สัจจะบารมี คือ การบำเพ็ญเพียรด้วยการมีสัจจะ คือ ความตั้งใจจริง การทำจริง และการพูดคำสัตย์
อุเบกขา หมายถึง ความวางเฉยแบบวางใจเป็นกลางๆ โดยไม่เอนเอียงเข้าข้างเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลงและเพราะกลัว เช่นไม่เสียใจเมื่อคนที่ตนรักถึงความวิบัติ หรือไม่ดีใจเมื่อศัตรูถึงความวิบัติ มิใช่วางเฉยแบบไม่แยแสหรือไม่รู้ไม่ชี้ ทั้งๆ ที่สามารถช่วยเหลือได้เป็นต้น ลักษณะของผู้มีอุเบกขา คือเป็นคนหนักแน่นมีสติอยู่เสมอ ไม่ดีใจไม่เสียใจจนเกินเหตุ เป็นคนยุติธรรม ยึดหลักความเป็นผู้ใหญ่ รักษาความเป็นกลางไว้ได้มั่นคงไม่เอนเอียงเข้าข้าง ปฏิบัติหน้าที่ด้วยเหตุผลถูกต้องคลองธรรม และเป็นผู้วางเฉยได้เมื่อไม่อาจประพฤติเมตตา กรุณา หรือมุทิตาได้
มังคลัตถทีปนี (มังคละ+อัตถะ+ทีปนี) แปลว่า แสดงเนื้อความของมงคลสูตร บอกให้ทราบถึงสิ่งที่จะยังชีวิตคือสรีรยนต์นี้ให้ถึงความสมบูรณ์หรือถึงความยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนา มงคลสูตรเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ยังไม่ทราบว่าอะไรแน่ที่เป็นมงคลชีวิต
มังคลัตถทีปนี (มังคละ+อัตถะ+ทีปนี) แปลว่า แสดงเนื้อความของมงคลสูตร บอกให้ทราบถึงสิ่งที่จะยังชีวิตคือสรีรยนต์นี้ให้ถึงความสมบูรณ์หรือถึงความยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนา มงคลสูตรเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ยังไม่ทราบว่าอะไรแน่ที่เป็นมงคลชีวิต
RBR_003_244-248 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 29 พระมาลัย อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ 5 ผูก” / RBR_003_244-245 เป็นชุดเดียวกัน หน้าทับต้น ระบุ “ฯฯ หน้าทับเค้ามาลัยปลายผูก ๒ แลท่านเอย ฯฯะ๛” / เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีแดง “มาลัย ผูก ๒ มีกับกัน ๒ ผูก” ลานแรก ด้านซ้ายมือ ระบุ “มาลัย ผูก ๒” ท้ายลาน ระบุ “กิริยาอันกล่าวยังทุติยะพระมาลัย ผูกถ้วนสอง ก็แล้วเท่านี้ก่อนแล ฯฯะ๛ นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ เม อนาคเตกาเล มาลัย ผูก ๒ ภิกขุสุวรรณอินทอง วัดนาโพเขียนหื้อท่านสัน วัดดอนแจง” มีรอยแก้ไขด้วยดินสอดำ
RBR_003_239-243 รวมกันอยู่ใน “เลขที่ 26 นรชิวสูตร อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ-ล่องชาด 5 ผูก” / RBR_003_239-242 ชุดเดียวกัน ทองทึบ ทองหลุด พื้นรัก หน้าทับต้น ระบุ “ฯฯ นรชีวะ ผูกถ้วน ๔ แลนายเหย ฯ ธุวํ ธุวํ แก่ข้าแด่เทอะ ฯฯ ๒๕ ลาน ใบลาน ๒๕ ลาน สร้างไว้ค้ำชูพระ” ท้ายลาน ระบุ “มหานรชีวชาตกํ นิฏฺฐิตํ กิริยาอันเทศนาสำแดงยังมหานรชีวชาตกผูกถ้วน ๔ ก็สมเสด็จแล้วบอระมวลควรแก่กาลธรรมเทศนาเท่านี้ก่อนแล ฯฯ ศรัทธารัสสภิกขุนวร ได้เขียนได้สร้างแล ฯฯ เสด็จแล้วพอตา[วัน]เที่ยงพอดีก็งามแลนายเหย”
มัดรวมกันอยู่ใน “เลขที่ 55 มะลิซ้อน อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี-ไทยล้านนา ฉบับทองทึบ-ล่องชาด 5 ผูก” มีไม้บัญชักทำด้วยไม้ไผ่ เขียนอักษรไทยด้วยปากกาเมจิกสีน้ำเงิน “มะลิซ้อน มี 4 ผูก” หน้าทับต้น เขียนอักษรไทยด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน “มะลิซ้อน ผูก ๑” หน้าลานแรก ระบุ “หน้าทับเค้า มะลิซ้อน ผูกต้น” ท้ายลาน ระบุ “นันทกุมาร ผูกต้น ก็สมเร็จเสด็จแล้ว บอระมวลควรกาล ธรรมเทศนาก็แล้วเท่านี้ก่อน ๚ จบแล้ว นายเหย รัสสภิกขุ พุทธบาร เขียนปางเมื่ออยู่วัดนาหนองบวชได้วัสสา ๑ เขียนบ่อดีสักน้อย เพราะอยากใคร่สิกข์เต็มทีแล้วท่านเอย ฯฯ” มีรอยแก้ไขด้วยปากกาลูกลื่นสีน้ำเงิน
มังคลัตถทีปนี (มังคละ+อัตถะ+ทีปนี) แปลว่า แสดงเนื้อความของมงคลสูตร บอกให้ทราบถึงสิ่งที่จะยังชีวิตคือสรีรยนต์นี้ให้ถึงความสมบูรณ์หรือถึงความยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนา มงคลสูตรเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ยังไม่ทราบว่าอะไรแน่ที่เป็นมงคลชีวิต
มังคลัตถทีปนี (มังคละ+อัตถะ+ทีปนี) แปลว่า แสดงเนื้อความของมงคลสูตร บอกให้ทราบถึงสิ่งที่จะยังชีวิตคือสรีรยนต์นี้ให้ถึงความสมบูรณ์หรือถึงความยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนา มงคลสูตรเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ยังไม่ทราบว่าอะไรแน่ที่เป็นมงคลชีวิต