ลานแรกด้านซ้ายมือ “หน้าต้นหนังสือพุทธตำนานแลนายเหย ๚” ท้ายลานระบุ “พุทธตำนาน นิฏฺฐิตํ กิริยาอันกล่าวยังพุทธตำนาน ปพฺพปริเจทน คำสอนอันเป็นเขตคำสอนก็แล้วเท่านี้ก่อนแล // ข้าเขียนจบเมื่อ(นา)ฬิกาตี ๒ โมงคำ เลยยังบ่เคิ่ง อยู่อีก ๑๐ ภินิง แลนายเหย // เมื่อเดือน ๑๒ แรม ๕ ค่ำ วันศุกร์แล // นายเหย ธุวํ ธุวํ ข้าแด่เทอะ // รัสสภิกขุอินทจันโท อยู่บ้านใหม่แลนายเหย //” หน้าทับปลายเป็นรู
ลานแรก ด้านซ้ายมือ “หนังสือพุทธตำนาน” ท้ายลาน ระบุ “กล่าวห้องยังคำสอนแห่งพระยาอินทาบอกไว้แก่คนทั้งหลายก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแลแล // สเดสดแล้วแลนายเหย จบแล้วแล นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ // รัสสภิกขุยอดเขียนแล ยังมีพี่อินหาได้ยังใบลานมาหื้อ ผู้ข้าเขียนตัวบ่ดีสักหน้อยเหมือน ๑ ไก่เขี่ยหัวมองแลนายเหย ข้ายังบ่เคยเขียนสักคำเทื่อแล พระพี่ ทุพี่ ผู้ใดได้เล่าได้เรียน ขีดตกทัดใด นิมนต์ส้ายหื้อจิ่มเนอ เพราะว่ากำลังหัดเขียนแล นิจฺจํ ธุวํ ธุวํ // แล แล แล แล แล แล แล แล แล”
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๓ บัวรมบัวรอย นกแลฅำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด ทองทึบ ๘ ผูก” หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “นกแลคำ ผูก ๑” และระบุ “หน้าต้น บัวรม บัวเรียว บัวรอง ผูกต้นแล” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาสังวรรณนายังปทุมบัวรมบัวเรียวบัวรอง ผูกต้น ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล”
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๓ บัวรมบัวรอย นกแลฅำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด ทองทึบ ๘ ผูก” หน้าทับเค้า เขียนด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ “นกแลคำ ผูกที่ ๒” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีดำ “เรื่องนกแลคำ มี ๕ ผูกด้วยกัน”(ลายมือท่านพระครูพัฒนกิจสุนทร (สังข์ ชิตมาโร)) ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “นโม ตสฺส นักแลฅำผูก ๒ แลนายเหย” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวยัง เต ปทุมา บัวรมบัวเรียวบัวรอง ผูกสอง จาด้วยอัคคเสนาปองไหว้กราบยังพระบาทเจ้าตนยอดเสวยเมือง นิฏฺฐิตํ ก็สมเร็จเสด็จแล้ว เท่านี้ก่อนแล บริบูรณ์เสด็จแล้วเดือน ๕ แรม ๘ ค่ำ พร่ำว่าได้วันผะหัสแลนายเหย ปีนี้ปีนี้มะเส็งแลนายเหย ภิกขุบูร สร้างปางเมื่ออยู่วัดห้วยแลนายเหย เขียนบ่ดีสะน้อย เหมือน ๑ ปูยาดคันนาแลนายเหย เพราะว่าใจบ่ดีสะน้อย คึดรอดหาสาวเต็มที เพราะว่าสาวอยากเอาผัว อยากแล้วแลนายเหย สาวอยากเอาผัว อยากก่อนแลนายเหย นกแลฅำ ผูก ๒ แลนายเหย ม่วนอ้อยจ้อยอยู่วอนวอยแลนายเหย นกแลฅำ ผูก ๒ นี้ หมอเอย เดือน ๑๒ ปีหมา(ควรเป็น ปีหน้า?) ข้อยยากสิกอยากแล้วแลนายเหย เดือน ๑๒ เห็นจะบ่แคล้วแล้วววย มาคึดสะบัดหอนสะบัดหมาว (สะบัดร้อนสะบัดหนาว?)” / ฉบับนี้สระเอา ใช้เครื่องหมาย “ไม้เก๋าห่อนึ่ง” และสระโอะลดรูป ใช้เครื่องหมาย “ฟันหนู”
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๓ บัวรมบัวรอย นกแลฅำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด ทองทึบ ๘ ผูก หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าทับเค้าบัวรมบัวเรียวบัวรอง ผูกถ้วน ๓ ก็แล้วก็หมด ::๛”, มีรอยจารอักษรธรรมล้านนาขึ้นใหม่ “ของอาสา” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “นกแลคำ ผูก ๓” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันสังวรรณนาจาแห่งห้อง เต ปทุมา บัวรมบัวเรียวบัวรอง ผูกถ้วน ๓ ก็เท่านี้ก่อนแล ๛ จบในเพล ๛” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๓ บัวรมบัวรอย นกแลฅำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด ทองทึบ ๘ ผูก หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าต้นบัวรมบัวเรียวบัวรอง ผูก ๔ มี ๕ ผูก นิพพานสูตร ๑ ผูก”, เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีดำ “นกแลคำ ผูกที่ ๔” และเขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “บัวลมบัวเรียวผูกผูก ๔” ท้ายลาน ระบุ “กณฺโฑ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันเทศนายัง เต ปทุมา บัวรมบัวเรียวบัวรอง ก็บังคมสมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล ฯ๛” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำและปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๓ บัวรมบัวรอย นกแลฅำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด ทองทึบ ๘ ผูก ลานแรก ด้านซ้าย ระบุ “นกแรฅำ ผูกปลาย ถ้วน ๕” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาสังวรรณนา เต ปทุมชาดก ยกแต่เค้าเถิงปลาย ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแลแลแลแลนายเหย เสด็จแล้วยามเมื่อปีขาล แรม ๔ ค่ำ พร่ำว่าได้วันอาทิตย์ บ่ายสามโมงค่ำแลนายเหย || ตัวบ่ดีสักน้อยเหมือนปูน้อยยาดคันนาแลนา ยังมีศรัทธาภิกขุ ๒ ตัว ก็พร้อมกับด้วยญาติโยมผู้ชื่อว่า ทั้งหลายก็อุบายขวงขวายหาได้ยังใบลานมาสร้าง ขอส่วนกุสลานาบุญอันนี้ช่วยหุ้มปกยกเอาตัวผู้ข้าทั้งหลายพ้นจากทุกข์จิ่มเทอะ” มีรอยทำเครื่องหมายแบ่งวรรคและเพิ่มเติมวรรณยุกต์ด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๓ บัวรมบัวรอย นกแลฅำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด ทองทึบ ๘ ผูก หน้าทับเค้า เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “บัวรม บัวเรียว บัวรอง ผูกต้น”, หน้าทับใบที่ ๒ เขียนด้วยอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “นกแลคำ ผูกที่ ๑” ลานแรกด้านซ้าย ระบุ “ผูกต้น” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาสังวรรณนากล่าวยัง ปทุมบัวรมบัวเรียวบัวรอง ผูกต้น ก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแล จบเสด็จแล้วยามค่ำพร่ำว่าได้วันพุธ เดือน ๗ ใต้ เดือน ๙ เหนือ (เ)หลือใจว่าเจ็บแอวแลนายเหย ยังมีพ่อเฒ่ามะกับลูกใภ้ ก็พากันอุบายโขงขวายหามายัง โปฏกํ ยังใบลานมาจ้างหนานมูรสร้างยัง(หนัง)สือนกแลคำไว้ค้ำชูพุทธศาสนาโคตมเจ้าตราบเท่าเข้าสู่พระนิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ นิ(จฺจํ ธุวํ ธุวํ)
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ ๔๓ บัวรมบัวรอย นกแลฅำ อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับล่องชาด ทองทึบ ๘ ผูก” มีรอยเขียนเลขอารบิกด้วยดินสอดำหน้าลานหงาย และแก้ไขคำด้วยดินสอดำ หน้าทับเค้า ระบุ “หน้าต้นบัวรมบัวเรียวบัวรอง ผูกถ้วน ๕ แลนายเหย ๛ ศรัทธานางสาพร้อมด้วยลูกผัวได้สร้างธรรมอันชื่อว่า นกแลฅำ ๛”, เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “บัวลม ผูกที่ ๕” กิริยาสังวรรณนา เต ปทุมชาดก ยกแต่เค้าเถิงปลายก็สมเร็จเสด็จแล้วเท่านี้ก่อนแลแล๛”