ยงแล้วจิ่งจะสละแลท่านเอย || ดูกึ่งกลางเสียก่อนจริงนา” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน
RBR_003_239-243 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 26 นรชิวสูตร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ-ล่องชาด 5 ผูก” / RBR_003_239-242 ชุดเดียวกัน ทองทึบ ทองหลุด พื้นรัก หน้าทับต้น ระบุ “ฯฯหน้าต้นนรชีวะ ผูกต้นแลนายเหยฯฯ” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “เรื่องทอดกฐิน”, “นวจิระ ผูก ๑” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ “นรชิวกสูตร” / เขียนอักษรธรรมล้านนาด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ “มี ๔ ผูกกับกัน” ท้ายลาน ระบุ “กาลธรรมเทศนายัง นรชีวะ ผูกต้น ก็เสด็จแล้ว บอระมาลควรแก่กาลเท่านี้ก่อนแล ฯฯ จบแล้วตาวันพอใส่นาแลง”
RBR_003_239-243 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 26 นรชิวสูตร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ-ล่องชาด 5 ผูก” หน้าทับต้น ระบุ “นรชีวะผูก ๓ มี ๔ ผูก ฯ คุณตาอ่ำสร้าง” (อักษรตัวเอียงเขียนปากกาเมจิกสีน้ำเงินทับ ) / ด้านหลัง ระบุ “ฯ หน้าต้นนรชีวะผูก ๓ แลนายเหยฯ” ท้ายลาน ระบุ “กาลธรรมเทศนายังนรชีวะ ผูกถ้วน ๒ ก็เสด็จบอระมวลเท่านี้ก่อนแล ฯฯะ” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ
RBR_003_244-248 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 29 พระมาลัย อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 5 ผูก” / RBR_003_244-245 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “ฯฯหน้าต้นมาลัยเค้าผูกต้นแลทานเหยฯฯ๛” / ด้านหลัง เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “มาลัยผูก ๑” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “หนังสือมาลัยเค้า” ท้ายลาน ระบุ “ฯฯปถมฯฯ มาลัยผูกต้นประดับไปด้วยเทวบุตรทั้งหลายได้ ๑๒ ตนแล ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯ๛ บริบูรณ์เสด็จแล้วฉันจังหันแล้วหน่อย ๑ แล ฯ” / “หน้าทับเค้ามาลัยผูกต้นและ”
มังคลัตถทีปนี (มังคละ+อัตถะ+ทีปนี) แปลว่า แสดงเนื้อความของมงคลสูตร บอกให้ทราบถึงสิ่งที่จะยังชีวิตคือสรีรยนต์นี้ให้ถึงความสมบูรณ์หรือถึงความยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนา มงคลสูตรเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ยังไม่ทราบว่าอะไรแน่ที่เป็นมงคลชีวิต
RBR_003_244-248 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 29 พระมาลัย อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 5 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสี “มาลัยโปดเปต” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “มาลัย แลนา”
RBR_003_244-248 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 29 พระมาลัย อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 5 ผูก” หน้าทับต้น ระบุ “๏หนังสือพระมาลัย ผูก ๒ แล ฯฯะ๛” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “มาลัย ผูก ๒” และสีน้ำเงิน “พระมาลัย ผูก ๒ แล” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “มาลัย ผูก ๒” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวยังทุติยะมาลัย ผูกถ้วน ๒ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯะ๛” เสด็จแล้ว ร้อย๑๙ ปีชวด เดือน ๘ แรม ๑๔ ค่ำ วันพุธ ยามน้องเพลแล ฯฯะ๛ หนังสือวัดหนองบัว นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม ขอหื้อข้าได้สำเร็จพระนิพพานแก่ข้าแด่เทอะ
RBR_003_249-251 รวมกัน ไม่มีฉลาก ทองหลุด ทองทึบ พื้นชาด,รัก หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “ยอดปิตะกะ ผูกเดียว” / ระบุ “หน้าทับเค้ายอดปิฏกแล” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวห้องยอดไตรปิฏกทั้ง ๓ ชาดกก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ๛ ที่ใดผิดนิมนต์ช่วยเขียนใส่ไว้เทอะ ทุพี่ก็ดี สามเณรก็ดี ๛ ตัวบ่งามสักหน้อยแล ะ๛”
RBR_003_249-251 รวมกัน ไม่มีฉลาก หน้าทับ เขียนอักษรไทยด้วยดินสอดำ “ยอดไตปิตะกะ” และปากกาลูกลื่นสีแดง “ยอดปิตะกะ ผูกเดียว” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวห้องยอดไตรปิฏกทั้ง ๓ ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล แลฯฯ ๛ แล แล แล แล แล ยอดไตรปิตกสมเร็จเสด็จแล้วแล ฯฯ ๛ รัสสภิกขุ อยู่วัดห้วยไพร ชื่อว่า พุทธสอนเขียน หื้อเป็นปัจจัยแก่เมืองแก้ว คือว่า นิพพานแด่เทอะ ฯฯ๛” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน