สมุดไทยดำฉบับนี้ชำรุด ขาดหายไปบางส่วน เนื้อเรื่องไม่ปะติดปะต่อกันนัก อีกทั้งในหน้าปลายลายเส้นอักษรค่อนข้างจาง ทำให้อ่านยาก แต่ตัวอักษรสวย โดยสมุดไทยดำเป็นวรรณคดี ประเภทร้อยกรอง กล่าวถึง วิเซียและคุณหญิงใหญ่ผู้เป็นภรรยา กำลังปรับทุกข์กันเรื่องลูกชายไปฉุดคร่าหญิงสาว หมายเหตุ สมุดไทยฉบับนี้สันนิษฐานว่า เป็นฉบับเดียวกับ BKK001-003 วรรณคดี โดยฉบับนี้จะเป็นส่วนท้ายของหน้าต้น และมีเขียนกำกับว่าเป็นหน้าปลายด้วย
สมุดไทยดำฉบับนี้ชำรุด ขาดหายไปบางส่วน เนื้อเรื่องไม่ปะติดปะต่อกันนัก อีกทั้งในหน้าปลายลายเส้นอักษรค่อนข้างจาง ทำให้อ่านยาก แต่ตัวอักษรสวย โดยสมุดไทยดำเป็นวรรณคดี ประเภทร้อยกรอง กล่าวถึง วิเซียและคุณหญิงใหญ่ผู้เป็นภรรยา กำลังปรับทุกข์กันเรื่องลูกชายไปฉุดคร่าหญิงสาว
จันทคาดเป็นวรรณกรรมชาดกที่ได้รับความนิยมเพราะเป็นเรื่องแพร่หลายอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากวิทยานิพนธ์ ระดับมหาบัณฑิตเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องจันทฆาต ฉบับภาคกลาง ฉบับล้านนา ฉบับภาคอีสาน และฉบับภาคใต้” ซึ่งเป็นการนำเรื่อง จันทฆาต ทั้งสี่ภาค สี่สำนวนมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งแต่ละภาคต่างมีลักษณะเฉพาะในความเป็นท้องถิ่นของตัวเอง
RBR_003_195-201 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 40 จันทคาต ผูก 1-4 อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ ไม่มีไม้ประกับ 7 ผูก” RBR_195-197 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “จันทฆาต ผูกถ้วน ๒ แล” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวแก้ไขยังนางพรหมจารีบ่นั่งแท่นแก้วก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ※ บริบูรณ์เสด็จแล้วปีชวด ขึ้น ๗ ค่ำ วัน ๕ บ่าย ๓ โมง แล ๚ ยังมีศรัทธาอาวชายธอง ก็พร้อมกับด้วยภริยาผู้ชื่อว่า นางธิดา กับลูกเต้าพี่น้องชู่ผู้ชู่คนแล เจ้ายังอุบายหาได้ยังโปตฏกํยังใบลานมาหื้อตนตัวผู้ข้าชื่อว่า รัสสภิกขุธรรมสอนแล ผู้สร้างกับผู้เขียน ข้าขอหื้อได้บุญเท่ากันแด่เทอะ เขียนบ่ดีสักน้อย รางตัวก็เท่านิ้วก้อย รางตัวก็เท่าแม่มือ พี่ทุองค์ใดก็ดี พี่พระองค์ใดก็ดี หรือครหัสถ์แลนักบวชได้เล่าได้เรียนได้อ่าน อดส่าห์ผ่อหื้อถี่ถี่ คันว่าผ่อบ่ถี่ ก็บ่รู้แล เพราะว่าตัวบ่ดี เจ็บแอวเต็มที นั่งเขียนบ่ได้ นั่งเขียนพร่อง นอนเขียนพร่องแล หน้าทับเค้า เจ้าจันทฆาต ผูกถ้วน ๒ หน้าทับปลาย จันทฆาต มีกับกัน ๔ ผูก ทั้งมวลแล ทุอาวเหย กา ก้า กล้า ขา ข้า ขล้า มา ม้า มล้า อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ก ข ค ฅ ง จ ส ช ซ ญ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ล ร ว สฺส ห ฬ อํ อฺย ป ฝ ฟ หฺม หฺน หฺย หฺว หฺง หฺล ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๒๐๒ ๑๐๗ ๕๐๐๐ ๓๐๐๐๐๐” (อักษรตัวเอียงสะกดด้วยอักขรวิธีพิเศษ)
จันทคาดเป็นวรรณกรรมชาดกที่ได้รับความนิยมเพราะเป็นเรื่องแพร่หลายอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากวิทยานิพนธ์ ระดับมหาบัณฑิตเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องจันทฆาต ฉบับภาคกลาง ฉบับล้านนา ฉบับภาคอีสาน และฉบับภาคใต้” ซึ่งเป็นการนำเรื่อง จันทฆาต ทั้งสี่ภาค สี่สำนวนมาเปรียบเทียบกัน ซึ่งแต่ละภาคต่างมีลักษณะเฉพาะในความเป็นท้องถิ่นของตัวเอง หน้าต้นเขียนไว้ว่า “ณ วัน 6 แรม 1 ค่ำ เดือน 1 ปีระกา หนเบญจศก หน้าปลายเขียนไว้ว่า คุณแดงมีสัทาอุษาหะทรางนังสือใวยพระสาศนา”
ไชยเชษฐ์ เป็น นิทานพื้นบ้าน สมัย กรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี มีผู้นำนิทานเรื่องนี้มาเล่นเป็นละครเพราะเป็นเรื่องสนุก ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงนำนิทาน เรื่องไชยเชษฐ์มาพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอก เดิมละครนอกเป็นละครที่ราษฎรเล่นกัน
ท้าวลินทอง เป็นการตั้งชื่อเรื่องจากตัวละครเอกที่ชื่อ “ลินทอง” เพื่อสอดคล้องกับตัวละครเอกที่ในอดีตชาติ “ลินทอง” เป็นพระโพธิ์สัตว์กลับชาติมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า วรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง ลินทอง เป็นวรรณกรรมศาสนา เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำ เรื่องการทูต หรือเรื่องคารมเสน่หา จนในปัจจุบันผู้คนนิยมเอาคาถาลินทองไปเจรจาธุรกิจ หรือเอาไปใช้ในการจีบผู้หญิง
ท้าวลินทอง เป็นการตั้งชื่อเรื่องจากตัวละครเอกที่ชื่อ “ลินทอง” เพื่อสอดคล้องกับตัวละครเอกที่ในอดีตชาติ “ลินทอง” เป็นพระโพธิ์สัตว์กลับชาติมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า วรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง ลินทอง เป็นวรรณกรรมศาสนา เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำ เรื่องการทูต หรือเรื่องคารมเสน่หา จนในปัจจุบันผู้คนนิยมเอาคาถาลินทองไปเจรจาธุรกิจ หรือเอาไปใช้ในการจีบผู้หญิง
สมุดไทยบันทึกวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่อง ท้าวลินทอง