พระยมกปกรณ์ ผูก ๖ ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระอภิธรรมนี้ในพรรษาที่ ๗ นับจากตรัสรู้ ครั้งเมื่อพระองค์เสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระองค์เสด็จไปประทับเหนือบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ต้นปาริชาต พระอินทร์ทราบจึงรีบเสด็จไปยังภพดุสิตอันเป็นที่สถิตของพระสิริมหามายาแล้วกราบทูล พระสิริมหามายาทรงสดับและทรงโสมนัสจึงเสด็จจากภพดุสิตไปภพดาวดึงส์ พระพุทธเจ้าทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาตรัสเชิญพระสิริมหามายาพุทธมารดาให้เข้าไปใกล้ ให้เป็นประธานแก่เทพยดาทั้งหลาย แล้วจึงโปรดประทานพระธรรมเทศนาอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ตามลำดับจนครบสามเดือน ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ พระอภิธรรมนี้ ชาวพุทธถือว่าออกจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ ทรงเทศนาโปรดเทพยดามีพระพุทธมารดาเป็นประธานเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธมารดา
พระวิภังคปกรณ์ ผูก ๒ อธิบายข้อธรรมที่รวมเป็นหมวดหมู่(เรียกวิภังค์หนึ่งๆ) แยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระอภิธรรมนี้ในพรรษาที่ ๗ นับจากตรัสรู้ ครั้งเมื่อพระองค์เสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระองค์เสด็จไปประทับเหนือบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ต้นปาริชาต พระอินทร์ทราบจึงรีบเสด็จไปยังภพดุสิตอันเป็นที่สถิตของพระสิริมหามายาแล้วกราบทูล พระสิริมหามายาทรงสดับและทรงโสมนัสจึงเสด็จจากภพดุสิตไปภพดาวดึงส์ พระพุทธเจ้าทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาตรัสเชิญพระสิริมหามายาพุทธมารดาให้เข้าไปใกล้ ให้เป็นประธานแก่เทพยดาทั้งหลาย แล้วจึงโปรดประทานพระธรรมเทศนาอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ตามลำดับจนครบสามเดือน ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ พระอภิธรรมนี้ ชาวพุทธถือว่าออกจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ ทรงเทศนาโปรดเทพยดามีพระพุทธมารดาเป็นประธานเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธมารดา
พระมาลัยเป็นพระอรหันต์จากลังกา เป็นพระที่ได้บรรลุอิทธิวิธี คือสามารถแสดงฤทธิ์ได้ ด้วยอานิสงส์จากการถวายทานและปฏิบัติฌานสมาบัติ พระมาลัยได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีฤทธิ์รองลงมาจากพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งได้รับยกย่องในเอตทัคคะในด้านผู้มีฤทธิ์มาก เรื่องพระมาลัยเป็นตำนานเล่าขานในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาแบบเถรวาททั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยและในประเทศลาว ในเรื่องเล่าว่าพระมาลัยได้ลงไปในนรกและได้ไปสอนธรรมโปรดชาวนรก ท่านได้ไปรู้ไปเห็นว่าสัตว์นรกถูกลงโทษตามผลกรรมตามนรกขุมต่างๆอย่างไร
หนังสือเจ็ดตำนาน คือบทสวดมนต์ที่คนสมัยก่อนนิยมสวดเรียกว่า "บทสวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน" ซึงปัจจุบันนิยมสวดมนต์แบบทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น บทสวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนานมีชื่อเดิมว่า "พระปริตร" แปลว่า "เครื่องคุ้มครอง" เป็นที่นิยมสาธยายในหมู่ชาวพุทธตั้งแต่สมัยพุทธกาล เพื่อความมีสิริมงคล และเพิ่มพูนภาวนาบารมี บทสวดมน์เจ็ดตำนานประกอบไปด้วย 7 พระปริตร ได้แก่ มงคลปริตร รัตนปริตร เมตตปริตร ขันธปริตร โมรปริตร ธชัคคปริตร และอาฏานาฏิยปริตร
หน้าต้นเขียนด้วยอักษรขอมไทย ภาษาบาลี เรื่องเกี่ยวกับมหันตรทุก, หน้าปลายเขียนด้วยอักษรไทย ภาษาไทย เป็นเรื่องคำสอน
ว่าด้วยเรื่อง ปาราชิก เป็นชื่ออาบัติหนักที่ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อบุคคลผู้ที่พ่ายแพ้ คือ ต้องอาบัติปาราชิกที่ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ, เป็นชื่อสิกขาบท ที่ปรับอาบัติหนักขั้นขาดจากความเป็นภิกษุมี 4 อย่าง คือ เสพเมถุน ลักของเขา ฆ่า มนุษย์อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน และว่าด้วยเรื่อง ปาจิตตีย์