เอกสารโบราณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,350 รายการ (150 หน้า)

PBI001-006 พระสกฺกราช โปกวตฺต

ปฏิทินโหรและปูมปฏิทิน , พุทธศาสนา
วัดโคก , เพชรบุรี , ศักราช , พระ , พระสงฆ์ , ปฏิทิน , เดือน , ปี , การคำนวณวัน , ใบลานก้อม , ลานดิบ

เอกสารโบราณเป็นใบลานขนาดสั้น เรียก ใบลานก้อม (ขนาดสั้นกว่าใบลานขนาดปกติ) จารด้วยอักษรขอมไทย ภาษาบาลีและภาษาไทย

หน้าสุดท้ายพบบันทึกท้ายคัมภีร์ใบลานความระบุถึงผู้สร้างคัมภีร์ถวายในพระพุทธศาสนาว่า “หมู่ชุ่มสร้างไว้ในพระศาสนา ขอให้สำเร็จพระนิพพาน ในอนาคตกาลโน้น”

PBI001-005 พระปถมมาดิกา นิฎฐิตา

ธรรมคดี , พุทธศาสนา
วัดโคก , เพชรบุรี , บทสวดมนต์ , พระ , พระสงฆ์

ข้อความท้ายคัมภีร์ใบลานมีระบุผู้จารคัมภีร์ฉบับนี้ ความว่า “พระคาถานี้ แผ่ส่วนบุญ ไปให้สัตว์ ทั้งหลาย อย่าได้เป็น เวรแก่กันเลยแล ฯข้าฯ ผู้มีชื่อ พระสมุห์เกิดเป็นผู้จารึกพระอักษฺรทั้งหลายนี้แล”

PBI001-004 พระสตฺตปริตฺร บริบูรณ์

ธรรมคดี , พุทธศาสนา
วัดโคก , เพชรบุรี , บทสวดมนต์ , พระ , พระสงฆ์

“สัตต” บาลีเขียน “สตฺต” แปลว่า เจ็ด, “ปริตร” บาลีเขียน “ปริตฺต” แปลว่า การป้องกัน, การรักษาให้ปลอดภัย; ของขลังสำหรับป้องกันตัว, ของที่ช่วยบรรเทา, เครื่องราง
สัตตปริตร คือบทสวดมนต์เจ็ดบท หรือ “เจ็ดเรื่อง” คือ พระปริตรที่มีอำนาจคุ้มครองป้องกันตามเรื่องต้นเดิมที่เล่าไว้ว่าแต่ละบทมีต้นกำเนิดมาอย่างไรและมีอานุภาพเป็นเช่นไร ซึ่งได้จัดรวมเป็นชุด รวม 7 พระปริตร

นอกจากนี้ หน้าปกยังระบุข้อความที่กล่าวถึงผู้สร้างคัมภีร์ว่า “หมู(หมู่) ชุ่มทร่าง(สร้าง) ไว้ไนพระศาสนา ขอให้เป็นปัจจัยแก่พะนิพพานในอนาคตกาลโน้นเถิด”

อ้างอิงข้อมูล

ทองย้อย แสงสินชัย. (2557, 17 พฤศจิกายน). เจ็ดตำนาน. [Facebook]. สืบค้น 24 ตุลาคม 2567 จาก https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/pfbid0j4f1vmThf75SwKoyupdvhmHbhEDc9rENesnpWTtCjabWvytWLqFk7VQjZEtTzLEql?locale=th_TH

NPT004-024 สมุดภาพไตรภูมิโลกวินิจฉัย

ตำนาน
นครปฐม , ตลาดน้ำ , พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน , แม่น้ำนครชัยศรี , ตำนาน

วรรณคดีเรื่องนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น เตภูมิกถา ไตรภูมิกถา ไตรภูมิวินิจฉยกถา ไตรภูมิโลกวินิจฉัย ไตรโลกวินิจฉยกถา และไตรภูมิฉบับหลวง เป็นต้น ปัจจุบันในวงการวรรณคดีเรียกว่า ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา เพื่อให้ต่างจากไตรภูมิกถาฉบับพญาลิไท ช่วงเวลาที่มีการแต่งไตรภูมิโลกวินิจฉยกถาขึ้นนั้นยังไม่พบไตรภูมิกถาฉบับพญาลิไท ทั้งสองฉบับมีเนื้อความคล้ายกัน แต่ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถามีความละเอียดมากกว่า ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถามุ่งจะอธิบายพระพุทธคุณในส่วนที่ได้ชื่อว่า “โลกวิทู” ซึ่งหมายถึงการรู้โลกของพระพุทธองค์ ได้แก่ สังขารโลก สัตตโลก และโอกาสโลก โดยแสดงละเอียดเฉพาะส่วนที่เรียกว่า โอกาสโลก ซึ่งได้แก่แผ่นดิน จักรวาลเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์โลกทั้งปวง รวมถึงดวงอาทิตย์ดวงจันทร์เนื้อความของไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา แบ่งออกเป็น 8 ภาค คือ โอกาสวินาสโลกกถา โอกาสสัณฐาหนโลกกถา นิริยโลกกถา เปตโลกกถา ติรัจฉานโลกกถา มนุสสโลกกถา เทวโลกกถา พรหมโลกกถา สภาพเอกสารชำรุดมากเหลือเพียงเล็กน้อยในส่วนที่เป็นภาพวาดเท่านั้น

BKK001-031 ตำราฝีดาษและแผนเดือน

ตำราเวชศาสตร์
วัดหนัง , วัดหนังราชวรวิหาร , พิพิธภัณฑ์วัดหนัง , สมุดไทย , เอกสารโบราณ , ฝี , ฝีดาษ , ไข้ทรพิษ , ไข้หัว , แผนเดือน , แผนเส้น , ภาพคน , คน , ตำแหน่งโรค , ยันต์

ตำรายาเรื่องฝีดาษ โรคฝีดาษ มีหลายชื่อเรียก เช่น ไข้ทรพิษ ไข้หัว เป็นต้น หน้าต้นมีข้อความว่า “ตำราแผนเดื้อน ม˝อพูมสางไว้ยในพระศาสนา ให้ยสืบดสบุตรไปคางหน้า ขอให้ท้นศาตะหนาพระษีรอาร พระนี้ภารอย่าแคล้วเลย ณบ้ตไจโยโหตุ ฯ” ทำให้ทราบว่านอกจากตำราฝีดาษแล้วยังมีตำราแผนเดือนของหมอพูมและภาพรูปคนพร้อมตำแหน่งที่เกิดฝี ชื่อเรียกฝี และความอันตรายของฝีชนิดนั้น ส่วนหน้าปลายหน้าหลัง 3 หน้าสุดท้ายเขียนกลับหัว

คาถาต่างๆ

NPT004-054 คาถาหัวใจต่างๆ

ตำราไสยศาสตร์
คาถา , ไสยศาสตร์ , ธาตุ , หัวใจ , โองการมหาเถรตำแย , คุณไสย , พิธีตีแถลง , วัดลำพญา , นครปฐม

คาถาหัวใจ หรือ หัวใจพระคาถา เป็นบทย่อของพระคาถาซึ่งถอดออกมาเป็นคำสั้น ๆ เพื่อให้จดจำได้รวดเร็วแต่ยังคงความหมายและความศักดิ์สิทธิ์ไว้เช่นเดิม คาถาหัวใจที่ปรากฏในสมุดไทย อาทิ หัวใจพระมหาชนก หัวใจพระเพชร หัวใจพระสุวรรณสาม หัวใจตรีนิสิงเห หัวใจพระเตมีย์ หัวใจงู หัวใจคน เป็นต้น นอกจากคาถาที่กล่าวถึงไปแล้วนั้น ยังมีคาถาหัวใจที่กล่าวถึงนอกเหนือจากคาถาหัวใจ 108 อีกด้วย เช่น หัวใจนภา หัวใจมงคล เป็นต้น การตั้งพิธีตีแถลงหรือแสลงก็ได้ ผู้ปริวรรตเข้าใจว่าเป็นพิธีที่ตั้งขึ้นเพื่อปัดพิษร้าย คุณไสยต่างๆ ให้ออกจากจากร่างกายของคน และโองการมหาเถรตำแย

NPT010-016 ตำราคาถา และตำรายา

ตำราไสยศาสตร์ , ตำราเวชศาสตร์
ยันต์ , คาถา , ยา , ไสยศาสตร์ , เวชศาสตร์ , สมุนไพร

สมุดไทยเรื่อง NPT010-016 ตำราคาถาและตำรายา ฉบับวัดสำโรง จ.นครปฐม เป็นสมุดไทยขาวตัวอักษรขอมไทย, ไทย ภาษาบาลีและภาษาไทย เขียนด้วยเส้นหมึกสีดำ ลายมือที่ปรากฏในสมุดไทยมี ๒ ลายมือแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ลายมือแรกเขียนตัวอักษรขอมไทยได้บรรจง สวยงาม ส่วนลายมือที่สองค่อนข้างหวัด สันนิษฐานว่าในหน้าต้นที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องตำราคาถานั้นถูกเขียนขึ้นมาก่อนซึ่งไม่ได้เขียนจนหมดฉบับ จากนั้นถูกนำไปเขียนเรื่องตำรายาภายหลัง สมุดไทยขาวฉบับนี้ไม่ครบฉบับ หน้าต้นและหน้าปลายขาดหายไปเป็นที่น่าเสียดายมาก บางตำแหน่งมีรอยน้ำซึมทำให้ตัวอักษรลบเลือนไปเล็กน้อย หน้าต้นกล่าวถึง คาถาปถมํ คือ การอุบัติของพระเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ การบำเพ็ญบารมีจนถึงสูญนิพพาน คาถาต่างๆ ทั้งคาถาเมตตามหายนิยม คาถาอยู่ยงคงกระพัน คาถาต่อกระดูก เป็นต้น หน้าปลายเป็นตำรายา กล่าวถึง คัมภีร์โรคนิทาน เป็นชื่อของคัมภีร์ที่ว่าด้วยเหตุและสมุฏฐานของโรค โรคที่เกิดจากธาตุทั้งสี่พิการ (ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ อาโปธาตุ) และสูตรยารักษาโรคนั้นๆ เช่น อาโปพิการ ร่างกายขาวซีด ง่วงซึม รักษาด้วย เจตมูลเพลิงแดง ๑ ลูกผักชี ๑ เปลือกมูกมัน ๑ ก็ทำเป็นผงละเอียดละลายน้ำร้อนกินแก้โรค เป็นต้น

BKK001-016 ตำรายาและยันต์

ตำราไสยศาสตร์ , ตำราเวชศาสตร์
วัดหนัง , วัดหนังราชวรวิหาร , พิพิธภัณฑ์วัดหนัง , สมุดไทย , เอกสารโบราณ , สมุนไพร , ยันต์ , โองการพระอินสอน

หน้าต้นเป็นตำรายาระบุชื่อเจ้าของว่า ตาอินสอน อยู่สุงเมืองละคอน กล่าวถึงยาต่างๆ อาทิ โองการพระอินสอน ยาถ่ายเลือด ฯลฯ และลายไทยวาดด้วยดินสอ ส่วนหน้าปลายเป็นภาพยันต์ หมายเหตุ ต้นฉบับภาพยันต์กลับหัว